ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ตลาดหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 75.42 บาท/กิโลกรัม
1. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาภายในประเทศ
นายสมชาย เสตกรณุกุล ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย จังหวัดขอนแก่น
เปิดเผยว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาพื้นที่ปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอัตราร้อยละ 30 ต่อปี
และมีผลผลิตประมาณ 130,000 ตัน หรือประมาณร้อยละ 4 ของผลผลิตทั้งประเทศ โดยพื้นที่ปลูกยางส่วนใหญ่อยู่ทางตอนบนของภาค
ได้แก่ เลย อุดรธานี หนองคาย ส่วนภาคอีสานตอนล่าง ปลูกมากในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์ อนึ่งจากการวิเคราะห์
ศักยภาพพื้นที่ปลูกยางของกรมวิชาการเกษตรพบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่เหมาะสมในการปลูกยางพาราประมาณ 25 ล้านไร่ เป็นพื้นที่
เหมาะสมที่สุด 19 ล้านไร่ เหมาะสมรองลงมาประมาณ 6 ล้านไร่ ปัจจุบันภาคอีสานมีพื้นที่ปลูกยางทั้งหมดเกือบ 2 ล้านไร่ เป็นพื้นที่กรีด
5 ล้านไร่
สำหรับราคายางพาราสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลง เนื่องจากผลกระทบด้านค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวในขณะที่ราคายางในรูปเงินดอลลาร์
ไม่เปลี่ยนแปลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.80 บาท ลดลงจาก 78.91 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
6.11 บาท หรือร้อยละ 7.74
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.30 บาท ลดลงจาก 78.41 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
6.11 บาท หรือร้อยละ 7.79
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.80 บาท ลดลงจาก 77.91 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
6.11 บาท หรือร้อยละ 7.84
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.77 บาท ลดลงจาก 77.83 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
7.06 บาท หรือร้อยละ 9.07
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.02 บาท ลดลงจาก 77.08 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
7.06 หรือร้อยละ 9.16
6. ยางแผ่นดิบคละราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.41 บาท ลดลงจาก 73.74 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.33 บาท
หรือร้อยละ 0.05
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.31 บาท ลดลงจาก 41.50 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.19 บาท
หรือร้อยละ 5.28
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.35 บาท ลดลงจาก 37.25 บาท ของสัปดาห์ ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.90 บาท
หรือร้อยละ 5.10
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.25 บาท ลดลงจาก 71.16 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.91 บาท
หรือร้อยละ 2.68
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนธันวาคม 2550
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.84 บาท ลดลงจาก 87.40 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
3.56 บาท หรือร้อยละ 4.07
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.69 บาท ลดลงจาก 86.25 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
3.56 บาท หรือร้อยละ 4.13
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.91 บาท ลดลงจาก 56.61 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.70 บาท
หรือร้อยละ 1.24
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.59 บาท ลดลงจาก 87.15 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
3.56 บาท หรือร้อยละ 4.08
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.44 บาท ลดลงจาก 86.00 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
3.56 บาท หรือร้อยละ 4.14
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.66 บาท ลดลงจาก 56.36 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.70 บาท
หรือร้อยละ 1.24
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
ผลผลิตยางพาราในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 มาเลเซียผลิตยางพาราได้ทั้งสิ้น 919,554 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี
ก่อนร้อยละ 5.9 โดยในเดือนกันยายนผลิตยางได้ 106,417 ตัน ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 4.4 และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 4.1 โดยเป็นผลผลิตของเกษตรกรรายย่อยร้อยละ 93.8 ที่เหลืออีกร้อยละ 6.2 เป็นเกษตรกรรายใหญ่
การส่งออกยางพาราในช่วง ม.ค.- ก.ย. 2550 มาเลเซียส่งออกยางพาราไปประเทศจีนมากที่สุดปริมาณ 266,568 ตัน รองลง
มาคือ เยอรมัน เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส บราซิล โปรตุเกส ปริมาณ 104,526 , 43,821 , 40,528 , 34,309 ,
30,422 และ 17,261 ตัน ตามลำดับ สำหรับเดือนกันยายน มาเลเซียส่งออกยางพาราทั้งสิ้น 94,933 ตัน ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อย
ละ 8.7 และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 3.3
ในช่วง 9 เดือน มาเลเซียนำเข้าจากไทยมากที่สุด ร้อยละ 72.6 รองลงมาคือ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย พม่า
ร้อยละ 7.2 , 6.0 ,5.2 และ 3.6 ตามลำดับ สำหรับเดือนกันยายน มาเลเซียนำเข้ายางพาราทั้งสิ้น 50,385 ตัน ลดลงจากเดือน
ที่แล้ว ร้อยละ 7.7 และเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 26.8
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนธันวาคม 2550
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 354.00 เซนต์สิงคโปร์ (81.74 บาท) ลดลงจาก 368.00 เซนต์สิงคโปร์
(85.09 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 14.00 เซนสิงคโปร์ หรือร้อยละ 3.80
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 241.65 เซนต์สหรัฐ (81.28 บาท) ลดลงจาก 251.45 เซนต์สหรัฐ
(84.57 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 9.80 เซนต์สหรัฐ หรือร้อยละ 3.90
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 265.88 เยน (81.16 บาท) ลดลงจาก 281.70 เยน (85.19
บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 15.82 เยน หรือร้อยละ 5.62
