ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ยางพารา

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 19, 2018 15:59 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 46.65 บาท/กิโลกรัม

ยางพารา

1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ

ภาพรวมราคายางพาราที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการซื้อภายในประเทศ และต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีนหลังจากชะลอการซื้อยางในช่วงวันตรุษจีนที่ผ่านมา รวมทั้งปริมาณผลผลิตยางออกสู่ตลาดน้อยเนื่องจากอยู่ในช่วงผลัดใบ ส่งผลให้ราคายางพาราปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ภาพรวมราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนเมษายน 2561 ปรับตัวลดลง ทางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ นายมิจิโนบุ ซึงาตะ เจ้าหน้าที่บริหาร โตโยตา มอเตอร์ คอร์พอเรชัน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ปี 2560 อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยขยายตัวร้อยละ 13.3 เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ผลักดันให้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศไทยขยายตัวร้อยละ 3.9 ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ไทยเติบโตครั้งแรกในรอบ 4 ปี มีปริมาณจำหน่ายรวมอยู่ที่ 870,748 คัน แบ่งเป็น รถยนต์นั่ง 345,501 คัน ขยายตัวร้อยละ 23.5 รถเพื่อการพาณิชย์ 525,247 คัน ขยายตัวร้อยละ 7.4 รถพิคอัพ 1 ตัน (รวมรถพิคอัพดัดแปลง) 424,282 คัน ขยายตัวร้อยละ 7.7 และรถพิคอัพ 1 ตัน (ไม่รวมรถพิคอัพดัดแปลง) 364,706 คัน ขยายตัวร้อยละ 9.4 ในส่วนของแนวโน้มตลาดรถยนต์ปี 2561 มีปัจจัยบวกเพิ่มขึ้นจากการเติบโตของ GDP ที่ร้อยละ 3.9 รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐ และภาคเอกชน ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีส่วนในการกระตุ้นตลาดให้เติบโต และการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่จากหลายค่ายรถยนต์ต่างๆ ดังนั้นเราคาดการณ์ว่าตลาดรถยนต์โดยรวมในประเทศปี 2561 จะอยู่ในระดับ 900,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 3.4

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.52 บาท ลดลงจาก 45.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.35 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.76

2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.02 บาท ลดลงจาก 45.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.35 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.77

3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.52 บาท ลดลงจาก 44.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.35 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.78

4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.72 บาท ลดลงจาก 19.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.17 บาท หรือลดลงร้อยละ 5.88

5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.17 บาท ลดลงจาก 16.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.79 บาท หรือลดลงร้อยละ 4.66

6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.48 บาท เพิ่มขึ้นจาก 43.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.57 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.30

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนเมษายน 2561

ณ ท่าเรือกรุงเทพ

1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.00 บาท ลดลงจาก 56.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.16

2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.85 บาท ลดลงจาก 54.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.16

3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.88 บาท ลดลงจาก 47.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.14 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.30

4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.83 บาท เพิ่มขึ้นจาก 37.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.98 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.59

ณ ท่าเรือสงขลา

1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.75 บาท ลดลงจาก 55.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.16

2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.60 บาท ลดลงจาก 54.69 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.16

3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.63 บาท ลดลงจาก 46.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.14 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.30

4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.58 บาท เพิ่มขึ้นจาก 37.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.98 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.61

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ

ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ปรับตัวลดลง ขณะที่ตลาดโตเกียวปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางด้านอุตสาหกรรมยางล้อ จากการรายงานของ Report Insights ได้รายงานว่า ตลาดยางล้อรถแทรกเตอร์ทั่วโลก คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีในช่วงปี 2559 - 2568 ร้อยละ 5.06 และในปี 2560 ความต้องการยางล้อรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตรจะขยายตัวไม่มาก โดยส่วนใหญ่เป็นเพราะการเติบโตของตลาดยางอะไหล่ ความต้องการยางล้อสอดคล้องอย่างมากกับตลาดรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตรทั่วโลก นอกจากนี้ การใช้เครื่องจักรในการเกษตรมากขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดีย จีน ไทย และในทวีปแอฟริกา ก็กำลังเพิ่มการจำหน่ายรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งก็เป็นการเพิ่มความต้องการยางล้อรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตรเช่นกัน ความต้องการของยางล้ออะไหล่นับเป็นสาขาที่ครองตลาดยางล้อรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร เพราะจำนวนรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตรที่จดทะเบียน ยังต่ำกว่าจำนวนที่ใช้อยู่ ยางล้อเรเดียลใหม่กว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่ายางล้อผ้าใบ ซึ่งความต้องการยางล้อเรเดียล คาดว่าจะมาจากประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ยุโรปและอเมริกาเหนือ ที่ซึ่งความต้องการยางล้อที่ใช้ในทางเทคนิคที่นำสมัยมีสูง ความต้องการรถแทรกเตอร์แรงสูงในประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะในยุโรป และความต้องการรถแรงสูงที่เพิ่มขึ้นในละตินอเมริกา โดยเฉพาะในบราซิล และอาร์เจนตินา จะเป็นการเพิ่มความต้องการยางล้อรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในทางการเกษตร ดังนั้น รถแรงสูงจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนตลาด

ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3

ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 174.74 เซนต์สหรัฐฯ (54.17 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 174.26 เซนต์สหรัฐฯ (54.26 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.48 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.28

ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 186.26 เยน (53.78 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 185.88 เยน (54.19 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.38 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.20

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 9 - 15 มี.ค. 61 --


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