นายสุรพงษ์ เจียสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากที่ สศก. ได้ดำเนินโครงการศึกษาภาวะหนี้สินเกษตรกร และแนวทางการปรับปรุงศักยภาพการดำเนินงานกองทุนในกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจัดจ้างมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ทำการศึกษา เพื่อวิเคราะห์ถึงภาวะหนี้สินเกษตรกรทั้งระบบและประเมินกองทุนภายใต้การกำกับของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นั้น
ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมหนี้สินคงเหลือของเกษตรกรที่มีอยู่?กับองค์กรการเงินต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์?การเกษตร (ธ.ก.ส.) สหกรณ์?การเกษตร กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กองทุนในกำกับของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงหนี้สินภาคการเกษตร (ไม่จำกัดเฉพาะหนี้สินของเกษตรกร) ที่มีอยู่กับธนาคารพาณิชย์? พบว่า ธ.ก.ส. เป็นแหล่งเงินกู้ยืมที่สำคัญที่สุดของภาคการเกษตรไทย โดยในปี 2557 มียอดเงินลูกหนี้คงเหลือสูงสุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของยอดหนี้สินคงเหลือของภาคเกษตรที่มีอยู่?กับองค์กรการเงินข้างต้น รองลงมาเป็น ธนาคารพาณิชย์ สหกรณ์?การเกษตร กองทุนหรือเงินทุนหมุนเวียนในกำกับของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์?ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุสำคัญของการก่?อหนี้และความยากจนของเกษตรกร คือ เกษตรกรเข้าไม่ถึงแหล่งความรู้และการพัฒนาทักษะอีกทั้งเกษตรกรไม่มีความสามารถในการจัดการเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านการผลิต
สำหรับแนวทางการแก้ไข ควรสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการสร้างและร่วมกันใช้กฎกติกา และวิธีการของภาคประชาชน ซึ่งการดำเนินโครงการต่างๆ ของภาครัฐจะต้องพัฒนาและใช้ระบบการคัดเลือกเกษตรกรที่ดี มีการวางกรอบในการพัฒนาฐานข้อมูล และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ รวมถึงวางระบบติดตามที่เน้นการประเมินผลลัพธ์ของโครงการ และที่สำคัญ คือ ภาครัฐไม่ควรเน้นให้ความช่วยเหลือด้วยการเติมเงินหรือใช้เงินเป็นตัวตั้ง แต่ควรสร้างวินัยทางการเงินและฟื้นฟูอาชีพให้กับเกษตรกรอย่างเป็นระบบ
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาหนี้สิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และลดปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคมในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยที่ผ่านมา เกษตรกรยังคงมีหนี้สินค้างชำระกองทุนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากกองทุนเน้นให้ความสำคัญการอุดหนุนเงินมากกว่าการพัฒนาศักยภาพและอาชีพ ซึ่งมิใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุส่งผลให้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
ดังนั้น กองทุนจึงจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในด้านต่างๆ โดยการปรับปรุงศักยภาพของกองทุน ลดความซ้ำซ้อนในบทบาทหน้าที่ระหว่างหน่วยงาน/กองทุน ใช้ประโยชน์จากความชำนาญเฉพาะด้านของหน่วยงานที่มีอยู่และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม สร้างระบบที่จะช่วยทำให้ประเมินได้ว่าเงินงบประมาณที่ถูกใช้ไปมีผลดีและผลเสียต่อเกษตรกรอย่างไร รวมถึงสร้างความมั่นใจแก่เกษตรกรและผู้เสียภาษีว่าการดำเนินงานของกองทุนมีความโปร่งใสและรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อประโยชน์ระยะยาวของภาคเกษตร ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะได้นำผลการศึกษาดังกล่าวไปประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบายหรือมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนให้ดีขึ้นต่อไป
**********************************
ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์
ข้อมูล : สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--