1)สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
— มติที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2558 เห็นชอบในหลักการโครงการตามมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2558/59 เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับธนาคารเพื่อเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ส่วนรายละเอียดการดำเนินโครงการและงบประมาณ ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ให้มีกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการ จำนวน 1,860.57 ล้านบาท โดยให้ ธ.ก.ส. ขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 และปีต่อๆ ไป ตามความจำเป็น และเหมาะสมตามขั้นตอน จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
(1) โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2558/59 วงเงิน 975.57 ล้านบาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2558/59 วงเงินงบประมาณ 236.67 ล้านบาท (ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการจาก MLR เป็น MLR-1 รัฐบาลชดเชยอัตราดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 โดยปัจจุบัน MLR เท่ากับร้อยละ 5)
(3) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2558/59 วงเงินงบประมาณ 648.33 ล้านบาท (ปรับลดระยะเวลาให้สอดคล้องกับระยะเวลาดำเนินโครงการไม่เกิน 10 เดือน)
(1) โครงการส่งเสริมสนับสนุนการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี ปี 2559/60 (กข.)
(2) โครงการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชที่หลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2560 (กสก.)
(3) โครงการสนับสนุนสินเชื่อให้กลุ่มชาวนาผู้ผลิตข้าวแบบแปลงใหญ่ ปี 2559/60 (ธ.ก.ส.) — มติที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559 เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 ด้านการตลาด จำนวน 4 โครงการ ดังนี้ มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 ด้านการตลาด
(1) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (ธ.ก.ส.)
(2) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก (ธ.ก.ส.)
(3) โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว (ธ.ก.ส.)
(4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก (พณ.)
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่เกษตรกรขายได้ ราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตน้อยจากการเกิดภัยแล้ง ขณะที่ความต้องการข้าวในตลาดส่งออกยังคงมีอย่างต่อเนื่อง
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,056 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,000 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51
ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,555 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,410 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 25,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,900 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,790 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80 3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 822 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,741 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 834 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,175 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 648 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,657 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 646 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,598 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 441 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,419 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,392 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 422 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,755 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 421 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,727 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 465 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,259 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 448 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,672 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.80
