ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 และวันที่ 12ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี 2) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่) 3) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์4) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 5) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 25616) โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 7) โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561และ 8) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
(2) ด้านการตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร 2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร 3) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี และ 4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่เกษตรกรขายได้ สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการข้าวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงเนื่องจากอยู่ในช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยว
1.2 ราคา
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,572 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,354 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,515 ราคาลดลงจากตันละ 7,709 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.51
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,810 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 33,610 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,690 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,930 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.01
100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,132 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,286 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,138 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,613 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.52 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 327 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,874 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 428 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,394 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.50 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 520 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 401 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,500 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,924 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.90 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 424 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 423 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,185 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 437 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,675 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.20 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 490 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.1711 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2560/61 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ว่าจะมีผลผลิต 484.331 ล้านตันข้าวสาร (722.6 ล้านตันข้าวเปลือก) ลดลงจาก 486.783 ล้านตันข้าวสาร (726.5 ล้านตันข้าวเปลือก) หรือลดลงร้อยละ 0.50 จากปี 2559/60
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2560/61 ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2561 ว่าผลผลิต ปี 2560/61 จะมี 484.331 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2559/60 ร้อยละ 0.50 การใช้ในประเทศจะมี 480.778 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.29 การส่งออก/นำเข้าจะมี 47.357 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.40 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 140.794 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.59
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล เมียนมาร์ กัมพูชา จีน กายานา อินเดีย ปากีสถาน ปารากวัย และเวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อียู รัสเซีย อุรุกวัย สหรัฐอเมริกา และไทย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ แองโกลา คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ คิวบา อียู กินี อินโดนีเซีย อิรัก เคนย่า เนปาล ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล และสหรัฐอาหรับเอมิเรส ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บังคลาเทศ บราซิล อิหร่าน มาเลเซีย เม็กซิโก โมแซมบิค แอฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังกลาเทศ จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย ญี่ปุ่น ไทย และสหรัฐอเมริกา
