สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 6-12 ก.ค. 61
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
(1) ด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 และวันที่ 12ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี 2) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่) 3) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์4) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 5) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 25616) โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 7) โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561และ 8) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
(2) ด้านการตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร 2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร 3) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี และ 4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ปีการผลิต 2560
1.2 ราคา
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,026 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,053 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,724 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,802 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 35,690 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,970 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750 บาท ราคาเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,120 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,896 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,124 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,929 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 33 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 398 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,111 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 402 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,208 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 97 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 390 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,848 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 394 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,945 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 97 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 395 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,012 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 396 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,011 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.9428
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ภาวะราคาข้าวขาว 5% ในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 425-430 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันจากระดับ 450-455 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มราคาข้าวของประเทศคู่แข่งที่ปรับลดลงท่ามกลางภาวะตลาดที่ค่อนข้างซบเซา ขณะที่ผลผลิตข้าวฤดูการผลิตฤดูร้อน-ใบไม้ร่วง (the summer-autumn crop) ในเขต ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเริ่มออกสู่ตลาดในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม วงการค้าคาดว่าราคาข้าวในประเทศจะไม่ลดลงไปมาก เพราะต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในฤดูการผลิตฤดูร้อน-ใบไม้ร่วงในปีนี้สูงกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากค่าเงินดองอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงการคลัง (Finance Ministry) ระบุว่าในปีนี้ต้นทุนการผลิตข้าวเปลือกของเกษตรกรในฤดูการผลิตนี้อยู่ที่ประมาณ 4,059 ดองต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 4
กระทรวงการเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนามรายงานว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของ ปี 2561 เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 3.6 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6 และร้อยละ 42.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาคาดว่า เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 604,000 ตัน มูลค่า 317 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ด้านราคาส่งออกเฉลี่ยในช่วง 5 เดือนแรกของปี (มกราคม-พฤษภาคม) อยู่ที่ตันละ 505 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกเวียดนามส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนมากที่สุดจำนวนประมาณ 844,000 ตัน มูลค่ากว่า 449.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยตลาดจีนมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 30 ของการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีอีกหลาย ประเทศที่มีมูลค่านำเข้าข้าวจากเวียดนามเพิ่มขึ้น เช่น ประเทศอิรักเพิ่มขึ้น 25.7 เท่า มาเลเซีย 2.8 เท่า สหรัฐฯ 2.4 เท่า ฮ่องกงเพิ่มขึ้นร้อยละ 49 ฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.9 และกาน่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 ขณะเดียวกันปริมาณการส่งออกไปยังประเทศอินโดนีเซียจำนวน 596,058 ตัน มูลค่า 280.04 ล้านดอลลาร์หสรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 290.8 เท่า และ 269.5 เท่า หรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 17.3 ของการส่งออกทั้งหมด
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า ในเดือนพฤษภาคม 2561 เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 754,757 ตัน ลดลงร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับจำนวน 791,210 ตัน ในเมษายนที่ผ่านมา โดยตลาดส่งออกที่สำคัญในเดือนพฤษภาคม 2561 ประกอบด้วย ตลาดเอเชียจำนวน 606,117 ตัน ตลาดแอฟริกาจำนวน 63,380 ตัน ตลาดอเมริกาจำนวน 78,122 ตัน ตลาดยุโรปและเครือรัฐเอกราช (Europe and CIS countries) จำนวน 4,049 ตัน และตลาดออสเตรเลียจำนวน 3,049 ตัน ซึ่งแบ่งเป็นการส่งออกข้าวขาว 5% จำนวน 108,105 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 525 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 224,220 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 49,277 ตัน ปลายข้าวขาว 100% จำนวน 1,120 ตัน ข้าวหอม (Jasmine rice) 259,235 ตัน ข้าวเหนียว 77,247 ตัน และข้าวชนิดอื่นๆ จำนวน 35,078 ตัน
