สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ
ราคายางในประเทศเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกันกับราคาตลาดล่วงหน้า เนื่องจากปริมาณยางยังคงออกสู่ตลาดน้อย จากภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่ และโรงงานส่วนมากยังคงขาดแคลนยาง ปัจจัยลบ จากราคายางตลาดล่วงหน้าและราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับเงินเยนค่อนข้างผันผวนและแข็งค่า รวมทั้งนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการที่ธนาคารกลางจีนได้ดูดซับสภาพคล่องออกจากตลาดเงิน รวมทั้ง ผลกระทบจาก Brexit จึงระมัดระวังในการซื้อขายสินทรัพย?เสี่ยง รวมถึงยางพารา กระทบต?อราคาชี้นำในตลาดล?วงหน? และราคายางที่เกษตรกรได?รับมีความผันผวน
ตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค. 2559 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดโครงการ “จากด้วยใจ”เป็นโครงการสมัครใจลาออกสำหรับพนักงานรับเหมาช่วง (Subcontract) ผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว และความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีผลต่อการส่งออกต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยบริษัทต้องปรับลดกำลังการผลิตลง จำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา ทำให้มีพนักงานเกินความจำเป็น 800 – 900 คน ซึ่งพนักงานจะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานและเงินเพิ่มเติมพิเศษ โดยหากสถานการณ์ของตลาดรถยนต์ดีขึ้น บริษัทยินดีที่จะรับพนักงานที่สมัครใจร่วมโครงการนี้ กลับเข้าทำงานเป็นลำดับแรก โดยคงอัตราค่าจ้างพร้อมสวัสดิการเดิม รวมทั้งจะมีการนับอายุงานต่อเนื่อง ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า โตโยต้ามีการขยายกำลังการผลิตและจ้างงานเพิ่มจากมาตรการรถยนต์คันแรก
ทำให้กำลังการผลิตสูงประมาณ 1.9-2.0 ล้านคัน ขณะที่อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศช่วงที่ผ่านมาชะลอตัว ยอดขายรถยนต์อยู่ที่ 7- 8 แสนคันต่อปี ซึ่งในภาวะตลาดและกำลังซื้อชะลอตัว ความจำเป็นที่จะจ้างงานมีลดลง อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทยยังถือเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะต้องมีการผลักดัน เพราะไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในอาเซียน
1.ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.64 บาท เพิ่มขึ้นจาก 48.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.36 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.75
2.ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.14 บาท เพิ่มขึ้นจาก 47.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.36 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.75
3.ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.64 บาท เพิ่มขึ้นจาก 47.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.36 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76
4.ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.72 บาท เพิ่มขึ้นจาก 21.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.02 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.09
5.เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.36 บาท ลดลงจาก 18.76 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.40 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.13
6.น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.84 บาท เพิ่มขึ้นจาก 43.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.43 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.99
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.52 บาท ลดลงจาก 62.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.93 บาท หรือลดลงร้อยละ 3.09
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.37 บาท ลดลงจาก 61.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.93 บาท หรือลดลงร้อยละ 3.15
3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.26 บาท ลดลงจาก 46.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.30 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.64
4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.42 บาท ลดลงจาก 37.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.49 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.29
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.27 บาท ลดลงจาก 62.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.93 บาท หรือลดลงร้อยละ 3.10
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.12 บาท ลดลงจาก 61.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.93 บาท หรือลดลงร้อยละ 3.16
3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.01 บาท ลดลงจาก 46.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.30 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.65
4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.17 บาท ลดลงจาก 37.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.49 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.30
สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าโตเกียว เปลี่ยนแปลงในช?วงแคบ ๆ โดยมีป?จจัยจากดัชนีภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ขณะที่ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ (ณ 30 มิถุนายน 2559) อยู่ที่ 1,265,402 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 1.1435 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 0.9 ทำให้มียอดบัญชีเดินสะพัดเกินดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่ 23 และตัวเลขเกินดุลที่ 1.81 ล้านล้านเยน ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.4 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 เนื่องจาก การแข็งค่าของเงินเยนส่งผลให้กำไรจากการลงทุนในต่างประเทศปรับตัวลดลง ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกและนำเข้าลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 11.9และร้อยละ 13.4
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.07 เซนต์สหรัฐฯ (57.54 บาท) ลดลงจาก 173.05 เซนต์สหรัฐฯ (61.28 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 9.96 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.69
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 167.58 เยน (57.16 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 163.23 เยน (55.54 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 4.35 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.66
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 4 - 10 ก.ค. 2559--