สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 25 - 31 พ.ค. 61
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2560/61
มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้
- โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี
- โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่)
- โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
- โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561และ
- โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
- โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
- โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี
- โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560
1.2 ราคา
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,661 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,531 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,138 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,094 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 36,150 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 35,870 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,270 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40,338 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,225 ดอลลาร์สหรัฐฯ (39,040 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.67 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,298 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 449 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,261 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,341 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 80 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,817 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 436 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,895 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 78 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 433 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,753 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 434 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,831 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 78 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.7621
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย กล่าวว่า มีโอกาสเป็นไปได้ที่ราคาข้าวถุงหอมมะลิจะขยับขึ้นไปถึง 300 บาท/ถุง ผลพวงจากเวลานี้ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิได้ขยับราคาขึ้นไปสูงถึง 1.8 หมื่นบาทต่อตัน ส่งผลให้ข้าวเปลือกหอมมะลิที่สีแปรเป็นข้าวสารแล้วมีต้นทุนที่สูงขึ้น โดยโรงสีแจ้งราคา ณ ปัจจุบัน (24 พฤษภาคม 2561) ข้าวสารหอมมะลิราคา 37 บาท/กิโลกรัม หรือ 3.7 หมื่นบาท/ตัน ทำให้ผู้ประกอบการข้าวถุงมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากปลายปีที่ผ่านมาราคาอยู่ที่ 25-27 บาท/กิโลกรัม หรือ 2.5-2.7 หมื่นบาท/ตัน ทำให้เวลานี้ผู้ประกอบการเริ่มทยอยขอปรับราคาข้าวหน้าถุงไปยังกรมการค้าภายใน
“เมื่อปีที่แล้วราคาข้าวถุงหอมมะลิโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 200 บาทบวกลบ/ถุง 5 กิโลกรัม บางรายที่ทำโปรโมชั่นจะอยู่ที่ 180-190 บาท/ถุง แต่ปีนี้ราคาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 230 บาท/ถุง บางราย 235-250 บาท/ถุง ขึ้นอยู่กับต้นทุนและคุณภาพข้าวของแต่ละราย แต่โดยภาพรวมขึ้นมาประมาณ 30 บาท/ถุง หรือร้อยละ 15 หากคิดเป็นกิโลกรัมเฉลี่ยที่ 6 บาท/กิโลกรัม ซึ่งถือว่าขึ้นมาไม่สูงมากเมื่อเทียบกับต้นทุนข้าวสารหอมมะลิที่ปรับขึ้นมากกว่าร้อยละ 30 ที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับ”
