ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 3, 2015 14:04 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

1) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2558

— มติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 เห็นชอบในหลักการการกำหนดแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2558 โดยเป็นการนำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว

ปี 2557/58 มาปรับปรุงโครงการ/จัดทำเป็นโครงการใหม่ และใช้วงเงินคงเหลือ ประกอบด้วย 4 โครงการ ได้แก่

1) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสถาบันเกษตรกร (ธ.ก.ส.)

2) การเชื่อมโยงตลาดในประเทศและต่างประเทศ (กรมส่งเสริมสหกรณ์)

3) โครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก (กรมการค้าภายใน)

4) โครงการจัดตลาดนัดข้าวและพืชไร่ ปีการผลิต 2557/58 (สำนักงานการค้าภายในจังหวัด)

2) โครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/59

— มติที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 เห็นชอบโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งปี 2558/59

วัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน และช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งให้มีรายได้จากกิจกรรมอื่นทดแทน

ระยะเวลาดำเนินโครงการ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 – 30 เมษายน 2559 ประกอบด้วย 8 มาตรการ ดังนี้

1. มาตรการส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน

1.1 โครงการตามแผนชุมชนเพื่อแก้ไขวิกฤตภัยแล้งด้านการเกษตร (กษ.)

1.2 ลดค่าครองชีพโดยจำหน่ายสินค้าราคาเหมาะสม (พณ.)

2. มาตรการชะลอหรือขยายระยะเวลาการชำระหนี้ที่เกษตรกรมีภาระหนี้กับสถาบันการเงิน

2.1 การลดหรือยกเว้นการเก็บค่าเช่าที่ดิน (กษ.)

2.2 การให้สินเชื่อ (ธ.ก.ส.)

2.3 การชดเชยดอกเบี้ยให้แก่กลุ่มเกษตรกรและสมาชิกสหกรณ์ (กษ.)

2.4 การขยายระยะเวลาชำระหนี้ (ธ.ก.ส.)

3. มาตรการจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร

3.1 การจ้างงานภายใต้โครงการของกรมชลประทาน (กษ.)

3.2 การจ้างงานเร่งด่วนและการพัฒนาทักษะฝีมือ (มท.)

4. มาตรการเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง
  • การจัดทำแผนชุมชน (มท.หน่วยงานหลัก)
5. มาตรการการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ
  • การรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัด (นร. ธ.ก.ส. และ กษ.)
6. มาตรการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน

6.1 การปฏิบัติการฝนหลวง (กษ.)

6.2 การสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (พน.)

6.3 การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร (ทส.)

6.4 การสนับสนุนน้ำในพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง (กห.)

7. มาตรการเสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

7.1 การช่วยเหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุขกับประชาชน (สธ.)

7.2 การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)

8. มาตรการสนับสนุนอื่นๆ

8.1 การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ (มท.)

8.2 แผนสินเชื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มละไม่เกิน 1 ล้านบาท (ธ.ก.ส.)

8.3 การบริการข้อมูลและบริการภาครัฐผ่านศูนย์กลางแอปพลิเคชั่นภาครัฐ (ทก.)

8.4 การกำหนดแนวทางการจัดสรรน้ำแก่เกษตรกรผู้ปลูกไม้ยืนต้นที่ขาดแคลนน้ำภาคตะวันออก (วท.)

8.5 ระบบสารสนเทศเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง (วท.)

8.6 การส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีเกษตรเพื่อกระจายรายได้ไปสู่ภาคการเกษตร (กก.)

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่เกษตรกรขายได้ ราคาค่อนข้างทรงตัว เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการข้าวในตลาดยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,928 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,105 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35

ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,700 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,723 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 27,975 บาท ราคาลดลงจากตันละ 28,050 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,850 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 849 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,961 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 867 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,483 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.08 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 522 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 661 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,327 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 663 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,311 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.3 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 16 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 370 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,057 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 375 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในสัปดาห์ก่อน (13,185 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.33 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 127 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 361 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,740 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 365 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,833 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10 และลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 93 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 373 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,163 บาท/ตัน) ราคาลดลง จากตันละ 378 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,290 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.32 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 127 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.2902 บาท

