ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU - OAE Foresight Center : KOFC) โดย ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พร้อมด้วย ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยร่วมกันว่า การท่องเที่ยวเป็นภาคบริการที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ประเทศไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2558 มูลค่า 1.44 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.69 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีพีดี ปี 2558 ประมาณ 13.53 ล้านล้านบาท) และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รายงานประจำปี 2558 การจัดอันดับของ World Economic Forum :WEF ข้อมูลของ Travel and Tourism Competitiveness Index จัดลำดับให้ไทยอยู่ที่ 35 จาก 141 ประเทศทั้งหมด และ องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งประชาชาติ (World Tourism Organization : UNWTO) รายงานว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางระหว่างประเทศทั่วโลกจำนวน 1,185 ล้านคน และคาดว่าในปี 2559 นักท่องเที่ยวที่เดินทางระหว่างประเทศทั่วโลกจะมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4 โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และอเมริกาจะเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุด อยู่ที่ร้อยละ 4 – 5 ทั้งนี้ UNWTO คาดว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางระหว่างประเทศทั่วโลก อาจจะเพิ่มจำนวนถึง 1,400 ล้านคน ในปี 2563 และอีก 10 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นเป็น 1,800 ล้านคน รวมถึง อีกด้วย
สำหรับการท่องเที่ยวของไทยมีการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่องทั้งจำนวนและรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในระยะ 5 ปี ที่ผ่านมา จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 15.94 ล้านคน ในปี 2552 เป็น 29.88 ล้านคน ในปี 2558 และสามารถสร้างการจ้างงานได้จำนวน 4.45 ล้านคน สร้างรายได้มูลค่า 1.44 ล้านล้านบาท โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก (รวมอาเซียน) มีสัดส่วนร้อยละ 66.50 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ยุโรปร้อยละ 18.84 และอื่นๆอีกร้อยละ 14.66
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นนักท่องเที่ยวจากตลาดระยะใกล้ที่มีระยะเวลาเดินทางไม่นานและมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในปี 2558 นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.07 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วของนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนและมาเลเซีย รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเซียน ในขณะที่ นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรปลดลงร้อยละ 8.65 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากการหดตัวของเศรษฐกิจโลกและในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปด้วย
ด้านนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ในปี 2558 มีจำนวน 138.8 ล้านคนต่อครั้ง สร้างรายได้ 0.79 แสนล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2559 สามารถสร้างรายได้ประมาณ 2.3 – 2.5 ล้านล้านบาท ซึ่งมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.67 ล้านล้านบาท และนักท่องเที่ยวไทย มูลค่า 0.807 แสนล้านบาท (ตาราง 1)
ปี จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย จำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทย ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย จำนวน (คน) รายได้ (ล้านบาท) (บาทต่อครั้ง) จำนวน (คน-ครั้ง) รายได้ (ล้านบาท) (บาทต่อครั้ง) 2557 24,809,683 1,172,798 47,272.00 136,000,000 680,000 5,000 2558 9,881,091 1,447,158 48,430.00 138,800,000 790,000 5,692 2559 32,000,000 1,670,000 52,187.00 150,800,000 807,000 5,351
ที่มา : กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวบรวมและคำนวณโดยศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร 2559
สำหรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวได้ให้ความสนใจ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยที่หันมาท่องเที่ยวเชิงเกษตรมากขึ้น พบว่า ขณะนี้มีจำนวนแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรรวม 1,215 แหล่ง แบ่งออกเป็น แหล่งท่องเที่ยวของชุมชน 969 แห่ง แหล่งท่องเที่ยวของส่วนราชการ 87 แห่ง และ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) จำนวน 163 แห่ง ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตั้งอยู่ครอบคลุมทุกภูมิภาคของไทย ซึ่งสามารถแบ่งประเภทการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้ดังนี้
1. การกสิกรรม เที่ยวชม สวนดอกไม้ ไม้ประดับ สมุนไพร สวนผลไม้ ทุ่งนา พืชไร่ และ แปลงไร่นาสวนผสมของเกษตรกร
2. ป่าไม้ เยี่ยมชมสวนป่าธรรมชาติและสวนป่าที่เกษตรกรปลูกขึ้นเอง
3. ประมง เยี่ยมชมการเลี้ยงกุ้ง หอย ปู และ ปลา ของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ
4. ฟาร์มปศุสัตว์ สัมผัสธรรมสัตว์เลี้ยงนานาชนิดที่เป็นมิตรและน่ารัก และร่วมสนุกกับกิจกรรมในฟาร์ม เช่น ขี่ม้า รีดนมวัวและกิจกรรมอื่นๆ เป็นต้น
5. วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตท้องถิ่นภาคการเกษตรเรียนรู้และศึกษาประเพณี วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ของเกษตรกร
1) การนำเที่ยวชมสวนเกษตร เช่น สวนผลไม้ สวนดอกไม้ สวนสมุนไพร
2) การนำเที่ยวเทศกาลงานวันเกษตร เช่น งานมะขามหวาน จ.เพชรบูรณ์
3) งานเทศกาลผลไม้ จ.ระยอง
4) การนำเที่ยวชมฟาร์มปศุสัตว์ เช่น ฟาร์มโชคชัย
5) การนำชมการทำนาแบบดั้งเดิม
6) การนำชมหมู่บ้านชาวประมง เช่น การไดหมึก การตกปลา การตกกุ้ง
การส่งเสริมและนโยบายจากภาครัฐในการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ล่าสุดได้ร่วมมือกันกับผู้ประกอบการเอกชนรายใหญ่ ภายใต้คณะทำงานสานพลังประชารัฐด้านการท่องเที่ยว จัดทำโครงการ “อะเมซิ่ง ไทยเทส” ซึ่งเป็นโครงการการส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวต่างชาติบริโภคอาหารไทยและผลไม้ไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถวิเคราะห์รายได้จากนักท่องเที่ยวในปี 2559 ที่จะเพิ่มขึ้น ดังนี้
1. นักท่องเที่ยวต่างชาติ การเข้ามาท่องเที่ยวในไทย ซึ่งการรับประทานอาหารไทย เป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมสูงสุด ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายด้านอาหาร 3,762 บาทต่อคนต่อครั้ง ดังนั้นเป้าหมายสามารถเพิ่มยอดค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารต่อครั้งขึ้นได้นั้น ที่สนใจมาท่องเที่ยวเชิงเกษตรและส่งผลให้รายได้ภายในประเทศเพิ่มขึ้น 12,000 ล้านบาทอีกด้วย
2. นักท่องเที่ยวชาวไทย รายงานการสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย พ.ศ. 2558 พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศมีกิจกรรมที่ทำระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม อยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.5 และมีค่าใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มจำนวน 494 บาทต่อครั้ง ดังนั้นหากนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 150.08 ล้านคนต่อครั้ง ในปี 2559 จะเข้าร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรจำนวนถึง 3.77 ล้านคนต่อครั้ง และสร้างรายได้ภายในประเทศให้กับภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 1,860 ล้านบาท เช่นกัน
สำหรับประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับ จากการกระตุ้นและส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวรู้จักสถานที่ บริโภคอาหารไทยและผลไม้ไทยเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติและชาวไทย สามารถสร้างรายได้ให้กับภาคเกษตรได้มากขึ้น ซึ่งสินค้าเกษตรที่ได้รับผลประโยชน์ประกอบด้วยสินค้าเกษตร ข้าว พืชผัก ผลไม้ ปศุสัตว์ และสินค้าประมง ตามลำดับ ซึ่งเป็นสาขาหลักสำหรับภาคเกษตรที่จะได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากมาตรการดังกล่าว
1. พัฒนา บูรณะ ฟื้นฟูมรดกและสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมทั้งในเขตเมืองและนอกเมือง เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวใหม่ สร้างแหล่งจับจ่ายซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยว โดยจะส่งเสริมบทบาทเอกชนร่วมกับชุมชนในการรักษาแหล่งท่องเที่ยวและวิถีชีวิตให้ในสภาพเดิมอย่างต่อเนื่อง
2. พัฒนาความหลากหลายของการท่องเที่ยวรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม โดยส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว ทั้งในรูปแบบการจัดสหกรณ์การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวมากขึ้น
3. เร่งรัดมาตรการอำนวยความสะดวก สร้างความปลอดภัยและป้องกันการเอาเปรียบนักท่องเที่ยว รวมทั้งเร่งรัดการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของนักท่องเที่ยวอย่างจริงจัง
4. บริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยใช้กลยุทธ์การตลาด เพื่อเสริมสร้างกิจกรรมท่องเที่ยวทั้งระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศและยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชีย รวมถึงร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้ไทยเป็นประตูทางผ่านหลักของการท่องเที่ยวในภูมิภาคทั้งด้านการตลาด การขนส่ง และการบริหารจัดการ รวมถึงการขจัดปัญหาและอุปสรรคในการท่องเที่ยวด้วย
********************************************
ข้อมูล : ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--