1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60
(1) โครงการส่งเสริมสนับสนุนการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี ปี 2559/60 (กข.)
(2) โครงการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชที่หลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2560 (กสก.)
(3) โครงการสนับสนุนสินเชื่อให้กลุ่มชาวนาผู้ผลิตข้าวแบบแปลงใหญ่ ปี 2559/60 (ธ.ก.ส.)
(1) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงกระบือ (ปศ.)
(2) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ (ปศ.)
(3) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงแพะ (ปศ.)
(4) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการทำนาหญ้า (ปศ.)
(5) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น (กสก.)
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 ด้านการตลาด
(1) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (ธ.ก.ส.)
(2) โครงการสินเชื่อเกษตรกรเพื่อชะลอการขายข้าวเปลือก (ธ.ก.ส.)
(3) โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว (ธ.ก.ส.)
(4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก (พณ.)
3) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 ด้านการเงิน
(1) โครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 (ธ.ก.ส.)
(2) โครงการพักชำระหนี้ต้นเงินและลดดอกเบี้ยเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2559/60 (ธ.ก.ส.)
(3) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรรายย่อย (ธ.ก.ส.)
(4) โครงการประกันข้าวนาปี ปีการผลิต 2559 (ธ.ก.ส.)
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่เกษตรกรขายได้ยังคงลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์
ที่ผ่านมา แต่ราคามีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตฤดูกาลใหม่เริ่มออกสู่ตลาด ผู้ประกอบการมีความต้องการข้าวเพิ่มขึ้นจากที่ประเทศคู่ค้ามีคำสั่งซื้อเข้ามาเพื่อใช้ในช่วงปีใหม่
1.2 ราคา
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,373 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,955 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.26
ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 6,980 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,049 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.99
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 23,150 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,430 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.38
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 644 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,726 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 616 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,643 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.55
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 499 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,609 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 442 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,529 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.90
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 364 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,845 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 356 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,508 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.25
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 357 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,598 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 350 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,297 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.00
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 361 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,739 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 362 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,719 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.2890 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2559/60 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2559 ว่าจะมีผลผลิต 483.797 ล้านตันข้าวสาร (721.3 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจาก 472.105 ล้านตันข้าวสาร (703.8 ล้านตันข้าวเปลือก) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.48 จากปี 2558/59
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2559/60 ณ เดือนพฤศจิกายน 2559 ว่าผลผลิต ปี 2559/60 จะมี 483.797 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2558/59 ร้อยละ 2.48 การใช้ในประเทศจะมี 478.383 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.70 การส่งออก/นำเข้าจะมี 40.850 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.95 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 121.724 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.65