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์) เปิดเผยว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไปฮ่องกงในปริมาณสูงถึง 2.06 แสนตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.18 จากปี 2559 ที่ส่งออกปริมาณ 1.87 แสนตัน นับเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี จากที่เคยทำได้ 2.02 แสนตัน ในปี 2550 เป็นผลจากความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน
ทั้งระบบ และที่สำคัญคือ นโยบายรัฐบาลที่ช่วยพยุงราคาข้าวให้มีเสถียรภาพสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ซื้อ อีกทั้งการขยายฐานการตลาดข้าวชนิดใหม่ๆ ทั้งข้าวออร์แกนิค ข้าวไรซ์เบอรี่ ส่งผลให้ยอดการส่งออกข้าวไปยังฮ่องกงเติบโตต่อเนื่อง 4 ปี ทำให้ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในฮ่องกงร้อยละ 65 รองจากสหรัฐฯ และจีน
ปี 2561 แม้ว่าราคาข้าวหอมมะลิไทยยังอยู่ในระดับสูงกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐ/ตัน แต่ความต้องการยังมีอย่างต่อเนื่อง เพราะตลาดฮ่องกงของข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดี มีความหอม จึงคาดว่าปีนี้จะส่งออกข้าวไปฮ่องกงเพิ่มขึ้นเป็น 2.15 แสนตัน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร) เปิดเผยว่า ไทยเตรียมเข้าร่วมประมูลขายข้าวขาวปริมาณ 2.5 แสนตัน ซึ่งหน่วยงานองค์การอาหารแห่งชาติ (NFA) ฟิลิปปินส์ จะเปิดประมูลช่วงเดือนมีนาคม 2561 หากไทยได้คำสั่งซื้อข้าวจากฟิลิปปินส์จะเป็นผลดีต่อราคาผลผลิตข้าวนาปรัง ปี 2561 ที่จะทยอยออกตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป
สำหรับการส่งออกข้าวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 6 กุมภาพันธ์ 2561 ส่งออกข้าวได้ 1 ล้านตัน สูงสุดเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยเป็นข้าวขาว 7.7 แสนตัน ราคาส่งออก 422 – 470 เหรียญสหรัฐ/ตัน คิดเป็นราคาข้าวเปลือก 7,558 – 8,200 บาท/ตัน
โดยหลังจากนี้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งส่งเสริมการผลิตข้าวขาวพื้นนิ่ม ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศ จีน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จะขายได้ราคาดีกว่าข้าวขาวพื้นแข็งที่ขายปกติประมาณ 50 – 70 เหรียญสหรัฐ/ตัน ด้านการส่งออกข้าวชนิดอื่นๆ ของไทย ได้แก่ ข้าวหอมมะลิไทย และข้าวคุณลักษณะพิเศษ เช่น ข้าวอินทรีย์ (organic) ข้าวสีชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นข้าวคุณภาพสูง ทำให้สามารถจำหน่ายได้ในราคาสูงขึ้น
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ในระดับทรงตัว เนื่องจากเข้าสู่ช่วงเทศกาลตรุษ Tet ของเวียดนาม (the Lunar New Year) ที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายวันในช่วงวันที่ 14-20 กุมภาพันธ์นี้ โดยราคาเอฟโอบีข้าวขาว 5% อยู่ที่ประมาณ 420-425 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า ในเดือนธันวาคม 2560 เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 361,410 ตัน ลดลงร้อยละ 4.57 เมื่อเทียบกับจำนวน 378,723 ตัน ในพฤศจิกายน 2560 และลดลงร้อยละ 16.49 เมื่อเทียบกับจำนวน 432,784 ตัน ในช่วงเดียวกันของปี 2559
โดยตลาดส่งออกที่สำคัญในเดือนธันวาคม 2560 ประกอบด้วย ตลาดเอเชียจำนวน 287,541 ตัน ตลาดแอฟริกาจำนวน 35,427 ตัน ตลาดอเมริกาจำนวน 32,100 ตัน ตลาดยุโรปและเครือรัฐเอกราช (Europe and CIS countries) จำนวน 2,584 ตัน และตลาดออสเตรเลียจำนวน 3,658 ตัน ทั้งนี้ ในเดือนธันวาคม 2560 เวียดนามส่งออกข้าวขาว 5% จำนวน 102,783 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 665 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 6,177 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 1,015 ตัน ปลายข้าวขาว 100% จำนวน 19,011 ตัน ข้าวหอม (Jasmine rice) 132,077 ตัน ข้าวเหนียว 76,687 ตัน และข้าวชนิดอื่นๆ จำนวน 22,995 ตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เมียนมาร์
สหพันธ์ข้าวของเมียนมาร์ (the Myanmar Rice Federation; MRF) ระบุว่า ในปีงบประมาณปัจจุบัน เมียนมาร์ส่งออกข้าวไปแล้วประมาณ 3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ส่งออกได้ประมาณ 1.8 ล้านตัน ซึ่งถือเป็นสถิติส่งออกมากที่สุดในรอบ 60 ปี
กระทรวงพาณิชย์ (the Ministry of Commerce) รายงานว่า ในปีงบประมาณปัจจุบันนี้ เมียนมาร์ส่งออกข้าวไปยัง 62 ประเทศ โดยเป็นประเทศรายใหม่ประมาณ 22 ราย โดยที่ประเทศเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ประกอบด้วย จีน บังคลาเทศ ประเทศในแถบแอฟริกาตะวันตก ศรีลังกา เซเนกัล อาฟกานิสถาน และโปแลนด์เป็นต้น ซึ่งตลาดแอฟริกาถือเป็นตลาดใหญ่ของเมียนมาร์โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของการส่งออกทั้งหมด ซึ่งเมียนมาร์ส่งออกข้าวคุณภาพต่ำและปลายข้าวไปยังประเทศเหล่านี้ขณะที่ข้าวคุณภาพสูงจะส่งไปยังประเทศในสหภาพยุโรป
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 16 - 22 กุมภาพันธ์ 61 --