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.9646 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2559/60 ประจำเดือนมิถุนายน 2559 ว่าจะมีผลผลิต 480.718 ล้านตันข้าวสาร (716.8 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจาก 470.891 ล้านตันข้าวสาร (701.9 ล้านตันข้าวเปลือก) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.09 จากปี 2558/59 2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2559/60 ณ เดือนมิถุนายน 2559 ว่าผลผลิต ปี 2559/60 จะมี 480.718 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2558/59 ร้อยละ 2.09 การใช้ในประเทศจะมี 480.394 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.36 การส่งออก/นำเข้าจะมี 40.557 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.92 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 106.945 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.30 โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย เมียนมาร์ กัมพูชา อุรุกวัย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ จีน อียู อินเดีย ปากีสถาน และไทย สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ แองโกลา บังคลาเทศ คิวบา กานา เคนย่า มาเลเซีย เม็กซิโก โมแซมบิค เนปาล ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บราซิล ไอเวอรี่โคสต์ เฮติ อินโดนีเซีย ไนจีเรีย และแอฟริกาใต้ ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น 2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
สำนักงานบริการพิธีการส่งออกข้าว (The Secretariat of One Window Service for Rice Export; SOWS-REF) รายงานว่าในเดือนพฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา กัมพูชาส่งออกข้าว 32,558 ตัน ลดลงร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับจำนวน 39,550 ตัน ในเดือนเมษายน 2559 และลดลงร้อยละ 22.2 เมื่อเทียบกับจำนวน 41,842 ตัน ในเดือนพฤษภาคม 2558 โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-พฤษภาคม 2559) กัมพูชาส่งออกข้าวรวม 234,328 ตัน ลดลงร้อยละ 3.46 เมื่อเทียบกับจำนวน 242,725 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สำหรับชนิดข้าวที่กัมพูชาส่งออกในช่วง 5 เดือนแรก ประกอบด้วย ข้าวหอมชนิด Premium จำนวน 69,958 ตัน ข้าวหอมชนิดอื่นๆ (Fragrant rice) รวม 35,344 ตัน ข้าวขาว (long grain white rice) จำนวน 107,960 ตัน และข้าวนึ่ง (long grain parboiled) จำนวน 21,066 ตันทั้งนี้ นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า สาเหตุที่ยอดการส่งออกข้าวลดลง เนื่องจากชาวนาแบกรับภาระต้นทุนในการผลิตที่สูงเกินไป ทั้งค่าปุ๋ยและค่าจ้าง แต่ผลผลิตมีราคาต่ำเมื่อเทียบกับประเทศส่งออกข้าวซึ่งเป็นคู่แข่งที่สำคัญ เช่น ไทย เวียดนาม นอกจากนี้ภาวะภัยแล้งอย่างรุนแรงที่ผ่านมา ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงมากในปี 2558 กัมพูชาส่งออกข้าวรวม 538,396 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.1 เมื่อเทียบกับจำนวน 387,061 ตัน ในปี 2557 โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ ประเทศ ในภูมิภาคยุโรปและเอเชีย เช่น จีน 116,639 ตัน ฝรั่งเศส 75,257 ตัน โปแลนด์58,410 ตัน มาเลเซีย 54,914 ตัน เนเธอร์แลนด์ 58,410 ตัน อิตาลี 24,049 ตัน สาธารณรัฐเชค 22,597 ตัน เบลเยี่ยม 19,921 ตัน สหราชอาณาจักร 18,557 ตัน เยอรมนี 13,076 ตัน สเปน 10,382 ตัน โปรตุเกส 10,312 ตัน สิงคโปร์ 5,587 ตัน บรูไน 2,100 ตัน และอินโดนีเซีย 1,000 ตัน เป็นต้น ที่มา Oryza.com
สหพันธ์ข้าวแห่งเมียนมาร์ (the Myanmar Rice Federation) รายงานว่า ปีงบประมาณ 2559/60 (เมษายน 2559 -มีนาคม 2560) การส่งออกข้าวในช่วง 2 เดือนแรก (เมษายน-พฤษภาคม 2559) มีปริมาณรวม 127,570 ตัน มูลค่า 84 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 63 และร้อยละ 29 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปริมาณ 346,000 ตัน มูลค่า 119 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงนี้ความต้องการข้าวจากจีนลดลง ขณะที่สหพันธ์ข้าวระบุว่า การส่งออกข้าวมีประมาณ 3,000-5,000 ตันต่อเดือน อย่างไรก็ตามในเดือนมิถุนายนมีการส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรปประมาณ 20,000 ตัน จึงคาดว่าการส่งออกในเดือนนี้จะปรับตัวดีขึ้นอีกครั้ง ทั้งนี้ ตลาดส่งออกข้าวของเมียนมาร์ ประกอบด้วย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย สิงคโปร์ อิตาลี อินโดนีเซีย สเปน เบลเยี่ยม ฟิลิปปินส์ ฝรั่งเศส มาเลเซีย และแคนาดา ที่มา Oryza.com
