ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 12, 2015 15:33 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

ปีการผลิต 2557/58

1) มาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย

— มติที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2557 เห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะ 3 เดือนแรก

ในส่วนของมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย โดยให้เงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท แก่ชาวนาที่จดทะเบียนไว้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และเปิดบัญชีไว้กับ ธ.ก.ส. ซึ่งมีที่ดินทำกินไม่เกิน 15 ไร่ และชาวนาที่มีที่ดินมากกว่า 15 ไร่ ให้เงิน ช่วยเหลือครอบครัวละ 15,000 บาท เพื่อช่วยเหลือชาวนาให้มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และ

—มติที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2558 อนุมัติขยายระยะเวลาให้เกษตรกรในจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันออก (จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ที่มีการเพาะปลูกข้าวในช่วงหลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในระยะ 3 เดือน (ตุลาคม – ธันวาคม 2557) ที่ขึ้นทะเบียนไว้ จำนวน 37,402 ครัวเรือน สามารถเข้าร่วมมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อยได้ และอนุมัติให้กรมส่งเสริมการเกษตรเปิดระบบให้สำนักงานเกษตรอำเภอดำเนินการบันทึก แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องเพื่อให้เกษตรกร จำนวน 2,091 ครัวเรือน สามารถเข้าร่วม มาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อยได้ ผลการดำเนินงาน

1.1) กรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2558

          - ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว          3.714 ล้านครอบครัว          61.411 ล้านไร่

— 1.2) ธ.ก.ส. ข้อมูล ณ วันที่ 23 กันยายน 2558

           — - กสก. ตรวจสอบและส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส.           3.635 ล้านครอบครัว          39.521 ล้านไร่

(ข้อมูล ณ วันที่ 10 กันยายน 2558)

          - อยู่ระหว่างรอการจัดส่งเอกสาร และ              6,210 ครอบครัว             40,828 ไร่

เกษตรกรแจ้งความจำนงกับ ธ.ก.ส.

            — - ธ.ก.ส. โอนเงินให้เกษตรกร               3.629 ล้านครอบครัว          39,479.840 ล้านบาท

2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2558

— — มติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 เห็นชอบในหลักการการกำหนดแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2558 โดยเป็นการนำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2557/58 มาปรับปรุงโครงการ/จัดทำเป็นโครงการใหม่ และใช้วงเงินคงเหลือ ประกอบด้วย 4 โครงการ ได้แก่

— 1) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสถาบันเกษตรกร (ธ.ก.ส.)

— 2) การเชื่อมโยงตลาดในประเทศและต่างประเทศ (กรมส่งเสริมสหกรณ์)

— 3) โครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก (กรมการค้าภายใน)

— 4) โครงการจัดตลาดนัดข้าวและพืชไร่ ปีการผลิต 2557/58 (สำนักงานการค้าภายในจังหวัด) ปีการผลิต 2558/59 โครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/59

— — มติที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 เห็นชอบโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งปี 2558/59

— วัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน และช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งให้มีรายได้จากกิจกรรมอื่นทดแทน

ระยะเวลาดำเนินโครงการ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 – 30 เมษายน 2559 ประกอบด้วย 8 มาตรการ ดังนี้
1. มาตรการส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน

1.1 โครงการตามแผนชุมชนเพื่อแก้ไขวิกฤตภัยแล้งด้านการเกษตร (กษ.)

1.2 ลดค่าครองชีพโดยจำหน่ายสินค้าราคาเหมาะสม (พณ.)

2. มาตรการชะลอหรือขยายระยะเวลาการชำระหนี้ที่เกษตรกรมีภาระหนี้กับสถาบันการเงิน

2.1 การลดหรือยกเว้นการเก็บค่าเช่าที่ดิน (กษ.)

2.2 การให้สินเชื่อ (ธ.ก.ส.)

2.3 การชดเชยดอกเบี้ยให้แก่กลุ่มเกษตรกรและสมาชิกสหกรณ์ (กษ.)

2.4 การขยายระยะเวลาชำระหนี้ (ธ.ก.ส.)

3. มาตรการจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร

3.1 การจ้างงานภายใต้โครงการของกรมชลประทาน (กษ.)

3.2 การจ้างงานเร่งด่วนและการพัฒนาทักษะฝีมือ (มท.)

4. มาตรการเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง
  • การจัดทำแผนชุมชน (มท.หน่วยงานหลัก)
5. มาตรการการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ
  • การรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัด (นร. ธ.ก.ส. และ กษ.)
6. มาตรการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน

6.1 การปฏิบัติการฝนหลวง (กษ.)

6.2 การสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (พน.)

6.3 การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร (ทส.)

6.4 การสนับสนุนน้ำในพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง (กห.)

7. มาตรการเสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

7.1 การช่วยเหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุขกับประชาชน (สธ.)

7.2 การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)

8. มาตรการสนับสนุนอื่นๆ

8.1 การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ (มท.)

8.2 แผนสินเชื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มละไม่เกิน 1 ล้านบาท (ธ.ก.ส.)

