1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
โครงการตามมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2558/59
— มติที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2558 เห็นชอบในหลักการโครงการตามมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2558/59 เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับธนาคารเพื่อเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ส่วนรายละเอียดการดำเนินโครงการและงบประมาณ
— ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ให้มีกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการ จำนวน 1,860.57 ล้านบาท โดยให้ ธ.ก.ส. ขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 และปีต่อๆ ไป ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอน จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
— 1. โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2558/59 วงเงิน 975.57 ล้านบาท
— 2. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2558/59 วงเงินงบประมาณ 236.67 ล้านบาท (ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการจาก MLR เป็น MLR-1 รัฐบาลชดเชยอัตราดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 โดยปัจจุบัน MLR เท่ากับร้อยละ 5)
— 3. โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2558/59 วงเงินงบประมาณ 648.33 ล้านบาท (ปรับลดระยะเวลาให้สอดคล้องกับระยะเวลาดำเนินโครงการไม่เกิน 10 เดือน)
— ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัว เมื่อเทียบกับสัปดาห์ ที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ประกอบกับมีบางพื้นที่ผู้ประกอบการชะลอการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร เพื่อรอการประมูลข้าวจากสต๊อกของรัฐบาล
1.2 ราคา
— ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,579 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,690 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96
— ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,553 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,589 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47
— ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 24,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
— ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,790 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34
— ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 782 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,852 บาท/ตัน)
— ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 525 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,699 บาท/ตัน)
— ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 366 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,036 บาท/ตัน)
— ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 359 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,786 บาท/ตัน)
— ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 361 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,857 บาท/ตัน)
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.6162 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
— บรรษัทการค้าสินค้าเกษตร ประมง และอาหารแห่งเกาหลีใต้ (Korea Agro-Fisheries & Food Trade Corporation, KAFTC) เปิดเผยว่า การประมูลซื้อข้าวกล้องเจ้าปริมาณ 55,555 ตัน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2558 ผลปรากฏว่า จีนและสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ชนะการประมูล โดยมีกำหนดส่งมอบข้าวระหว่างวันที่ 31 มีนาคม - 30 เมษายน 2559 รายละเอียดการประมูล สรุปได้ดังนี้
ประเภทข้าว ปริมาณ (ตัน) ราคา ผู้ชนะ (ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน และ บาท/ตัน) การประมูล ข้าวกล้องเจ้า (เมล็ดสั้น) 10,000 888 (31,627) จีน ข้าวกล้องเจ้า (เมล็ดสั้น) 12,000 889.98 (31,697.70) จีน ข้าวกล้องเจ้า (เมล็ดสั้น) 11,333 890 (31,698) จีน ข้าวกล้องเจ้า (เมล็ดกลาง) 10,000 714.64 (25,452.76) สหรัฐอเมริกา ข้าวกล้องเจ้า (เมล็ดกลาง) 5,555 712.64 (25,381.53) สหรัฐอเมริกา ข้าวกล้องเจ้า (เมล็ดกลาง) 6,667 718.34 (25,584.54) สหรัฐอเมริกา ที่มา http://oryza.com อินโดนีเซีย
— แหล่งข่าวท้องถิ่นอินโดนีเซีย อ้างข้อความจากสถานทูตปากีสถานว่า เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2559 ณ เมืองอิสลามาบัด รัฐบาลอินโดนีเซียโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้า ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding, MoU) กับเอกอัครราชทูตปากีสถาน โดยข้อตกลงระบุว่าอินโดนีเซียจะนำเข้าข้าวขาวจากปากีสถาน ประมาณ 1 ล้านตัน ระหว่างปี 2559 - 2562 ซึ่งการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณสต็อกข้าวท่ามกลางความกังวลต่อปริมาณผลผลิตที่ลดลงเนื่องจากภาวะแห้งแล้ง
— การซื้อขายข้าวภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว มีองค์การสำรองอาหารอินโดนีเซีย (Bulog) และองค์การการค้าปากีสถาน (Trading Corporation of Pakistan, TCP) เป็นผู้ดำเนินการ มูลค่ารวมประมาณ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (14,426 ล้านบาท) โดยราคาข้าว 5% และ 25% ที่ระบุในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว มีราคา 335 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน (หรือตันละ 11,931 บาท) และ 305 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน (หรือตันละ 10,863 บาท) ตามลำดับ
— ทั้งนี้ อินโดนีเซียได้ทำข้อตกลงลักษณะเดียวกันนี้กับหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น ไทย เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมาร์ อย่างไรก็ดี การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับปากีสถานในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่อินโดนีเซียทำกับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน
— อนึ่ง การค้าระหว่างปากีสถานและอินโดนีเซียมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก นับตั้งแต่ปี 2556 ที่ทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลงทางการค้า (Preferential Trade Agreement) ร่วมกัน
ที่มา http://oryza.com
— องค์กร Ente Nazionale Risi (ENR) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องข้าวของอิตาลี เปิดเผยว่า ในช่วงสองเดือนแรกของฤดูการผลิต ปี 2558/59 (ระหว่างเดือนกันยายน 2558 – ตุลาคม 2559) สหภาพยุโรปนำเข้าข้าวจากประเทศด้อยพัฒนา (Least Developed Countries, LDCs) ในเอเชีย เช่น กัมพูชา และเมียนมาร์ ภายใต้ข้อตกลงทุกอย่างยกเว้นยุทโธปกรณ์ (Everything But Arms Agreement, EBA) มีปริมาณถึง 80,794 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของฤดูการผลิตที่ผ่านมา ข้อมูลจาก ENR ระบุว่า ระหว่างเดือนกันยายน 2558 – ตุลาคม 2559 การนำเข้าข้าวจากกัมพูชามีปริมาณ 66,789 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนการนำเข้าข้าวจากเมียนมาร์มีปริมาณ 12,633 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ที่มา http://oryza.com
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 7-13 ธ.ค. 2558--