องค์การอาหารแห่งชาติฟิลิปปินส์ (National Food Authority; NFA) ร่วมกับสถาบันข้าวฟิลิปปินส์ออกโครงการ “Brown4Good” ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวกล้องและทำการตลาดให้อย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเพื่อการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งโครงการ “Brown4Good” ต้องการผลักดันให้ประชากรฟิลิปปินส์เข้าถึงและมีการบริโภคข้าวกล้องมากขึ้น เนื่องจากเป็นข้าวที่ราคาถูกและมีประโยชน์โดยสหกรณ์ภายใต้การกำกับดูแลของ NFA จะรับซื้อข้าวจากเกษตรกรและนำมาขายในราคา 37 เปโซต่อกิโลกรัม (27.50 บาท – อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 29 เมษายน 2559) ขณะที่ราคาขายปลีกข้าวกล้องในท้องตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 เปโซ (ประมาณ 60 บาท)อนึ่ง ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราบริโภคข้าวสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จึงต้องนำเข้าข้าวเพิ่มเติม จากประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะไทยและเวียดนามในรูปแบบการซื้อแบบรัฐต่อรัฐ เพื่อสนองอุปสงค์ภายในประเทศ โดยข้าวกล้องส่วนใหญ่ที่ขายในฟิลิปปินส์เป็นข้าวกล้องนำเข้ามีราคาสูง แต่ยังไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากนัก ขณะที่หนังสือพิมพ์ฟิลิปปินส์เดลี่เอ็นไควเรอร์ อ้างรายงานตลาดข้าวโลกประจำเดือนของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาว่า ฟิลิปปินส์จะนำเข้าข้าวน้อยลง 3 แสนตัน เหลือเพียง 1.5 ล้านตัน ในปี 2559-2560 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยการคาดการณ์การนำเข้าที่ลดลง เนื่องจากฟิลิปปินส์จะมีผลผลิตข้าวมากขึ้น โดยปีการค้าข้าวที่ใช้ในรายงานของสหรัฐอเมริกา คือ ช่วงเวลาตั้งแต่กลางปี 2559 ถึงกลางปี 2560 ทั้งนี้กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาคาดว่า ผลผลิตข้าวในปี 2559-2560 ของฟิลิปปินส์ รวมทั้งบราซิล กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย แถบทะเลทรายซาฮารา แอฟริกา และสหรัฐอเมริกาจะเพิ่มขึ้นเป็น 480.7 ล้านตัน สูงเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากหลายประเทศมีการเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวเพื่อชดเชยผลผลิตที่ลดลงจากภาวะเอลนิโญในฤดูกาลผลิตที่ผ่านมา ที่มา Oryza.com, หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น (SMBC) เปิดเผยว่า ธนาคารจะลงทุนจัดตั้งบริษัทเพื่อดำเนินธุรกิจด้านการผลิตข้าวในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้ นับเป็นธนาคารรายใหญ่เจ้าแรกของญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในภาคการเกษตร เป้าหมายของธุรกิจธนาคารดังกล่าว คือ การปรับปรุงผลผลิตภาคการเกษตร และขยายช่องทางการตลาด โดยอาศัยเงินทุนและฐานลูกค้าของธนาคาร โดยธนาคารจะจัดตั้งบริษัทขึ้น เพื่อถือครองพื้นที่ทำการเกษตรในจังหวัดอาคิตะ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น และดำเนินธุรกิจร่วมกับบริษัทอื่นๆ ในระดับท้องถิ่น ซึ่งหากการดำเนินธุรกิจนี้เป็นไปได้ด้วยดี SMBC ก็วางแผนที่จะจัดตั้งบริษัทรูปแบบเดียวกันนี้ในพื้นที่อื่นๆ ที่มีปริมาณผลผลิตข้าวในระดับสูง เช่น จังหวัดนิงาตะ และจังหวัดยามางาตะ เป็นต้น ทั้งนี้ ญี่ปุ่นกำลังเผชิญปัญหาจำนวนผู้ผลิตข้าวลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนประชาชนในเขตชนบทที่ลดลง และปัญหาชาวนาที่สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า การที่บริษัทเข้าซื้อหรือเช่าที่ดินทำการเกษตร อาจช่วยลดปัญหาการปล่อยที่ดินทิ้งร้างได้บ้าง ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย และธนาคารอาคิตะ จะร่วมกันลงทุนในบริษัทใหม่ ซึ่งจะเปิดสาขา ในจังหวัดอาคิตะเป็นที่แรก โดยแต่ละฝ่ายจะลงทุนร้อยละ 5 ประกอบกับได้บริษัทท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในด้านการผลิตข้าว ซึ่งคาดว่ากิจการจะมียอดขายสูงกว่าเงินลงทุนร้อยละ 50 ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 20 - 26 มิ.ย.2559--