1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
(1) ด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 และวันที่ 12ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี 2) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่) 3) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์4) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 5) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 25616) โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 7) โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561และ 8) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
(2) ด้านการตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร 2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร 3) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี และ 4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่เกษตรกรขายได้ สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยว และตลาดยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง
1.2 ราคา
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,354 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,103 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.78
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,709 ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,674 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,610 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 32,850 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.31
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,930 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,510 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.64
ข้าวหอมมะลิไทย100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,138 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,613 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,135 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,503 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 110 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 428 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,394 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 443 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,857 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.39 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 463 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,924 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 424 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,263 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.59 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 339 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 437 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,675 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 446 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,951 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.02 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 276 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.2940 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
สภาองค์การอาหารแห่งชาติ (the NFA Council) ได้พิจารณาอนุมัติให้องค์การอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) จัดการประมูลซื้อข้าวจากต่างประเทศ (open international tender) โดยซื้อจากบริษัทเอกชนของต่างประเทศ (government-to-private sector G-2-P) จำนวน 250,000 ตัน และคาดว่าจะมีการ ส่งมอบภายในเดือนมิถุนายนนี้ ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงเดือนที่อุปทานข้าวในประเทศจะมีปริมาณลดลง (lean season) ซึ่งตามปกติจะอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนของทุกปี
ก่อนหน้านี้ ผู้บริหารของสภาองค์การอาหารแห่งชาติ(the NFA Council) ได้ระบุว่า ขณะนี้ สต็อกข้าวของ ประเทศมีอยู่ประมาณ 3.8 ล้านตัน ซึ่งเพียงพอสำหรับบริโภคประมาณ 121 วัน ขณะที่กระทรวงเกษตร (Department of Agriculture; DA) คาดการณ์ว่า เมื่อสิ้นสุดไตรมาสแรกของปีนี้ สต็อกข้าวของประเทศจะมี ประมาณ 3 ล้านตัน ซึ่งเพียงพอสำหรับบริโภคประมาณ 96 วัน (คำนวณความต้องการบริโภคภายในประเทศวันละ 31,450 ตัน)
สำหรับการนำเข้าข้าวภายใต้ระบบ MAV ซึ่งรัฐบาลจัดสรรโควตาให้เอกชนนำเข้านั้น มีจำนวน 728,475 ตัน โดยกำหนดให้นำเข้ารอบแรกภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ และรอบที่ 2 ภายในวันที่ 31 สิงหาคม ซึ่งขณะนี้ มีการส่งมอบข้าวแล้วประมาณ 221,457 ตัน
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (the Philippine Statistics Authority; PSA) รายงานว่า สต็อกข้าว ณ วันที่ 1 มกราคม 2561 มีจำนวนประมาณ 2.289 ล้านตัน ซึ่งเพียงพอสำหรับบริโภค 67 วัน (คำนวณจากความต้องการบริโภควันละประมาณ 34,173 ตัน) น้อยกว่าระดับที่รัฐบาลกำหนดไว้ที่ 90 วัน โดยปริมาณสต็อกข้าวลดลงร้อยละ 19.64 เมื่อเทียบกับจำนวน 2.849 ล้านตันในเดือนธันวาคม 2560 และลดลงร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับจำนวน 2.765 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปี 2560
ทั้งนี้ สต็อกในคลังขององค์การอาหารแห่งชาติ (The National Food Authority; NFA) มีจำนวนประมาณ 0.107 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 80.48 เมื่อเทียบกับจำนวน 0.547 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.67 ของสต็อกข้าวทั้งหมด และเพียงพอสำหรับการบริโภคเพียง 3 วัน) ซึ่งเป็นข้าวที่นำเข้าประมาณร้อยละ 0.92 ของปริมาณทั้งหมด โดยสต็อกข้าวของ NFA ลดลงจากเดือนธันวาคม 2560 ที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 31.77
ขณะที่สต็อกในคลังของเอกชน (Commercial warehouses) มีจำนวนประมาณ 0.857 ล้านตัน ลดลง ประมาณร้อยละ 9.57 เมื่อเทียบกับจำนวน 0.948 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.44 ของ สต็อกข้าวทั้งหมด และเพียงพอสำหรับการบริโภค 25 วัน) และลดลงจากเดือนธันวาคม 2560 ที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 18.87 ส่วนสต็อกในภาคครัวเรือน (Household stocks) มีจำนวนประมาณ 1.326 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับจำนวน 1.270 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 57.89 ของสต็อกข้าวทั้งหมด และเพียงพอสำหรับการบริโภค 39 วัน) แต่ลดลงจากเดือนธันวาคม 2560 ที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 19
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงของญี่ปุ่น (Ministry of Agriculture, Forests and Fisheries; MAFF) ประกาศผลการประมูลนำเข้าข้าวแบบ SBS (Simultaneous-Buy and Sell tender) ครั้งที่ 4 ปีงบประมาณ 2560 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งกำหนดจะซื้อข้าวเต็มเมล็ดจำนวน 23,367 ตัน และปลายข้าวจำนวน 7,764 ตัน โดยกำหนดส่งมอบภายในวันที่ 15 สิงหาคมนี้ ปรากกฎว่ามีการตกลงซื้อข้าวได้เพียง 10,104 ตัน ประกอบด้วยข้าวเต็มเมล็ด 6,044 ตัน และปลายข้าว 4,060 ตัน โดยในส่วนของข้าวจากไทยนั้น มีการประมูลข้าวขาวเมล็ดยาวได้จำนวน 292 ตัน และปลายข้าวขาวเมล็ดยาวจำนวน 160 ตัน
นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ จะเปิดการประมูลนำเข้าข้าวแบบ SBS (Simultaneous-Buy and Sell tender) ครั้งที่ 5 ปีงบประมาณ 2560 ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 โดยกำหนดจะซื้อข้าวประมาณ 14,898 ตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ราคาข้าวปรับลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากการที่ค่าเงินรูปีเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯปรับตัวอ่อนค่าลง หลังจากที่ขึ้นไปแตะระดับที่แข็งค่าสูงสุดในรอบ 32 เดือน ประกอบกับความต้องการข้าวจากต่างประเทศเริ่มลดลง และยังไม่มี คำสั่งซื้อใหม่เข้ามากระตุ้นตลาด โดยข้าวนึ่ง 5% ราคาอยู่ที่ 432-436 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลง 15 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับราคา 447-451 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา (ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2554 ที่ในปีนั้นอินเดียยกเลิกการห้ามส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติหลังจากห้ามส่งออกถึง 4 ปี)
ขณะที่การส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติในช่วง 9 เดือนของปีงบประมาณ 2560/61 มีจำนวนประมาณ 6.34 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 39.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดหลักยังคงเป็นประเทศเบนินและบังคลาเทศ
ทางการายงานว่า พื้นที่เพาะปลูกข้าวฤดูการผลิต Rabi ในปีการผลิต 2560/61 (พฤศจิกายน 2560 –พฤษภาคม 2561) มีประมาณ 19.9 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีประมาณ 17.07 ล้านไร่
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 9 - 15 กุมภาพันธ์ 61 --