อย่างไรก็ตาม นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย ระบุว่า ผู้ประกอบการยังช่วยกันตรึงราคาโดยขยับขึ้นไม่มากเท่าต้นทุน เพราะด้านหนึ่งธุรกิจข้าวถุงมีการแข่งขันสูง มีผู้เล่นในตลาดเป็นร้อยแบรนด์ หากขึ้นราคาสูงมากกว่ารายอื่นจะเสียส่วนแบ่งตลาดและลูกค้า แต่ด้านหนึ่งคงลดการทำโปรโมชั่นลง เพื่อเพิ่มรายได้จากการขายมากขึ้น สำหรับราคาข้าวถุงที่สูงขึ้นดังกล่าว หากย้อนที่มาที่ไปมีส่วนสำคัญจากผลผลิตข้าวเปลือกหอมมะลิปีการผลิต 2560/61 ซึ่งเก็บเกี่ยวข่วงพฤศจิกายน-ธันวาคม 2560 ซึ่งโดยปกติแต่ละปีจะมีผลผลิตประมาณ 7-8 ล้านตันข้าวเปลือก (ประมาณ 2.8-3.2 ล้านตัน) แต่จากผลกระทบน้ำท่วมส่วนหนึ่ง มีโรคแมลง และข้าวไม่ติดดอก คาดผลผลิตจะลดลงไปร้อยละ 20-30 ขณะที่ความต้องการข้าวหอมมะลิในตลาดมีมาก ทั้งเพื่อผลิตข้าวถุงและเพื่อส่งออก ทำให้ราคาข้าวเปลือกและข้าวสารหอมมะลิปรับตัวสูงขึ้นมาก ไม่ใช่แค่ข้าวถุงหอมมะลิที่มีการปรับราคา ข้าวขาว ข้าวหอมปทุมธานีก็มีการปรับราคาขึ้นตาม แต่ไม่มากเท่าข้าวหอมมะลิ เพราะข้าวชนิดอื่นในตลาดยังมีมากกว่าข้าวหอมมะลิ สำหรับโอกาสที่ข้าวถุงหอมมะลิจะขึ้นไปถึง 300 บาท/ถุงหรือไม่ ยังบอกไม่ได้ แต่มีโอกาสเป็นไปได้ คือ ตอนนี้ไม่มีใครรู้ว่าสต็อกข้าวหอมมะลิที่อยู่ในมือโรงสี ในยุ้งฉางของเกษตรกรบางส่วน รวมถึงสต็อกข้าวที่อยู่ในมือผู้ประกอบการข้าวถุงที่ต้องมีสต็อกหมุนเวียนเพื่อใช้ในการผลิตเดือนต่อเดือนจะมีรวมกันมากน้อยเพียงใด จะพอใช้หรือไม่ เรื่องนี้เป็นเรื่องดีมานด์-ซัพพลาย” ขณะเดียวกันยังต้องรอดูผลผลิตข้าวหอมมะลินาปี ปีการผลิต 2561/62 ที่จะเริ่มเพาะปลูก และจะเก็บเกี่ยวในเดือนพฤศจิกายนหรือในอีกประมาณ 6 เดือนข้างหน้า ว่าจะมีผลผลิตมากน้อยเพียงใด คาดการณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่ 9.2 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตจำเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ หากมีข้าวออกมามากก็จะทำให้ราคาอ่อนตัวลง ต้นทุนการผลิตและราคาข้าวถุงก็จะลดลง
นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย ยังกล่าวถึงตลาดข้าวถุงในประเทศว่าไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน แต่คาดว่าน่าจะใกล้ 3 หมื่นล้านบาท ปีนี้น่าจะมากกว่า 3 หมื่นล้านบาท จากมูลค่าข้าวถุงปีนี้ปรับตัวสูงขึ้น แต่ด้านปริมาณการขายอาจลดลง ขณะที่ผลกำไรของผู้ประกอบการคงลดลงจากปีที่ผ่านมา เพราะไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้เท่ากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและผลจากการแข่งขันที่สูงทำให้ขยับราคาไม่ได้มาก
นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยในงานสัมมนาครบรอบ 100 ปี สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยว่า ทิศทางการส่งออกข้าวในปี 2561 นี้ ไทยจะสามารถทำได้ตามเป้าหมาย 10 ล้านตัน โดยในช่วง 5 เดือนแรก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-15 พฤษภาคม 2561 ไทยส่งออกข้าวแล้ว 4.21 ล้านตัน เป็นอันดับสองรองจากอินเดียที่ส่งออกได้ 4.77 ล้านตัน ส่วนราคาข้าวในขณะนี้ ปรับตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิอยู่ที่ตันละ 1,250 ดอลลาร์สหรัฐ ใกล้เคียงกับปี 2551 ที่ราคาส่งออกข้าวหอมมะลิเฉลี่ยตันละ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นราคาข้าวเปลือก 1.7-1.8 หมื่นบาท ใกล้เคียงกับราคาในช่วงที่มีโครงการรับจำนำข้าว เพราะความต้องการข้าวในตลาดโลกมีมาก ขณะที่ผลผลิตมีน้อยลง "มีแนวโน้มที่ราคาข้าวหอมมะลิไทยจะปรับขึ้นไปถึงตันละ 1,300 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงสั้นๆ 2-3 เดือนนี้ ที่ตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการสูง และผลผลิตน้อย เนื่องจากบางประเทศประสบภัยแล้ง ส่วนข้าวขาวก็ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ตันละ 430-435 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ปัญหาต้นทุนราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น กระทบเพียงเล็กน้อย และเชื่อเป็นระยะสั้นเท่านั้น" พร้อมทั้งกล่าวว่า สมาคมฯ มีแผนจะทำงานร่วมกับกรมการค้าภายในจัดทำโครงการพลังประชารัฐพัฒนาข้าวไทย โดยเดือนมิถุนายนนี้จะลงพื้นที่สำรวจ 8 จังหวัดในภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม เป็นต้น เพื่อนำร่องปลูกข้าวขาวพื้นนิ่ม เช่น พันธุ์พิษณุโลก 80, กข 21, กข 71 และ กข 77 เพราะเป็นข้าวที่ได้รับความนิยมในตลาดจีนปีละ 7-8 ล้านตัน แต่ไทยไม่เคยมีการปลูก ทำให้เวียดนามได้เปรียบส่งออกข้าวชนิดนี้ ไทยจึงควรเร่งพัฒนาพันธุ์ เพื่อขยายตลาดส่งออกข้าวไปยังกลุ่มข้าวพื้นนิ่มให้ได้เพิ่มขึ้น
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ, หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