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย เมียนมาร์ กัมพูชา จีน อียิปต์ อียู เวียดนาม สหรัฐอเมริกา และไทย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล อินเดีย ปารากวัย และอุรุกวัย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ แองโกลา เบนิน จีน เฮติ อินโดนีเซีย อิรัก เคนย่า มาเลเซีย เม็กซิโก โมแซมบิค เนปาล ฟิลิปปินส์ เซเนกัล สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บราซิล ไอเวอรี่โคสต์ คิวบา อิหร่าน ไนจีเรีย และแอฟริกาใต้
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ภาวะราคาข้าวในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับลดลงเพื่อดึงความสนใจของผู้ซื้อ ท่ามกลางภาวะราคาข้าวของไทยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับเวียดนาม เนื่องจากช่วงนี้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมาก โดยราคาเอฟโอบี ข้าวขาว 5% ตันละ 347-350 ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนตัวลงจากตันละ 350 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงสัปดาห์ก่อน อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังคงแข่งขันกับประเทศคู่แข่งค่อนข้างลำบาก ประกอบกับผู้ซื้อจากแอฟริกาหันไปซื้อข้าวจากประเทศไทยและปากีสถานที่มีราคาถูกกว่า ซึ่งวงการค้าคาดว่าในปีนี้เวียดนามไม่น่าจะส่งออกได้เกิน 5 ล้านตัน ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ที่ส่งออกได้ถึง 6.58 ล้านตัน
มีรายงานว่า เร็วๆ นี้เจ้าหน้าที่หน่วยงาน AQSIQ ของจีน จะเข้าไปตรวจโรงงานของผู้ส่งออกข้าวของเวียดนาม ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงพิธีสารที่ทั้งสองฝ่ายลงนาม โดยระบุว่าบริษัทที่จะส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนได้จะต้องขึ้นทะเบียนและผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานของจีนก่อน
ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามหลายรายกำลังประสบกับปัญหาการส่งออกข้าว เนื่องจากกฎหมายควบคุมการส่งออกข้าว ฉบับที่ Decree 109/2010/ND-CP ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2553 กำหนดให้ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดหลายอย่าง มิเช่นนั้นจะไม่สามารถส่งออกข้าวได้ โดยข้อกำหนดที่สำคัญ เช่น จะต้องมีคลังสินค้าที่เก็บสต็อกข้าวเปลือกได้อย่างน้อย 5,000 ตัน และมีโรงสีที่มีกำลังการผลิตอย่างน้อย 10 ตันต่อชั่วโมง หลังจากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ทำให้ผู้ส่งออกข้าวบางรายต้องออกจากธุรกิจไป เพราะไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดนั้นได้ และมีบางรายที่ต้องย้ายบริษัทไปอยู่ต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ เป็นต้น ที่มา Oryza.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ประธานาธิบดี Joko Widodo ให้สัมภาษณ์ว่า ในปี 2559 ยังไม่มีแผนที่จะนำเข้าข้าว เพราะอุปทานข้าวในประเทศยังคงมีเพียงพอกับความต้องการบริโภค โดยสต็อกปัจจุบันมีประมาณ 1.98 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 92 เนื่องจากในปีนี้สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกมากขึ้น ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น ที่มา Oryza.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ (The Ministry of Commerce) ได้เตรียมจัดสรรงบประมาณ 15,000 ล้านจ๊าต เพื่อรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคาที่สมเหตุสมผล เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีรายได้คุ้มกับต้นทุนการเพาะปลูกข้าว หลังจากราคาข้าวเปลือกในประเทศปรับตัวลดลงมาก และแม้ว่ารัฐบาลจะอนุญาตให้มีการส่งออกข้าวได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป เป็นเวลา 3 เดือน แต่มาตรการดังกล่าวยังไม่เห็นผลมากนัก
ทั้งนี้ คณะกรรมการด้านการเกษตรเห็นชอบให้มีการรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรได้ในราคาที่เป็นธรรม โดยจะเริ่มรับซื้อในพื้นที่เขตนคร Yangon ในเขต Ayeyawady และเขต Bago ซึ่งหลังจากมีมาตรการนี้ราคาข้าวเปลือกเริ่มขยับขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยระดับราคาที่จะทำให้เกษตรกรเริ่มมีกำไรนั้น จะต้องเป็นราคาที่สูงกว่าระดับ 400,000 จ๊าตต่อ 100 baskets
สหพันธ์ข้าวเมียนมาร์ (The Myanmar Rice Federation) มีแผนที่จะส่งออกข้าวประมาณ 300,000 ตัน ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมกราคมปีหน้า โดยจะร่วมมือกับบริษัทสมาชิกในการส่งออกข้าว ซึ่งคาดว่าจะสร้างรายได้เข้าประเทศประมาณ 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่มา Oryza.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กระทรวงเกษตร (The Department of Agriculture; DA) รายงานว่า ในปี 2559 คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 17.91 ล้านตัน ซึ่งต่ำสุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนิโญ่ที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับผลผลิตปี 2558 ที่มีประมาณ 18.15 ล้านตัน ผลผลิตจะลดลงร้อยละ 1.3
สำหรับผลผลิตข้าวเปลือกในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2559 คาดว่าจะมีประมาณ 7.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่มา Oryza.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 21 - 27 พ.ย. 2559--