1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
. 1) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 ด้านการผลิต
(1) โครงการส่งเสริมสนับสนุนการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี ปี 2559/60 (กข.)
(2) โครงการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชที่หลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2560 (กสก.)
(3) โครงการสนับสนุนสินเชื่อให้กลุ่มชาวนาผู้ผลิตข้าวแบบแปลงใหญ่ ปี 2559/60 (ธ.ก.ส.)
(1) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงกระบือ (ปศ.)
(2) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ (ปศ.)
(3) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงแพะ (ปศ.)
(4) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการทำนาหญ้า (ปศ.)
(5) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น (กสก.)
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 ด้านการตลาด
(1) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (ธ.ก.ส.)
(2) โครงการสินเชื่อเกษตรกรเพื่อชะลอการขายข้าวเปลือก (ธ.ก.ส.)
(3) โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว (ธ.ก.ส.)
(4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก (พณ.)
3) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 ด้านการเงิน
(1) โครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 (ธ.ก.ส.)
(2) โครงการพักชำระหนี้ต้นเงินและลดดอกเบี้ยเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2559/60 (ธ.ก.ส.)
(3) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรรายย่อย (ธ.ก.ส.)
(4) โครงการประกันข้าวนาปี ปีการผลิต 2559 (ธ.ก.ส.)
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2560/61
มติที่ประชุม นบข. เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2560 เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 7 โครงการ ดังนี้
(1) โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี (กข.)
(2) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (กข.)
(3) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ : ข้าวอินทรีย์ (กข.)
(1) อบรม GMP/HACCP โรงสีติดดาว/4.0 นวัตกรรมข้าวและความรู้ด้านการตลาดและเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการโรงสี (คน.)
(2) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก (คน.)
(3) โครงการสินเชื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม (ธ.ก.ส.)
(4) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก (ธ.ก.ส.)
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากมีความต้องการซื้อจากต่างประเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
1.2 ราคา
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,869 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,670 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.06
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,430 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,416 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 24,550 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 24,090 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.90
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,870 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,210 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.39
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 793 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,758 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 19 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 439 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,813 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 455 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,342 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.51 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 529 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 415 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,003 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 427 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,398 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.81 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 395 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 458 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,454 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 473 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,949 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.17 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 495 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.7423 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ตลาดข้าวไทยขณะนี้เป็นขาขึ้น ซึ่งมีปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 27 มิถุนายน 2560 ไทยสามารถส่งออกข้าวได้ 5.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 คิดเป็นมูลค่า 87,787 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ซึ่งคาดว่าปีนี้ ไทยมีแนวโน้มจะส่งออกได้สูงถึง 11 ล้านตัน จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 10 ล้านตัน สูงกว่าที่เคยทำสถิติไว้เมื่อปี 2557 ที่ส่งออกได้ 10.97 ล้านตัน
สำหรับราคาข้าวไทยยังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และดีกว่าปีก่อนๆ โดยล่าสุดราคาส่งออกข้าวขาว 5% ตันละ 458 ดอลลาร์สหรัฐ สูงขึ้นจากปีก่อนที่ราคาตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐ ข้าวนึ่งราคาตันละ 476 ดอลลาร์สหรัฐ สูงขึ้นจากปีก่อนที่ราคาตันละ 460 ดอลลาร์สหรัฐ และข้าวหอมมะลิตันละ 778 ดอลลาร์สหรัฐ สูงขึ้นจากปีก่อนที่ราคาตันละ 700 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ราคาข้าวเปลือกในประเทศปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยข้าวเปลือกเจ้าตันละ 8,700-8,900 บาท และข้าวเปลือกหอมมะลิตันละ 10,000-11,000 บาท ปัจจัยที่ทำให้ตลาดข้าวไทยเป็นช่วงขาขึ้น เพราะรัฐบาลดำเนินนโยบายมาถูกทาง ทั้งการดูแลเกษตรกร การเร่งระบายข้าวในสต็อกที่จนถึงขณะนี้ระบายอีกแค่ 1 หรือ 2 คำสั่ง ก็จะไม่มีข้าวเหลือในสต็อกแล้ว ทำให้แรงกดดันต่อตลาดข้าวไทยหมดไป ดึงให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น
นอกจากนี้ หลายประเทศมีการติดต่อขอซื้อข้าวไทย ซึ่งถือเป็นปีที่ดีในด้านการค้าข้าว โดยตลาดสิงคโปร์ และฮ่องกงที่ไทยเคยถูกคู่แข่งแย่งส่วนแบ่งตลาดไปในช่วงที่รับจำนำข้าวราคาสูงและคุณภาพข้าวไทยไม่ดี แต่ปัจจุบันไทยสามารถทวงคืนส่วนแบ่งตลาดกลับมาได้ โดยเฉพาะตลาดฮ่องกงเพิ่มขึ้นร้อยละ 70 ประกอบกับประเทศที่เลิกซื้อข้าวอย่างอิรักและอิหร่านหันกลับมาซื้อข้าวจากไทย ขณะเดียวกันศรีลังกาและบังคลาเทศก็แจ้งความต้องการซื้อข้าวไทย
ซึ่งอยู่ระหว่างติดต่อเพื่อส่งคณะผู้แทนการค้าเข้ามาเจรจา ส่วนการเปิดประมูลข้าวของฟิลิปปินส์ ไทยพร้อมร่วมประมูล ขณะที่สัญญาข้าวรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) กับจีน 1 ล้านตัน จะเร่งเจรจารับมอบข้าวในส่วนที่เหลืออีก 500,000 ตันต่อไป
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
สมาคมอาหารเวียดนามคาดว่า การส่งออกข้าวในช่วงครึ่งหลังของปีจะดีกว่าช่วงครึ่งแรกของปีจากการที่ เวียดนามมีสัญญาส่งมอบข้าวแบบรัฐต่อรัฐ โดยขณะนี้เวียดนามส่งออกข้าวไปแล้วประมาณ 2.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
นายกสมาคมอาหาร ระบุว่า นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงปัจจุบันเวียดนามมีสัญญาส่งมอบข้าวแบบรัฐต่อรัฐแล้วประมาณ 880,000 ตัน และมีโอกาสสูงมากที่เวียดนามจะชนะการประมูลข้าวของฟิลิปปินส์จำนวน 250,000 ตัน ทั้งนี้ สมาคมฯ ระบุว่า ตัวเลขการส่งออกข้าวจนถึงประมาณปลายเดือนพฤษภาคมมีประมาณ 2.3 ล้านตัน มูลค่า 975 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 และร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยนายกสมาคมอาหารเวียดนาม คาดว่าในปีนี้เวียดนามจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 5.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ทางด้านกระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture and Rural Development) รายงานว่า ในช่วงครึ่งปีแรกเวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 2.8 ล้านตัน มูลค่ากว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 และร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา แต่ราคาส่งออกเฉลี่ย 445.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ประเทศจีนยังคงเป็นผู้นำเข้าข้าวอันดับ 1 โดยในช่วง 5 เดือนแรก เวียดนามส่งออกข้าวไปจีนประมาณ 1.1 ล้านตัน ส่วนใหญ่ผู้นำเข้าข้าวของจีนจะมาซื้อข้าวโดยตรงจากบริษัทในเวียดนามและนำเข้าผ่านทางแนวชายแดนทางตอนเหนือของเวียดนาม
ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์, Oryza.com, Riceonline.com และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ในช่วง 6 เดือนแรก (ตุลาคม-มีนาคม) ของปีงบประมาณ 2559/60 อินเดียส่งออกข้าวประมาณ 5.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับจำนวน 4.8 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการข้าวทั้งข้าว
บาสมาติและข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้คาดว่าในปี 2560/61 นี้อินเดียจะส่งออกได้ประมาณ 11 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับจำนวน 10.2 ล้านตัน ในปีที่ผ่านมา
ทางการรายงานความคืบหน้าของการเพาะปลูกข้าวในฤดูการผลิต Kharif (มิถุนายน-ธันวาคม) ณ วันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า มีพื้นที่เพาะปลูกแล้วประมาณ 24.33 ล้านไร่ ลดลงร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับจำนวน 24.42 ล้านไร่ ในช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา
ผู้ส่งออกข้าวอินเดีย ระบุว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งล่าสุดในบังคลาเทศและภัยแล้งที่เกิดขึ้นในศรีลังกา ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรของทั้งสองประเทศลดลง นำไปสู่ภาวะสินค้าเกษตรขาดตลาด ราคาสินค้าดังกล่าวจึงปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ปริมาณความต้องการนำเข้าข้าวจากอินเดียเพิ่มขึ้น แหล่งข่าวทางด้านการค้าเปิดเผยว่า จากเหตุอุทกภัยครั้งล่าสุด ทำให้บังคลาเทศต้องเร่งประมูลนำเข้าข้าวถึง 4 ครั้ง เป็นจำนวนถึง 200,000 ตัน ซึ่งประกอบไปด้วยข้าวขาวและข้าวนึ่ง และการประมูลครั้งต่อไปจะเริ่มขึ้นต้นเดือน
ด้านกรรมการผู้จัดการบริษัท Pattabhi Agro Pvt Ltd ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ในกากินาดา คาดว่าจะมีการนำเข้าข้าวจากทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้นถึง 200,000 ตันในปีนี้ ถึงแม้สองประเทศดังกล่าวจะไม่ใช้ผู้ซื้อรายใหญ่เมื่อเทียบกับประเทศในแอฟริกา แต่ความต้องการจากประเทศเพื่อนบ้านในปัจจุบันสามารถเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรของอินเดียในการปรับเพิ่มราคาสินค้าส่งออกของอินเดียได้
ทั้งนี้ราคาสินค้าส่งออกในหมวดดังกล่าวเพิ่มสูงถึงร้อยละ 15 นับตั้งแต่ต้นปี โดยเมื่อเปรียบเทียบกับราคา FOB ในเดือนมกราคมปีนี้ที่ตันละ 360-370 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 420-430 ดอลลาร์สหรัฐฯ
นอกจากนี้การแทรกแซงของรัฐบาลที่กำหนดราคาขั้นต่ำของสินค้าเกษตรกรให้สูงขึ้น (MSP) ประกอบกับการแข็งค่าของเงินสกุลรูปีเมื่อเทียบกับสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้แนวโน้มดีขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลกลางได้ปรับ MSP ของราคาข้าวเปลือกพันธุ์ทั่วไปเพิ่มขึ้นถึง 1,550 รูปีต่อหนึ่งร้อยกิโลกรัม จากเดิม 1,470 รูปี ขณะที่เงินสกุลรูปีแข็งค่าขึ้นร้อยละ 5-7 ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา จาก 68 รูปีต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ไปสู่ 64 รูปีต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าส่งออกไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าภายในประเทศ เนื่องจากข้าวที่ส่งออกไม่ใช่ข้าวที่คนอินเดียบริโภคมากนัก
ทั้งนี้ผลผลิตข้าวของอินเดียอยู่ที่ 109.15 ล้านตัน ในช่วงระหว่าง ปี 2559-2560 ทะลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 108.5 ล้านตัน และในปีนี้รัฐบาลกลางยังคงตั้งเป้าผลผลิตไว้ในระดับเดิม ทั้งนี้ในช่วงมรสุมปีเดียวกัน (2559-2560) รัฐบาลกลางสามารถจัดหาข้าวได้ถึง 38.49 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเป้าที่ระดับ 33.99 ล้านตัน อินเดียมีความสามารถที่จะรักษาศักยภาพในการเป็นผู้นำการส่งออกข้าว เนื่องจากประเทศคู่แข่งสำคัญ เช่น ไทยไม่มีข้าวในคลังสินค้า ขณะเดียวกันในปีที่ผ่านมาการส่งออกข้าวของอินเดียมีปริมาณมากกว่า 10 ล้าน ซึ่งประธานสมาคมผู้ส่งออกข้าวอินเดีย ระบุว่า การลดลงของข้าวในคลังสินค้าของไทยจะเป็นประโยชน์ต่ออินเดีย
ที่มา Oryza.com, Riceonline.com และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 3 - 9 ก.ค. 60 --