2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

อินโดนีเซีย

แหล่งข่าวในอินโดนีเซีย รายงานว่า รัฐบาลได้รับการพิจารณาอนุมัติให้สามารถนำเข้าข้าวภายหลังจากที่ปริมาณข้าวสำรองของประเทศลดลง รวมทั้งจากที่เกิดความกังวลว่าภัยแล้งจะส่งผลกระทบ โดยรัฐบาลคาดหวังว่าการนำเข้าข้าวจะสามารถแก้ไขปัญหาหากเกิดวิกฤตด้านอาหารได้

ทั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียได้บรรลุข้อตกลงที่จะซื้อข้าวจากเวียดนามแล้วปริมาณ 1 ล้านตัน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับไทย เมียนมาร์ ปากีสถาน และกัมพูชา เพื่อซื้อข้าวอีกปริมาณ 500,000 ตัน ทางด้านประธานองค์การสำรองอาหาร (Bulog) ให้สัมภาษณ์ว่า ถ้าฝนยังไม่ตกภายในสัปดาห์นี้ เราจะเร่งรัดการนำเข้าข้าว โดยที่จะขอให้เวียดนามเริ่มส่งมอบข้าวตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนนี้

ที่มา http://oryza.com

กายานา

สำนักข่าว Guyana News Network รายงานว่า รัฐบาลกำลังขยายตลาดส่งออกข้าว ภายหลังจากที่เวเนซุเอลาตัดสินใจไม่ต่ออายุข้อตกลงนำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมถึงกายานาด้วย

แหล่งข่าวรายงานว่า กระทรวงเกษตรของกายานาอยู่ระหว่างการเจรจาขายข้าวให้กับเม็กซิโก เฮติ และบาฮามาส โดยที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ระบุว่า เฮติและบาฮามาส มีความสนใจที่จะซื้อข้าวจากกายานา นอกจากนี้ รัฐมนตรีกล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลได้บรรลุข้อตกลงในการเพิ่มปริมาณส่งออกข้าวให้แก่ปานามาเดือนละ 7,200 ตัน เพิ่มขึ้นจากที่เคยส่งเดือนละ 4,000 ตัน ภายใต้ข้อตกลงเดิม

ทั้งนี้ ในปี 2558 กายานาตั้งเป้าหมายการผลิตและส่งออกไว้ที่ 618,000 และ 521,000 ตันข้าวสาร ตามลำดับ โดยที่ผ่านมา ปี 2557 กายานาสามารถส่งออกข้าวได้ 501,208 ตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 27 โดยส่งออกข้าวไปยัง 50 ประเทศทั่วโลก

ที่มา http://oryza.com

อินเดีย

แหล่งข่าวท้องถิ่นรายงานว่า หน่วยงานพัฒนาสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกของอินเดีย (Agricultural Products Export Development Authority, APEDA) กำลังวางแผนที่จะส่งเสริมการส่งออกข้าวบาสมาติ (Basmati) ในรูปแบบข้าวถุง ภายใต้ตราสินค้าของประเทศไปยังตลาดส่งออกที่สำคัญของอินเดีย เพื่อกระตุ้นปริมาณการส่งออกข้าวบาสมาติ โดยที่ผ่านมา อินเดียได้ให้ความสำคัญกับการส่งออกข้าวในรูปแบบขายส่ง และทำการซื้อขายภายใต้

ตราสินค้าของเอกชน ทั้งนี้ APEDA จะเริ่มรณรงค์การส่งออกข้าวถุงกับซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน ซึ่งทั้ง 2 ประเทศเป็นผู้นำเข้าข้าวบาสมาติที่สำคัญของอินเดีย

ที่ปรึกษา APEDA ให้สัมภาษณ์ว่า เรากำลังทำงานร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวอินเดีย และจะเริ่มการรณรงค์ส่งออกข้าวถุงในต้นปี 2559 โดยวัตถุประสงค์ของการรณรงค์ เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับข้าวบาสมาติให้แก่ผู้บริโภค (Consumer Awareness) และเป็นการเพิ่มมูลค่าของข้าวบาสมาติ

ทั้งนี้ ระหว่างเดือน เมษายน ถึง สิงหาคม 2558 อินเดียส่งออกข้าวบาสมาติได้ 1.67 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าการส่งออก 1.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือคิดเป็นเงินบาท 55 พันล้านบาท) ลดลงจาก 2.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือคิดเป็นเงินบาท 72 พันล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ทั้งนี้ อินเดียคาดการณ์ว่าอิหร่านจะยกเลิกการห้ามนำเข้าข้าวที่เคยดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2557

ที่มา http://oryza.com

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 26 ต.ค. - 1 พ.ย. 2558--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