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 19-25 พ.ย. 2550--
-พห-
1. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาภายในประเทศ
นายสมชาย เสตกรณุกุล ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย จังหวัดขอนแก่น
เปิดเผยว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาพื้นที่ปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอัตราร้อยละ 30 ต่อปี
และมีผลผลิตประมาณ 130,000 ตัน หรือประมาณร้อยละ 4 ของผลผลิตทั้งประเทศ โดยพื้นที่ปลูกยางส่วนใหญ่อยู่ทางตอนบนของภาค
ได้แก่ เลย อุดรธานี หนองคาย ส่วนภาคอีสานตอนล่าง ปลูกมากในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์ อนึ่งจากการวิเคราะห์
ศักยภาพพื้นที่ปลูกยางของกรมวิชาการเกษตรพบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่เหมาะสมในการปลูกยางพาราประมาณ 25 ล้านไร่ เป็นพื้นที่
เหมาะสมที่สุด 19 ล้านไร่ เหมาะสมรองลงมาประมาณ 6 ล้านไร่ ปัจจุบันภาคอีสานมีพื้นที่ปลูกยางทั้งหมดเกือบ 2 ล้านไร่ เป็นพื้นที่กรีด
5 ล้านไร่
สำหรับราคายางพาราสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลง เนื่องจากผลกระทบด้านค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวในขณะที่ราคายางในรูปเงินดอลลาร์
ไม่เปลี่ยนแปลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.80 บาท ลดลงจาก 78.91 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
6.11 บาท หรือร้อยละ 7.74
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.30 บาท ลดลงจาก 78.41 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
6.11 บาท หรือร้อยละ 7.79
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.80 บาท ลดลงจาก 77.91 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
6.11 บาท หรือร้อยละ 7.84
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.77 บาท ลดลงจาก 77.83 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
7.06 บาท หรือร้อยละ 9.07
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.02 บาท ลดลงจาก 77.08 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
7.06 หรือร้อยละ 9.16
6. ยางแผ่นดิบคละราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.41 บาท ลดลงจาก 73.74 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.33 บาท
หรือร้อยละ 0.05
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.31 บาท ลดลงจาก 41.50 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.19 บาท
หรือร้อยละ 5.28
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.35 บาท ลดลงจาก 37.25 บาท ของสัปดาห์ ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.90 บาท
หรือร้อยละ 5.10
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.25 บาท ลดลงจาก 71.16 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.91 บาท
หรือร้อยละ 2.68
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนธันวาคม 2550
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.84 บาท ลดลงจาก 87.40 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
3.56 บาท หรือร้อยละ 4.07
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.69 บาท ลดลงจาก 86.25 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
3.56 บาท หรือร้อยละ 4.13
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.91 บาท ลดลงจาก 56.61 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.70 บาท
หรือร้อยละ 1.24
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.59 บาท ลดลงจาก 87.15 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
3.56 บาท หรือร้อยละ 4.08
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.44 บาท ลดลงจาก 86.00 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
3.56 บาท หรือร้อยละ 4.14
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.66 บาท ลดลงจาก 56.36 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.70 บาท
หรือร้อยละ 1.24
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
ผลผลิตยางพาราในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 มาเลเซียผลิตยางพาราได้ทั้งสิ้น 919,554 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี
ก่อนร้อยละ 5.9 โดยในเดือนกันยายนผลิตยางได้ 106,417 ตัน ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 4.4 และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 4.1 โดยเป็นผลผลิตของเกษตรกรรายย่อยร้อยละ 93.8 ที่เหลืออีกร้อยละ 6.2 เป็นเกษตรกรรายใหญ่
การส่งออกยางพาราในช่วง ม.ค.- ก.ย. 2550 มาเลเซียส่งออกยางพาราไปประเทศจีนมากที่สุดปริมาณ 266,568 ตัน รองลง
มาคือ เยอรมัน เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส บราซิล โปรตุเกส ปริมาณ 104,526 , 43,821 , 40,528 , 34,309 ,
30,422 และ 17,261 ตัน ตามลำดับ สำหรับเดือนกันยายน มาเลเซียส่งออกยางพาราทั้งสิ้น 94,933 ตัน ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อย
ละ 8.7 และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 3.3
ในช่วง 9 เดือน มาเลเซียนำเข้าจากไทยมากที่สุด ร้อยละ 72.6 รองลงมาคือ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย พม่า
ร้อยละ 7.2 , 6.0 ,5.2 และ 3.6 ตามลำดับ สำหรับเดือนกันยายน มาเลเซียนำเข้ายางพาราทั้งสิ้น 50,385 ตัน ลดลงจากเดือน
ที่แล้ว ร้อยละ 7.7 และเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 26.8
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนธันวาคม 2550
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 354.00 เซนต์สิงคโปร์ (81.74 บาท) ลดลงจาก 368.00 เซนต์สิงคโปร์
(85.09 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 14.00 เซนสิงคโปร์ หรือร้อยละ 3.80
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 241.65 เซนต์สหรัฐ (81.28 บาท) ลดลงจาก 251.45 เซนต์สหรัฐ
(84.57 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 9.80 เซนต์สหรัฐ หรือร้อยละ 3.90
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 265.88 เยน (81.16 บาท) ลดลงจาก 281.70 เยน (85.19
บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 15.82 เยน หรือร้อยละ 5.62
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 19-25 พ.ย. 2550--
-พห-