สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 ยืนยันมันสำปะหลังยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเกษตรกรในภาคอีสาน ย้ำเป็นพืชที่ปลูกง่ายและเจริญเติบโตได้ดีแม้ในสภาพดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาด้านราคาหัวมันสดที่ไม่แน่นอน แต่ยังสามารถนำต้นและใบไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังได้เป็นอย่างดี
นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 (สศข.3) จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เดิมเกษตรกรปลูกมันสำปะหลังเพื่อการผลิตหัว ขายในรูปหัวมันสด หรือมันเส้น เท่านั้น ต้นและใบจะทิ้งไป แต่ปัจจุบัน ต้นและใบมันสำปะหลังยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
ยกตัวอย่างเช่น ใช้ต้นและใบมาตากแดดหรือเรียกว่า มันเฮย์ นำไปใช้เป็นอาหารโปรตีนเสริมให้โคนม สามารถเพิ่มปริมาณน้ำนม เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต ต่อมาคือ ใช้ใบมันสำปะหลัง เลี้ยงไหมอีรี่ ที่สามารถผลิตเส้นใยที่มีความเหนียว มันวาว โดยผลผลิตหัวมันสำปะหลังไม่ลด สุดท้าย หัวมันสำปะหลังยังนำใปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐในการส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานทดแทน
แต่จากสถานการณ์การผลิตมันสำปะหลัง ในปี 2550/51 ของจังหวัดอุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู เลย สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากความผันผวนของราคาในปีที่ผ่านมา คือ ปี 2549 ราคาหัวมันสดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.23 บาท ลดลงจากปี 2548 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.30 บาท ทำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า ได้แก่ ยางพารา ยูคาลิปตัส คาดว่าในปี 2550/51 จะมีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 5.5 แสนไร่ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ลดลง 16,868 ไร่ หรือลดลงร้อยละ 3 สำหรับผลผลิตเฉลี่ย 3 ตันต่อไร่ ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ทำให้ผลผลิตทั้งหมดในภาพรวมลดลง ซึ่งถ้าหากเกษตรกรลดเนื้อที่ปลูกมันสำปะหลัง แล้วไปขยายปลูกพืชอื่นทดแทน อาจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมแปรรูป และอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลได้
นายสุรศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า มันสำปะหลังสามารถสร้างมูลค่าได้ตั้งแต่หัวมัน ลำต้น และใบ นับว่าเป็นโอกาสที่ดีของเกษตรกร ที่จะใช้ประโยชน์จากมันสำปะหลังให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรในภาคอีสานมีรายได้และความเป็นอยู่ดีขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 (สศข.3) จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เดิมเกษตรกรปลูกมันสำปะหลังเพื่อการผลิตหัว ขายในรูปหัวมันสด หรือมันเส้น เท่านั้น ต้นและใบจะทิ้งไป แต่ปัจจุบัน ต้นและใบมันสำปะหลังยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
ยกตัวอย่างเช่น ใช้ต้นและใบมาตากแดดหรือเรียกว่า มันเฮย์ นำไปใช้เป็นอาหารโปรตีนเสริมให้โคนม สามารถเพิ่มปริมาณน้ำนม เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต ต่อมาคือ ใช้ใบมันสำปะหลัง เลี้ยงไหมอีรี่ ที่สามารถผลิตเส้นใยที่มีความเหนียว มันวาว โดยผลผลิตหัวมันสำปะหลังไม่ลด สุดท้าย หัวมันสำปะหลังยังนำใปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐในการส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานทดแทน
แต่จากสถานการณ์การผลิตมันสำปะหลัง ในปี 2550/51 ของจังหวัดอุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู เลย สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากความผันผวนของราคาในปีที่ผ่านมา คือ ปี 2549 ราคาหัวมันสดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.23 บาท ลดลงจากปี 2548 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.30 บาท ทำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า ได้แก่ ยางพารา ยูคาลิปตัส คาดว่าในปี 2550/51 จะมีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 5.5 แสนไร่ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ลดลง 16,868 ไร่ หรือลดลงร้อยละ 3 สำหรับผลผลิตเฉลี่ย 3 ตันต่อไร่ ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ทำให้ผลผลิตทั้งหมดในภาพรวมลดลง ซึ่งถ้าหากเกษตรกรลดเนื้อที่ปลูกมันสำปะหลัง แล้วไปขยายปลูกพืชอื่นทดแทน อาจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมแปรรูป และอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลได้
นายสุรศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า มันสำปะหลังสามารถสร้างมูลค่าได้ตั้งแต่หัวมัน ลำต้น และใบ นับว่าเป็นโอกาสที่ดีของเกษตรกร ที่จะใช้ประโยชน์จากมันสำปะหลังให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรในภาคอีสานมีรายได้และความเป็นอยู่ดีขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-