วงการค้าข้าวของเวียดนาม ระบุว่า การส่งออกข้าวของเวียดนามยังคงไปได้ด้วยดี โดยคาดว่าในช่วงไตรมาสที่ 4 ต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2562 ตลาดหลักที่เวียดนามส่งออกไปยังคงเป็นฟิลิปปินส์ เช่นเดียวกับอินโดนีเซีย และมาเลเซียที่ยังคงมีความต้องการข้าวอย่างต่อเนื่อง ส่วนจีนก็จะยังมีความต้องการนำเข้า เช่นเดียวกับบังคลาเทศและประเทศในแถบแอฟริกา
ขณะที่กระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture and Rural Development) คาดว่า ในช่วงที่เหลือ ของปี 2561 ผลผลิตข้าวเปลือกจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 23.3 ล้านตัน ส่งผลให้ในปีนี้มีผลผลิตข้าวเปลือกรวมประมาณ 43.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.2 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 14 เดือน ท่ามกลางภาวะความต้องการข้าวจากต่างประเทศที่ลดลง โดยเฉพาะจากตลาดแอฟริกา ประกอบกับค่าเงินรูปียังคงอ่อนค่าลง นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงไปแล้วประมาณร้อยละ 8 ทั้งนี้ ราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 388-392 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 4 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากตันละ 392-396 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า
องค์การพัฒนาการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป (the Agricultural and Processed Food Products Export Development Authority; APEDA) รายงานว่า ในช่วง 2 เดือนแรก (เมษายน-พฤษภาคม) ปีงบประมาณ 2561/62 (เมษายน 2561-มีนาคม 2562) อินเดียส่งออกข้าวประมาณ 2.19 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับจำนวน 1.86 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (2560/61) โดยเป็นการส่งออกข้าวบาสมาติ ประมาณ 754,892 ตัน ลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับจำนวน 797,643 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ข้าวขาวที่ไม่ใช่ บาสมาติมีจำนวนประมาณ 1.435 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับจำนวน 1.067 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทางด้านมูลค่าส่งออกในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561/62 มีประมาณ 1,417 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยข้าวบาสมาติมีมูลค่าส่งออกประมาณ 815 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติ มีมูลค่าส่งออกประมาณ 602 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งมูลค่าส่งออกที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาข้าวบาสมามาติและข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติปรับตัวสูงขึ้น โดยข้าวบาสมาติราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 1,080 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
กระทรวงเกษตร (the Indian Agriculture Ministry) รายงานว่า ณ วันที่ 6 กรกฎาคมที่ผ่านมา การเพาะปลูกข้าวในฤดูการผลิต Kharif (มิถุนายน-ธันวาคม) ของปีการผลิต 2561/62 มีการเพาะปลูกไปแล้วประมาณ 42.03 ล้านไร่ ลดลงประมาณร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากในปีนี้มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าระดับปกติ ในบางพื้นที
ขณะที่สถานการณ์ฝนที่ตกลงมาหลังจากที่เริ่มเข้าสู่ฤดูมรสุมนั้น กรมอุตุนิยมวิทยา (the Indian Meteorological Department; IMD) รายงานว่า ณ วันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา อินเดียมีปริมาณฝนตกน้อยกว่าระดับปกติประมาณร้อยละ 8 โดยบริเวณภาคตะวันตกเฉียงเหนือและภาคใต้ มีฝนตกในระดับที่สูงกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 4 และร้อยละ 6 ตามลำดับ ขณะที่ในตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีฝนตกในระดับที่ต่ำกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 23 และร้อยละ 6 ตามลำดับ
ทั้งนี้ ฤดูมรสุมของอินเดียจะอยู่ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มิถุนายนถึง 30 กันยายน ซึ่งฝนที่ตกในช่วงเวลานี้จำเป็นต่อการเพาะปลูกพืชของอินเดียในฤดูการผลิต Kharif
ทางการอินเดียได้ปรับราคารับซื้อขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับข้าวเปลือกขึ้นอีกประมาณร้อยละ 11-13 เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่เกษตรกรก่อนที่จะถึงช่วงฤดูเลือกตั้งทั่วไปในต้นปีหน้า (2562)
ทั้งนี้ รัฐบาลจะกำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับข้าวเปลือกเกรดธรรมดา (common grade rice) เป็น 1,750 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือประมาณตันละ 254 ดอลลาร์สหรัฐและข้าวเปลือกเกรด A (Grade ‘A’ paddy) กำหนดไว้ที่ 1,770 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือประมาณตันละ 257 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการเพิ่มราคารับซื้อข้าวเปลือกขั้นต่ำนี้ทำให้คาดว่ารัฐบาลต้องมีงบประมาณในการการจัดหาเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1.74 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
รัฐบาลอินเดียกำหนดนโยบายในการตั้งราคารับซื้อขั้นต่ำ โดยใช้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในการพิจารณาซึ่งจะตั้งราคาสูงกว่าต้นทุนประมาณ 1.5 เท่า โดยต้นทุนส่วนใหญ่ของเกษตรกรประมาณร้อยละ 53 จะเป็นค่าแรงงาน ส่วนที่เหลือจะเป็นค่าปุ๋ย ค่ายาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์และค่าใช้จ่ายด้านชลประทาน
ปี 2560/61 รัฐบาลตั้งเป้าจัดหาข้าวไว้ที่ 37.5 ล้านตัน โดยได้กำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับข้าวเปลือกเกรดธรรมดา (common grade rice) ไว้ที่ 1,550 รูปีต่อ100 กิโลกรัม หรือประมาณตันละ 225 ดอลลาร์สหรัฐ และข้าวเปลือกเกรด A (Grade ‘A’ paddy) กำหนดไว้ที่ 1,590 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือประมาณตันละ 231 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2559/60 รัฐบาลจัดหาข้าวได้ประมาณ 38.7 ล้าน ตัน ซึ่งสูงกว่าที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ที่ 33 ล้านตัน
องค์การอาหารแห่งชาติ (The Food Corporation of India; FCI) รายงานว่า การจัดหาข้าวตามโครงการจัดหาข้าวของรัฐบาลในปีการตลาด 2560/61 (ตุลาคม 2560-กันยายน 2561) สำหรับฤดูการผลิตหลัก (Kharif marketing season) ณ วันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา สามารถจัดหาข้าวได้แล้วประมาณ 36.18 ล้านตัน โดยจัดหาจากแค้วน Punjab และ Haryana มากที่สุดประมาณ 11.833 และ 3.992 ล้านตัน ตามลำดับ
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร