สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 รายงานสถานการณ์พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมืองอุบลฯ พบพื้นที่ลดฮวบอย่างน่าใจหาย เหตุเพราะเกษตรกรเทใจหันมาปลูกมันสำปะหลังกันมากขึ้น เผยได้ราคาสูง เป็นพืชทนแล้ง ดูแลรักษาง่าย และลงทุนน้อย
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเกษตรกรนิยมปลูกกันมากในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันพืชเศรษฐกิจที่เคยได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายนี้ กลับหายไปชนิดแทบไม่เหลือร่องรอย
โดยในปี 2548 จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวน 29,782 ไร่ แต่ปัจจุบัน มีพื้นที่ทั้งจังหวัดเหลือเพียง 20 ไร่เท่านั้น ซึ่งการหายไปดังกล่าวกลับพบว่ามีพืชเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมตลอดกาลอย่างมันสำปะหลังเข้ามาแทนที่ ทำให้แนวโน้มพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังสูงขึ้นมาเป็นลำดับ
จากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเขตอำเภอน้ำยืนและอำเภอน้ำขุ่น ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกแหล่งใหญ่ของจังหวัดถึงสาเหตุการหายไปของพืชดังกล่าว ได้รับคำชี้แจงว่า ในช่วงระยะ 3 — 4 ปีที่ผ่านมา ราคามันสำปะหลังสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมันสำปะหลังเป็นพืชที่ทนแล้ง ดูแลรักษาง่าย ลงทุนน้อย ถ้าเปรียบเทียบรายได้สุทธิต่อไร่แล้ว มันสำปะหลังจะให้ผลตอบแทนที่มากและคุ้มค่ากว่า
ดังนั้น เกษตรกรจึงหันมาปลูกมันสำปะหลังทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จนเกือบสิ้นเชิง ซึ่งในทำนองเดียวกันก็พบว่า ในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดศรีสะเกษ ก็ยังมีแนวโน้มลดลง เรื่อย ๆ เช่นกัน นายอุดม กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเกษตรกรนิยมปลูกกันมากในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันพืชเศรษฐกิจที่เคยได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายนี้ กลับหายไปชนิดแทบไม่เหลือร่องรอย
โดยในปี 2548 จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวน 29,782 ไร่ แต่ปัจจุบัน มีพื้นที่ทั้งจังหวัดเหลือเพียง 20 ไร่เท่านั้น ซึ่งการหายไปดังกล่าวกลับพบว่ามีพืชเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมตลอดกาลอย่างมันสำปะหลังเข้ามาแทนที่ ทำให้แนวโน้มพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังสูงขึ้นมาเป็นลำดับ
จากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเขตอำเภอน้ำยืนและอำเภอน้ำขุ่น ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกแหล่งใหญ่ของจังหวัดถึงสาเหตุการหายไปของพืชดังกล่าว ได้รับคำชี้แจงว่า ในช่วงระยะ 3 — 4 ปีที่ผ่านมา ราคามันสำปะหลังสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมันสำปะหลังเป็นพืชที่ทนแล้ง ดูแลรักษาง่าย ลงทุนน้อย ถ้าเปรียบเทียบรายได้สุทธิต่อไร่แล้ว มันสำปะหลังจะให้ผลตอบแทนที่มากและคุ้มค่ากว่า
ดังนั้น เกษตรกรจึงหันมาปลูกมันสำปะหลังทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จนเกือบสิ้นเชิง ซึ่งในทำนองเดียวกันก็พบว่า ในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดศรีสะเกษ ก็ยังมีแนวโน้มลดลง เรื่อย ๆ เช่นกัน นายอุดม กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-