สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 1 เชียงใหม่ รายงานสถานการณ์กระเทียมภาคเหนือตอนบนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วทั้งพื้นที่ และผลผลิต เผยหากเกษตรกรยังขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้นอีก อาจมีผลกระทบถึงราคาได้ วอนเกษตรกรอย่าเพิ่งขยายพื้นที่ให้มากเกินไปนัก
นายบรรลุ จันทร์สาม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต1 (สศข.1) จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์กระเทียมภาคเหนือตอนบนในปีนี้ว่า ขณะนี้เกษตรกรทยอยปลูกไปบ้างแล้วบางส่วน ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม เป็นต้นมา และกำลังเข้าสู่ช่วงของการเพาะปลูกในเดือนธันวาคม ต่อเนื่องจนถึงเดือนมกราคม ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่มีการปลูกกันมากที่สุด
ทั้งนี้ถึงแม้ว่าสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จะได้ประชาสัมพันธ์เป็นการเตือนเกษตรกรไปแล้วว่าปีนี้ ผลผลิตกระเทียมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้ว สาเหตุจากสภาพอากาศที่เหมาะสม และเหตุจูงใจด้านราคาในปีที่ผ่านมา แต่จากการติดตามสถานการณ์ของ สศข.1 พบว่าแนวโน้มเนื้อที่ยังคงสูงขึ้น จึงอาจส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรจะได้รับในฤดูกาลที่จะถึงข้างหน้านี้ลดต่ำลงและอาจไม่คุ้มทุนได้
สำหรับสถานการณ์ราคากระเทียมที่ซื้อขายกันในพื้นที่ มีแนวโน้มลดต่ำลง ตั้งแต่ต้นปี 2550 จาก กก.ละ 60 บาท (แห้งมากกว่า 30 วัน) ลงมาเหลือ กก.ละ 25 - 30 บาท ในช่วงปลายปี สาเหตุสำคัญซึ่งทีมงานด้านราคาสินค้าเกษตรของ สศข.1 ได้ลงพื้นที่เกาะติดราคาจากพ่อค้า และเกษตรกร พบว่า กระเทียมจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าของเรานั้น มีปริมาณนำเข้าทยอยเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับในแต่ละเดือน ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ส่งผลให้ราคากระเทียมในประเทศมีแนวโน้มลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง
นายบรรลุ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการแก้ปัญหาราคากระเทียมตกต่ำนั้น รัฐบาลได้ดำเนินโครงการลดพื้นที่ปลูกกระเทียม ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา และบรรลุเป้าหมายในขั้นแรกแล้ว อย่างไรก็ตามในส่วนที่ยังคงการผลิตก็มีต้นทุนสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการนำเข้าจากประเทศจีน อันเนื่องมาจากข้อตกลง FTA
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายบรรลุ จันทร์สาม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต1 (สศข.1) จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์กระเทียมภาคเหนือตอนบนในปีนี้ว่า ขณะนี้เกษตรกรทยอยปลูกไปบ้างแล้วบางส่วน ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม เป็นต้นมา และกำลังเข้าสู่ช่วงของการเพาะปลูกในเดือนธันวาคม ต่อเนื่องจนถึงเดือนมกราคม ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่มีการปลูกกันมากที่สุด
ทั้งนี้ถึงแม้ว่าสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จะได้ประชาสัมพันธ์เป็นการเตือนเกษตรกรไปแล้วว่าปีนี้ ผลผลิตกระเทียมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้ว สาเหตุจากสภาพอากาศที่เหมาะสม และเหตุจูงใจด้านราคาในปีที่ผ่านมา แต่จากการติดตามสถานการณ์ของ สศข.1 พบว่าแนวโน้มเนื้อที่ยังคงสูงขึ้น จึงอาจส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรจะได้รับในฤดูกาลที่จะถึงข้างหน้านี้ลดต่ำลงและอาจไม่คุ้มทุนได้
สำหรับสถานการณ์ราคากระเทียมที่ซื้อขายกันในพื้นที่ มีแนวโน้มลดต่ำลง ตั้งแต่ต้นปี 2550 จาก กก.ละ 60 บาท (แห้งมากกว่า 30 วัน) ลงมาเหลือ กก.ละ 25 - 30 บาท ในช่วงปลายปี สาเหตุสำคัญซึ่งทีมงานด้านราคาสินค้าเกษตรของ สศข.1 ได้ลงพื้นที่เกาะติดราคาจากพ่อค้า และเกษตรกร พบว่า กระเทียมจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าของเรานั้น มีปริมาณนำเข้าทยอยเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับในแต่ละเดือน ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ส่งผลให้ราคากระเทียมในประเทศมีแนวโน้มลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง
นายบรรลุ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการแก้ปัญหาราคากระเทียมตกต่ำนั้น รัฐบาลได้ดำเนินโครงการลดพื้นที่ปลูกกระเทียม ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา และบรรลุเป้าหมายในขั้นแรกแล้ว อย่างไรก็ตามในส่วนที่ยังคงการผลิตก็มีต้นทุนสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการนำเข้าจากประเทศจีน อันเนื่องมาจากข้อตกลง FTA
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-