รัฐบาลฟิลิปปินส์ไฟเขียวให้ผู้นำเข้าเอกชนสามารถนำเข้าข้าวจำนวน 805,200 ตัน ภายใต้การกำหนดโควตาปริมาณนำเข้า แบบปริมาณการนำเข้าขั้นต่ำ (Minimum Access Volume: MAV) เพื่อเพิ่มระดับ Supply และลดระดับราคาข้าวสารในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น และเมื่อนำปริมาณการนำเข้าของสำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority: NFA) ที่ได้เปิดประมูลไปก่อนหน้าในปริมาณ 500,000 ตัน (จาก G to G จำนวน 250,000 ตัน และจาก G to P จำนวน 250,000 ตัน) ทำให้ในปีนี้ฟิลิปปินส์จะมีปริมาณนำเข้าข้าวกว่า 1.3 ล้านตัน ทั้งนี้ เป้าหมายในการนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประชากรในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องมากจากระดับสต็อกข้าวของ NFA ที่ลดลง ทำให้ข้าวสารราคาถูกหายไปจากท้องตลาด ราคาข้าวสารที่สูงขึ้นส่งผลให้อัตราเฟ้อในประเทศสูงขึ้น ซึ่งในเดือนเมษายนที่ผ่านมาระดับเงินเฟ้อในประเทศเป็นระดับเงินเฟ้อที่สูงที่สุดสุดในรอบ 5 ปี
จากแนวทางการดำเนินการตามการนำเข้า แบบปริมาณการนำเข้าขั้นต่ำ (Minimum Access Volume: MAV) ผู้นำเข้าสามารถนำเข้าข้าวขาว 25 % หรือข้าวสารที่คุณภาพดีกว่าขึ้นไป โดยจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 35 จากปริมาณการนำเข้าทั้งหมด 805,200 ตัน จะต้องส่งมอบให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562
สำหรับประเทศที่ได้รับโควตาเฉพาะประเทศ (Country Specific Quota: CSQ) ได้แก่ เวียดนาม และไทยในจำนวนประเทศละ 293,100 ตัน นอกจากนี้ ผู้นำเข้าสามารถนำเข้าข้าวจากจีน อินเดีย และปากีสถานได้ประเทศละไม่เกิน 50,000 ตัน ออสเตรเลียไม่เกิน 15,000 ตัน เอกวาดอร์ไม่เกิน 4,000 ตัน และประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุข้างต้นอีกไม่เกิน 50,000 ตัน
ที่มา : รอยเตอร์
ศุลกากรฮ่องกงกวาดล้างแหล่งปลอมปนข้าวหอมมะลิไทย พบข้าวปลอม 2.26 หมื่นกิโลกรัม มูลค่าเสียหาย 73 ล้านบาท
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ศุลกากรฮ่องกงได้แถลงผลการจับกุมแหล่งปลอมปนข้าวหอมมะลิไทยจำนวน 2.26 หมื่นกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 17.8 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือประมาณ 73 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการจับกุมแหล่งบรรจุข้าวปลอมปนครั้งใหญ่สุดในรอบ 4 ปี หลังจากที่ข้าวหอมมะลิไทยมีราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา โดยคาดว่าข้าวปลอมดังกล่าวสามารถทำกำไรมากกว่า 100 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อถุง 25 กิโลกรัม
ทั้งนี้ การจับกุมดังกล่าวเกิดขึ้นหลังศุลกากรฮ่องกงได้เข้ากวาดล้างแหล่งบรรจุข้าวปลอมปนในเขต Sun Po Kong ย่านเกาลูน พบเครื่องบรรจุข้าว จำนวน 2 เครื่อง ข้าวสารจากเวียดนามและกัมพูชา จำนวน 1.5 หมื่นกิโลกรัม ข้าวเจ้า จำนวน 6,000 กิโลกรัม และข้าวหอมมะลิ จำนวน 1,600 กิโลกรัม รอการผสมและบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ปลอม(Fake Packaging) และบรรจุภัณฑ์เก่า (Re-used Packaging) จำนวนรวมกว่า 7,000 ถุง โดยมีแบรนด์บรรจุภัณฑ์ของไทยที่ได้รับ ความเสียหาย ได้แก่ Golden Phoenix, Qing Ling Zhi, Golden Vital King และ Kim Kia Ta Thai Rice ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับ ความนิยม สำหรับตลาดข้าวในกลุ่มร้านอาหารของฮ่องกง
"โรงงานที่ถูกตรวจสอบพบว่าเปิดมาประมาณ 3 เดือน เพื่อบรรจุข้าวใส่ถุงแบรนด์ต่างๆ จำหน่าย โดยการนำข้าวมาผสมเพื่อจำหน่ายแก่ร้านอาหารในฮ่องกงมากกว่า 100 แห่ง ทำให้ต้นทุนถูกกว่าสินค้าปกติมากกว่าครึ่ง" รายงานข่าวระบุ
อย่างไรก็ตาม สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ฮ่องกง ระบุว่า ในปีที่ผ่านมาผลผลิตข้าวหอมมะลิไทยมีจำนวนลดลง ทำให้ราคาข้าวหอมมะลิพุ่งสูงขึ้น จนเป็นสาเหตุหนึ่งให้กลุ่มพ่อค้าฉวยโอกาสทำข้าวปลอมออกขาย ซึ่ง สคต. ฮ่องกงเตรียมจัดการแถลงข่าวร่วมกับผู้นำเข้าข้าวไทยที่เสียหายในครั้งนี้ เพื่อแนะนำข้อสังเกตคุณลักษณะของข้าวหอมมะลิแท้ๆ จากไทย ทั้งขนาดความยาวของเมล็ดข้าวและการสังเกตเลขประจำตัวผู้ผลิต วันผลิต วันหมดอายุสินค้าที่บรรจุภัณฑ์
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร