1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ รวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง จำนวน 8 โครงการ ดังนี้
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 เห็นชอบโครงการที่ (1) ถึง (3) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบโครงการที่ (4) เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 เห็นชอบโครงการที่ (5) และเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 เห็นชอบโครงการที่ (6)
(1) โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี (กข.)
(2) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่) (กข.)
(3) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (กข.)
(4) โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 (ธ.ก.ส.)
(5) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (กข.)
(6) โครงการปรับพื้นที่นาและลดรอบการปลูกข้าว ภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร(ด้านการผลิต) ปี 2560/61 จำนวน 3 โครงการ คือ
- โครงการปลูกพืชอาหารสัตว์ทดแทนนาข้าว (ปศ.)
- โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 (กสก.)
- โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561 (พด.)
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่เกษตรกรขายได้ ราคาลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตบางพื้นที่มีฝนตก ส่งผลให้คุณภาพข้าวลดลง
1.2 ราคา
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,430 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,641 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,259 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,283 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 30,150 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,483 บาท ราคาลดลงจากตันละ ละ 11,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 952 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,336 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 955 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,375 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 39 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 392 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,903 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 394 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,944 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 41 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 378 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,442 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 379 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,451 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 9 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 417 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,726 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 418 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,733 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 7 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.9158 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
สำนักงานการเกษตรของสหรัฐฯ ในกรุงเทพฯ รายงานราคาข้าวขาวของไทย ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากผู้ซื้อกำลังรอการเก็บเกี่ยวผลผลิตปี 2560/61 โดยราคาข้าวขาวเกรดบี 100% ของไทยอยู่ที่ 406 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลง 4 ดอลลาร์สหรัฐจากสัปดาห์ก่อน ราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ 410 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลง 3 ดอลลาร์สหรัฐจากสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาข้าวหอมมะลิไทยอยู่ที่ 925 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 จากสัปดาห์ก่อน สำหรับราคาข้าวเวียดนาม ข้าวขาวคุณภาพ 5% อยู่ที่ 387 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลง 8 ดอลลาร์สหรัฐจากสัปดาห์ก่อน
ราคาลดลงเนื่องจากยังไม่มีคำสั่งซื้อใหม่เข้ามา ประกอบกับการแข่งขันที่รุนแรงจากผู้ขายรายอื่นๆ ในภูมิภาค ปัจจุบันข้าวเวียดนามที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับข้าวไทย จะมีราคาต่ำกว่าเพียง 4-5 ดอลลาร์สหรัฐ แต่เวียดนามมักขายต่ำกว่าไทยในราคา 20-40 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
ที่มา : mekongoryza.com
สถิติของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนามระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 15 กันยายน 2560 เวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวรวมประมาณ 4.3 ล้านเฮคเตอร์ลดลงร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2559 โดยในช่วงฤดูหนาวของปี 2560 มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 1.6 ล้านเฮคเตอร์ ลดลงร้อยละ 1.3 (ภาคเหนือเพาะปลูกข้าวได้ประมาณ 1.1 ล้านเฮคเตอร์ ลดลงร้อยละ 1.0 และภาคใต้เพาะปลูกข้าวได้ประมาณ 435,500 เฮคเตอร์ ลดลงร้อยละ 1.9)
ในช่วงฤดูร้อน - ฤดูใบไม้ร่วงของปี2560 มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 2.1 ล้านเฮคเตอร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 (ภาคเหนือเพาะปลูกข้าวได้ประมาณ 170,000 เฮคเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 และ ภาคใต้เพาะปลูกข้าวได้ประมาณ 1.9 ล้านเฮคเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3) และในช่วงฤดูใบไม้ร่วง – ฤดูหนาวของปี 2560 มีพื้นที่เพาะปลูกข้าว ในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงประมาณ 629,900 เฮคเตอร์ ลดลงร้อยละ 3.3 ในช่วงเวลาเดียวกัน เวียดนามมีพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวในช่วงฤดูร้อน - ฤดูใบไม้ร่วงของปี 2560 ในภาคใต้ ของเวียดนาม รวมประมาณ 1.5 ล้านเฮคเตอร์ ลดลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2559
