ราคายางพารายางแผ่นดิบมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น อาจเนื่องมาจากเงินบาทและเงินเยนอ่อนค่า และได้รับแรงหนุนจากอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับนักลงทุนคลายความกังวลหลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุว่าจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.43 บาท เพิ่มขึ้นจาก 50.39 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.04 บาท หรือร้อยละ 4.05
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.93 บาท เพิ่มขึ้นจาก 49.89 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.04 บาท หรือร้อยละ 4.09
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.43 บาท เพิ่มขึ้นจาก 49.39 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.04 บาท หรือร้อยละ 4.13
4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.78 บาท เพิ่มขึ้นจาก 23.17 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.61 บาท หรือร้อยละ 2.63
5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.47 บาท ลดลงจาก 20.89 บาท ของสัปดาห์ที่แล้ว กิโลกรัมละ 0.42 บาท หรือร้อยละ 2.07
6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.95 บาท เพิ่มขึ้นจาก 47.70 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.25 บาท หรือร้อยละ 4.72
ในสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคายางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 , ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 และ ยางแผ่นดิบคละ
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมิถุนายน 2558
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.95 บาท เพิ่มขึ้นจาก 62.90 บาท ของสัปดาห์ ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.05 บาทหรือร้อยละ 0.08
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.80 บาท เพิ่มขึ้นจาก 61.75 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.05 บาทหรือร้อยละ 0.08
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.59 บาท เพิ่มขึ้นจาก 39.15 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.44 บาท หรือร้อยละ 3.68
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.70 บาท เพิ่มขึ้นจาก 62.65 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.05 บาท หรือร้อยละ 0.08
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.55 บาท เพิ่มขึ้นจาก 61.50 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.05 บาท หรือร้อยละ 0.08
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.34 บาท เพิ่มขึ้นจาก 38.90 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.44 บาท หรือร้อยละ 3.70
ราคายางพาราซื้อขายล่วงหน้า ณ เดือนมิถุนายน ตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์มีทิศทางปรับตัวลดลงเล็กน้อย อาจเนื่องมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง และความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นผู้ใช้ยางอันดับหนึ่งของโลกที่จะส่งผลให้อุปสงค์ยางโดยรวมยังคงซบเซา สำหรับตลาดล่วงหน้าโตเกียวมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น อาจเนื่องมาจากได้รับแรงหนุนจากการคาดว่ารัฐบาลจีนจะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากมีข้อมูลบ่งชี้ถึงภาวะอ่อนแอของเศรษฐกิจ
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมิถุนายน 2558
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 183.10 เซนต์สหรัฐฯ (60.85 บาท) ลดลงจาก 183.13 เซนต์สหรัฐฯ (61.05 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.03 เซนต์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 0.01
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 215.87 เยน (59.38 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 214.83 เยน (59.53 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.04 เยน หรือร้อยละ 0.48
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 18 - 24 พ.ค. 2558--