8.3 การบริการข้อมูลและบริการภาครัฐผ่านศูนย์กลางแอปพลิเคชั่นภาครัฐ (ทก.)

8.4 การกำหนดแนวทางการจัดสรรน้ำแก่เกษตรกรผู้ปลูกไม้ยืนต้นที่ขาดแคลนน้ำภาคตะวันออก (วท.)

8.5 ระบบสารสนเทศเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง (วท.)

8.6 การส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีเกษตรเพื่อกระจายรายได้ไปสู่ภาคการเกษตร (กก.)

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่เกษตรกรขายได้ ราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาด และประเทศคู่ค้ามีความต้องการข้าวเพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมสำรองไว้หากปริมาณข้าวในประเทศตนเองมีไม่เพียงพอจากการเกิดภัยแล้ง

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,233 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,312 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60

ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,609 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,462 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.97

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 28,550 บาท ราคาทรงตัวเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,075 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,610 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 853 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,741 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 844 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,455 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.07 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 286 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 653 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,533 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 646 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,311 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 222 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 372 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,406 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 350 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,630 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.29 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 776 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 360 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,974 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 341 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,305 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.57 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 669 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 372 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,406 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 356 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,846 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.50 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 560 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.0388 บาท

2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

เมียนมาร์

— รองประธานฯสมาคมข้าวเมียนมาร์ ให้สัมภาษณ์ว่า เมียนมาร์ได้เตรียมขยายตลาดส่งออกข้าวนึ่งไปสู่ตลาดในกลุ่มประเทศยุโรป เพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกข้าวนึ่งที่ลดลง เพราะเมียนมาร์เสียเปรียบในเรื่องของราคาส่งออกที่สูงกว่าประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม และอินเดีย โดยที่ผ่านมาเมียนมาร์ส่งออกข้าวนึ่งไปรัสเซียเป็นหลัก แต่เมื่อประสบปัญหาการส่งออกจึงตัดสินใจขยายตลาดไปสู่ยุโรป

— ในปีงบประมาณ 2557/58 ที่ผ่านมา (เมษายน 2557 – มีนาคม 2558) เมียนมาร์ส่งออกข้าวนึ่งปริมาณ 100,000 ตัน แต่ในปีงบประมาณ 2558/59 (เมษายน – ต้นตุลาคม 2558) ส่งออกได้เพียง 30,000 ตัน ทำให้มีความเป็นไปได้ยากที่เมียนมาร์จะบรรลุเป้าหมายการส่งออก 100,000 ตัน ในปีงบประมาณ 2558/59

— ทั้งนี้ นอกจากปัญหาเรื่องราคาข้าวนึ่งที่สูงกว่าประเทศคู่แข่งแล้ว ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การส่งออกข้าวลดลงคือ ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2558 เมียนมาร์ประสบปัญหาน้ำท่วมในเขตลุ่มแม่น้ำอิรวดี ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวสำหรับทำข้าวนึ่งที่สำคัญ ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้ส่งออกข้าวจึงเสียลูกค้าให้กับประเทศคู่แข่ง เพราะผู้ส่งออกไม่สามารถส่งมอบข้าวนึ่งได้ทันเวลา ที่มา http://oryza.com

อินโดนีเซีย

— รายงานของสำนักข่าว Rueters ได้อ้างถึงคำกล่าวของประธานกรรมการบริหารของ Bulog ที่ระบุว่า รัฐบาลอินโดนีเซียและเวียดนามบรรลุข้อตกลงว่าด้วยการซื้อขายข้าวแบบมีข้อตกลง (Contingency Agreement) โดยที่รัฐบาลอินโดนีเซียสามารถซื้อข้าวจากเวียดนามได้ปริมาณ 1 ล้านตัน ถ้าสถานการณ์ภัยแล้งยังดำเนินต่อไป ซึ่งข้อตกลงดังกล่าว ทำขึ้นเพื่อประกันว่าอินโดนีเซียจะมีข้าวเพียงพอสำหรับการบริโภค ถึงแม้ว่าผลผลิตข้าวภายในประเทศจะลดลงอันเนื่องมาจากภัยแล้ง ทั้งนี้ ในช่วงเดือนกันยายน 2558 ทิศทางของนโยบายเรื่องการนำเข้าข้าวยังมีความไม่ชัดเจน โดยประธานาธิบดีฯ กล่าวว่า ปริมาณข้าวสำรองของอินโดนีเซียมีเพียงพอและไม่มีความจำเป็นต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ แต่รองประธานาธิบดีฯ ให้ความเห็นว่า อินโดนีเซียอาจจะต้องนำเข้าข้าวประมาณ 1.5 ล้านตัน จากประเทศเวียดนามและไทยเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดแคลนและข้าวมีราคาสูงขึ้น

