1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ
ราคายางพารายางแผ่นดิบมีทิศทางปรับตัวลดลง อาจเนื่องมาจากนักลงทุนมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่หลายราย เช่น จีน สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ยังคงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่ปลูกยางของไทยทำให้อุปทานยางออกสู่ตลาด น
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.78 บาท ลดลงจาก 42.00 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.22 บาท หรือร้อยละ 0.52
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.28 บาท ลดลงจาก 41.50 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.22 บาท หรือร้อยละ 0.53
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.78 บาท ลดลงจาก 41.00 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.22 บาท หรือร้อยละ 0.54
4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.88 บาท ลดลงจาก 20.89 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.01 บาท หรือร้อยละ 0.05
5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.62 บาท เพิ่มขึ้นจาก 18.46 บาท ของสัปดาห์ที่แล้ว กิโลกรัมละ 0.16 บาท หรือร้อยละ 0.87
6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.65 บาท ลดลงจาก 38.78 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.13 บาท หรือร้อยละ 2.91
ในสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคายางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 , ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 และยางแผ่นดิบคละ
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2558
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.08 บาท เพิ่มขึ้นจาก 49.25 บาท ของสัปดาห์ แล้วกิโลกรัมละ 0.83 บาทหรือร้อยละ 1.69
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.93 บาท เพิ่มขึ้นจาก 48.10 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.83 บาทหรือร้อยละ 1.73
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.15 บาท ลดลงจาก 33.74 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.59 บาท หรือร้อยละ 1.75
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.83 บาท เพิ่มขึ้นจาก 49.00 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.83 บาท หรือร้อยละ 1.69
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.68 บาท เพิ่มขึ้นจาก 47.85 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.83 บาท หรือร้อยละ 1.74
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.81 บาท ลดลงจาก 33.58 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.77 บาท หรือร้อยละ 2.30
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคายางพาราซื้อขายล่วงหน้า ณ เดือนพฤศจิกายน ตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์และตลาดล่วงหน้าโตเกียวมีทิศทางเพิ่มขึ้น อาจเนื่องมาจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนมั่นใจว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ราคายางปรับตัวสูงขึ้นในกรอบจำกัดหลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปีนี้ลงสู่ร้อยละ 3.1 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตทางการเงินในปี 2552
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.83 เซนต์สหรัฐฯ (47.42 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 131.30 เซนต์สหรัฐฯ (47.46 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.53 เซนต์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 0.40
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 161.45 เยน (48.06 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 157.02 เยน (47.02 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 4.43 เยน หรือร้อยละ 2.82
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 5 - 11 ต.ค. 2558--