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560 ข้าวเปลือกที่รับซื้อจากเกษตรกรมีราคาประมาณ 0.236 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับวันที่ 15 สิงหาคม 2560
ราคาหน้าคลังสินค้าต่อกิโลกรัม ข้าวขาวมีราคา 0.334 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับวันที่ 15 สิงหาคม 2560 ข้าวหอมมะลิ(Jasmine) 5% มีราคา 0.460 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้าวหอม (Fragrance) มีราคา 0.482 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้าว KDM (Kow Dak Mali) มีราคา 0.502 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับราคาในวันที่ 15 สิงหาคม 2560
ในช่วงเวลาเดียวกัน ราคาขายปลีกในท้องตลาดต่อกิโลกรัม ข้าวเปลือกมีราคา 0.311 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้าวขาวมีราคา 0.430 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้าวหอมมะลิ(Jasmine) 5% 0.606 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้าวหอม(Fragrance) ราคา 0.617 ดอลลาร์สหรัฐฯ และข้าว KDM (Kow Dak Mali) มีราคา 0.661 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับราคาในวันที่ 15 สิงหาคม 2560
จากสถิติของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม ในช่วงมกราคม – กันยายนปี 2560 เวียดนามส่งออกข้าวได้ปริมาณรวม 4.57 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2559
โดยมี มูลค่าการส่งออก (ราคา FOB) รวม 2.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2559 จากสถิติของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม ตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญ 5 อันดับแรกของ เวียดนามในช่วง 8 เดือนแรกของปี2560 ได้แก่ จีน (ร้อยละ 38.8) ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 9.3) มาเลเชีย (ร้อยละ 7.8) กานา (ร้อยละ 6.5) และบังคลาเทศ (ร้อยละ 5.3)
VFA คาดการณ์ว่าในปี 2560 เวียดนามสามารถส่งออกข้าวประมาณ 5.6 ล้านตัน โดย 1.8 ล้านตัน จะได้จัดส่งในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2560 ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2558 สมาคมอาหารเวียดนาม กำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำของข้าวขาว 25% (ราคา FOB) คือ 340 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน
ทั้งนี้ รัฐบาลเวียดนามได้ออกระเบียบเลขที่ 1137/Q?-TTg ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2560 ที่อนุมัติโครงการ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกของเวียดนามจนถึงปี2563 และวิสัยทัศน์จนถึงปี2573 โดยสินค้าที่สำคัญที่มีการส่งเสริมให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ในส่วนของสินค้าเกษตร ได้แก่
ข้าว กาแฟ ยางพารา สัตว์น้ำ พริกไทย เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ ผักและผลไม้ ชา และน้ำผึ้ง โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงการผลิตและการส่งออก ซึ่งในส่วนของเปลี่ยนแปลงการผลิตนั้น จะมีการเปลี่ยน จากการปลูกข้าวในที่นาขนาดเล็กเป็นการปลูกข้าวในพื้นที่ขนาดใหญ่ การจัดการคุณภาพตั้งแต่ขบวนการผลิตไป จนถึงการขนส่ง การแปรรูป การเก็บรักษา และการบริโภค ส่วนการเปลี่ยนแปลงการส่งออกจะเปลี่ยนจากการ ส่งออกผ่านตัวกลางเป็นการส่งออกโดยตรง และเปลี่ยนจากการส่งออกแบบ FOB มาเป็นการส่งออกแบบ CIF
นอกจากนี้จะมีการเพิ่มสัดส่วนสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูง ซึ่งเปลี่ยนจากการส่งออกสินค้าแบบวัตถุดิบเป็น ส่งออกสินค้าที่ผ่านการแปรรูปแล้ว โดยการส่งเสริมคุณภาพของสินค้า การอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ ต่างชาติเข้าร่วมภาคเกษตร การป่าไม้และประมง การรักษาตลาดนำเข้าเดิมและมองหาตลาดนำเข้าใหม่ การส่งเสริมการสร้างแบรนด์ของเวียดนาม แบรนด์ของสินค้าส่งออก และแบรนด์ของผู้ประกอบการ และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน อำนวยความสะดวก และลดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการ
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน (21 มีนาคม-22 กันยายน) อิหร่านนำเข้าข้าว (semi and wholly milled rice) แล้วประมาณ 1.05 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 996 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 84.4 และร้อยละ 108.4 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยการนำเข้าข้าวคิดเป็นสัดส่วนในเชิงปริมาณและมูลค่าร้อยละ 6 และร้อยละ 4.2 ของการนำเข้าทั้งหมดของอิหร่าน ตามลำดับ
ทั้งนี้ อิหร่านมักจะมีการห้ามนำเข้าข้าวในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวภายในประเทศเพื่อปกป้องเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพของราคาข้าวในประเทศ โดยการนำเข้าข้าวจะเริ่มทำได้อีกครั้งหลังวันที่ 21 พฤศจิกายนนี้
กระทรวงเกษตรคาดว่าในปีนี้อิหร่านจะมีผลผลิตข้าวประมาณ 2.3 ล้านตัน ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกหลักจะอยู่ทางภาคเหนือของประเทศได้แก่ Gilan และ Mazandaran ซึ่งอยู่ติดกับทะเลแคสเปีนยน (Caspian Sea) โดยในแต่ละปีอิหร่านมีความต้องการบริโภคข้าวประมาณ 3 ล้านตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 23 - 29 ต.ค. 60 --