— นอกจากอินโดนีเซียแล้ว ฟิลิปปินส์เป็นอีกหนึ่งประเทศที่จะทำข้อตกลงซื้อข้าวจากเวียดนาม โดยคาดว่าจะนำเข้าข้าวปริมาณ 450,000 ตัน ด้วยเหตุนี้ จึงคาดการณ์ว่าราคาข้าวจากเวียดนามและเอเชียจะปรับราคาสูงขึ้น จากที่ราคาข้าวปรับลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2558 โดยที่ราคาข้าวเวียดนามในเดือนกันยายน 2558 มีราคาต่ำสุดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 แต่ปัจจุบันราคาข้าว 5% ของเวียดนามอยู่ที่ 350 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน (หรือตันละ 12,613 บาท) ซึ่งสูงขึ้นจากราคา 325 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน (หรือตันละ 11,713 บาท) ในเดือนกันยายน 2558 ที่มา http://oryza.com

สหภาพยุโรป

— สหพันธ์สหภาพเกษตรกรสหภาพยุโรปและสหกรณ์การเกษตร (COPA-COGECA) ไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมาธิการยุโรป (the European Commission) ที่จะยกเลิกการใช้ยาฆ่าแมลงไตรไซคลาโซล (Tricyclazole) ซึ่งใช้ป้องกันโรคใบไหม้ (Rice Blast) เนื่องจากมีความกังวลถึงผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้สาร Tricyclazole

— หัวหน้ากลุ่มชาวนาของ COPA-COGECA ให้ความเห็นว่า “ถ้าคณะกรรมาธิการยุโรปยืนยันที่จะห้ามใช้ Tricyclazole ชาวนายุโรปจะประสบปัญหาในการปลูกข้าวแข่งกับตลาดโลก” นอกจากนี้ กลุ่มชาวนาฯ ยังอ้างถึงรายงานของสถาบันวิจัย Nomisma ว่าความเสี่ยงของผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้สาร Tricyclazole มีในระดับเล็กน้อย

— ทั้งนี้ สหภาพยุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรปให้ความสำคัญต่อการเกษตรแบบยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังจะเห็นได้ — จากนโยบายเกษตรกรรมร่วมกันของสหภาพยุโรป (Common Agricultural Policy, CAP) ที่ให้ความสำคัญต่อการลดการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม ที่มา http://oryza.com

ญี่ปุ่น

— สำนักข่าว Bloomberg ได้อ้างถึงรายงานของสำนักข่าว Nikkei Asian Review ว่าประเทศญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะเพิ่มปริมาณนำเข้าข้าวจากกลุ่มความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership, TPP) ณ เมืองแอตแลนตา ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยประเทศญี่ปุ่นอาจจะเพิ่มโควตาการนำเข้าข้าวปลอดภาษีจากประเทศสหรัฐฯ เป็น 100,000 ตัน จากแผนเดิมที่กำหนดโควตาการนำเข้าข้าวปลอดภาษีไว้ที่ 50,000 - 70,000 ตัน

— โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นคาดการณ์ว่าการเพิ่มปริมาณนำเข้าข้าวจากประเทศสหรัฐฯ จะส่งผลให้ราคาข้าวภายในประเทศลดลงและส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของชาวนาญี่ปุ่น ซึ่งทำให้ชาวนาญี่ปุ่นบางส่วนเริ่มแสดงความไม่พอใจ ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังเตรียมแผนรับซื้อข้าว

— ที่ผลิตในประเทศเพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และพยุงระดับราคาข้าวในประเทศ ซึ่งปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นนำเข้าข้าวปริมาณ 770,000 ตันต่อปี ภายใต้ข้อตกลงการเข้าถึงของตลาดขั้นต่ำ (Minimum Market Access, MMA) ขององค์กรการค้าโลก (WTO) และเก็บภาษีนำเข้าข้าวที่เกินโควตา MMA ในอัตรา 341 เยนต่อกิโลกรัม (ประมาณ 2,837 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน หรือประมาณตันละ 102,242 บาท) ที่มา http://oryza.com

อียิปต์

— กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม ระบุว่า รัฐบาลอียิปต์อนุญาตให้มีการส่งออกข้าวสารในช่วง 6 เดือน (ตุลาคม 2558 – มีนาคม 2559) และรัฐบาลจะเก็บค่าธรรมเนียมกับผู้ส่งออกข้าวเป็นเงิน 2,000 ปอนด์อียิปต์ต่อตัน (หรือ 255 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน) โดยจะเก็บเป็นเงินตราต่างประเทศ เพื่อเพิ่มปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศ ทั้งนี้ การอนุญาตให้ส่งออกเป็นเพียงมาตรการชั่วคราว เพราะปริมาณข้าวสารของปีการผลิต 2558/59 จะมีปริมาณมากกว่าความต้องการภายในประเทศ โดยคาดว่าการส่งออกข้าวสารมีปริมาณประมาณ 1 ล้านตัน ซึ่งตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา รัฐบาลอียิปต์ห้ามส่งออกข้าวหลายครั้งติดต่อกัน โดยขึ้นอยู่กับความผันผวนของปริมาณผลผลิตและความต้องการข้าวภายในประเทศเป็นหลัก ที่มา http://oryza.com

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 5 - 11 ต.ค. 2558--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