1.1 การตลาด
ปีการผลิต 2557/58
— มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ปีการผลิต 2557/58
มติ ครม.คสช. เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2557 และมติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 เห็นชอบแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกร
ผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2557/58 ดังนี้
1) มาตรการหลัก
- ลดต้นทุนการผลิต โดยการลดราคาปัจจัยการผลิตและบริการ ไร่ละ 432 บาท แบ่งเป็น ปุ๋ยเคมีไร่ละ 40 บาท สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชไร่ละ 20 บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ไร่ละ 122 บาท ค่าบริการรถเกี่ยวข้าวไร่ละ 50 บาท และค่าเช่าที่นาไร่ละ 200 บาท
2) มาตรการสนับสนุน
(1) มาตรการเร่งด่วน
(1.1) สนับสนุนแหล่งเงินทุน ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกร
(1.2) ส่งเสริมการตลาด ได้แก่ การเร่งหาตลาดใหม่ การเชื่อมโยงการตลาดข้าวในประเทศ และต่างประเทศ การช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก และโครงการสินเชื่อเกษตรกรเพื่อชะลอการขายข้าวเปลือก (ประกันยุ้งฉาง)
(1.3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2557
(2) มาตรการระยะยาว
(2.1) ส่งเสริมปัจจัยการผลิต ได้แก่ การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าว การจัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ (Zoning) และการจัดหาแหล่งน้ำสนับสนุน
(2.2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ได้แก่ การจัดตั้งสถาบันพัฒนาศักยภาพการค้าข้าว
ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 2 กค. 57 และการจัดตั้งกองทุนข้าวและชาวนาแห่งชาติ
— มาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย
มติที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2557 เห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะ 3 เดือนแรก ในส่วนของมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย โดยให้เงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท แก่ชาวนาที่จดทะเบียนไว้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และเปิดบัญชีไว้กับ ธ.ก.ส. ซึ่งมีที่ดินทำกินไม่เกิน 15 ไร่ และชาวนาที่มีที่ดินมากกว่า 15 ไร่ ให้เงินช่วยเหลือครอบครัวละ 15,000 บาท เพื่อช่วยเหลือชาวนาให้มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ
1) กรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) ข้อมูล ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558
- ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว 3.714 ล้านครอบครัว 61.380 ล้านไร่
2) ธ.ก.ส. ข้อมูล ณ วันที่ 20 มีนาคม 2558
- กสก. ตรวจสอบและส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. 3.603 ล้านครอบครัว 39.160 ล้านไร่
(ข้อมูล ณ วันที่ 15 มีนาคม 2558)
- อยู่ระหว่างรอการจัดส่งเอกสาร และ 0.037 ล้านครอบครัว 0.287 ล้านไร่
เกษตรกรแจ้งความจำนงกับ ธ.ก.ส.
- ธ.ก.ส. โอนเงินให้เกษตรกร 3.566 ล้านครอบครัว 38,871.875 ล้านบาท
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตข้าวนาปรังเริ่มออกสู่ตลาด และยังคงมีข้าวอยู่ในสต็อกของรัฐบาลเป็นจำนวนมาก ขณะที่ความต้องการข้าวในตลาดชะลอตัว
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,580 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,680 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.93
ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,632 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,737 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.36
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,700 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,930 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.93
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,022 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 948 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,919 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.16 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 103 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 675 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,835 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 667 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,754 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.20 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 81 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 401 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,972 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,144 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 172 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 386 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,487 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 102 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 404 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,069 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 406 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,242 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 173 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.3488 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 23 – 29 มี.ค. 2558--