สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยความต้องการสินค้าเกษตรเพื่อผลิตพลังานทดแทน (biofuel) จะส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นและอาจเกิดปัญหาขาดแคลนสินค้าเกษตรเพื่ออาหารใกลุ่มประเทศยากจน ย้ำประเทศต่าง ๆ ต้องร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคอาเซียน ส่วนประเทศไทยสามารถผลิตสินค้าเกษตรได้เพียงพอกับการบริโภคในประเทศและเหลือส่งออกเป็นจำนวนมาก
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวย้ำถึงการให้ความสำคัญด้านความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียนในการวิเคราะห์สถานการณ์อุปสงค์และอุปทานของอาหาร รวมทั้งความร่วมมือด้านงานวิจัยและพัฒนาของเหลือใช้จากภาคเกษตรเพื่อผลิตพลังงานทดแทน ตลอดจนการลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่จะส่งผลต่อภาวะการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารของภูมิภาค
ด้านนางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมเรื่อง The Present Situation and Future Prospects of Food Supply and Demand ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้ให้รายละเอียดในเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม รวมถึงผู้แทนจากกระทรวงเกษตรและป่าไม้ญี่ปุ่น และ Japan Association for International Collaboration of Agriculture and Forestry (JAICAF) และ ASEAN Secretariat
โดยที่ประชุมได้ให้ความสำคัญต่อสถานการณ์ของอุปสงค์และอุปทานอาหารที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากความต้องการด้านพลังงานทดแทนและภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น รวมถึงการเพิ่มขึ้นของความต้องการบริโภคอาหารของประชากรอาเซียน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรและอาหาร การแย่งชิงผลผลิตเกษตรจากภาคอาหารไปยังภาคพลังงาน ส่งผลให้ราคาพืชอาหารหลายรายการปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าปัจจุบันกลุ่มประเทศในอาเซียนจะสามารถผลิตสินค้าเกษตรตอบสนองความต้องการของประชากรในประเทศได้ในระดับหนึ่ง แต่ราคาที่ยังพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารในอนาคต
สำหรับประเทศไทย สามารถผลิตสินค้าเกษตรได้เพียงพอกับการบริโภคในประเทศและเหลือส่งออกจำนวนมาก และนโยบายพลังงานก็เป็นช่องทางใหม่ทางการตลาดสินค้าเกษตรของเกษตรกรไทย ซึ่งช่วยลดความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร ในด้านความมั่นคงอาหารของเกษตรกรรายย่อยในประเทศไทยได้ ส่งเสริมให้ใช้ทฤษฎีใหม่ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เกษตรกรสามารถผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารได้อย่างหลากหลาย มีรายได้ที่สม่ำเสมอ รายได้ต่อปีเพิ่มขึ้นและภาวะหนี้สินลดลง สิ่งสำคัญที่สุดคือ สามารถพึ่งพาตนเองในด้านอาหาร ซึ่งช่วยลดผลกระทบของราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นต่อเกษตรกรรายได้ต่ำ
ในส่วนของภูมิภาคอาเซียน เพื่อหลีกเลี่ยงการแย่งชิงวัตถุดิบระหว่างอาหารและพลังงาน ที่ประชุมเห็นว่าประเทศต่าง ๆ ควรร่วมมือในการวิเคราะห์สถานการณ์สินค้า และการวิจัยแนวทางใช้พืชที่มิใช่อาหารและสิ่งเหลือใช้ทางการเกษตร อาทิ เศษของเหลือทางการเกษตรต่าง ๆ เช่น ฟางข้าว ฯลฯ เป็นวัตถุดิบพลังงาน รวมทั้งคาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อนและการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น พันธุ์ที่มีความทนทานมากขึ้น เพื่อช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกร นางนารีณัฐ กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวย้ำถึงการให้ความสำคัญด้านความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียนในการวิเคราะห์สถานการณ์อุปสงค์และอุปทานของอาหาร รวมทั้งความร่วมมือด้านงานวิจัยและพัฒนาของเหลือใช้จากภาคเกษตรเพื่อผลิตพลังงานทดแทน ตลอดจนการลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่จะส่งผลต่อภาวะการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารของภูมิภาค
ด้านนางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมเรื่อง The Present Situation and Future Prospects of Food Supply and Demand ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้ให้รายละเอียดในเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม รวมถึงผู้แทนจากกระทรวงเกษตรและป่าไม้ญี่ปุ่น และ Japan Association for International Collaboration of Agriculture and Forestry (JAICAF) และ ASEAN Secretariat
โดยที่ประชุมได้ให้ความสำคัญต่อสถานการณ์ของอุปสงค์และอุปทานอาหารที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากความต้องการด้านพลังงานทดแทนและภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น รวมถึงการเพิ่มขึ้นของความต้องการบริโภคอาหารของประชากรอาเซียน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรและอาหาร การแย่งชิงผลผลิตเกษตรจากภาคอาหารไปยังภาคพลังงาน ส่งผลให้ราคาพืชอาหารหลายรายการปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าปัจจุบันกลุ่มประเทศในอาเซียนจะสามารถผลิตสินค้าเกษตรตอบสนองความต้องการของประชากรในประเทศได้ในระดับหนึ่ง แต่ราคาที่ยังพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารในอนาคต
สำหรับประเทศไทย สามารถผลิตสินค้าเกษตรได้เพียงพอกับการบริโภคในประเทศและเหลือส่งออกจำนวนมาก และนโยบายพลังงานก็เป็นช่องทางใหม่ทางการตลาดสินค้าเกษตรของเกษตรกรไทย ซึ่งช่วยลดความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร ในด้านความมั่นคงอาหารของเกษตรกรรายย่อยในประเทศไทยได้ ส่งเสริมให้ใช้ทฤษฎีใหม่ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เกษตรกรสามารถผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารได้อย่างหลากหลาย มีรายได้ที่สม่ำเสมอ รายได้ต่อปีเพิ่มขึ้นและภาวะหนี้สินลดลง สิ่งสำคัญที่สุดคือ สามารถพึ่งพาตนเองในด้านอาหาร ซึ่งช่วยลดผลกระทบของราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นต่อเกษตรกรรายได้ต่ำ
ในส่วนของภูมิภาคอาเซียน เพื่อหลีกเลี่ยงการแย่งชิงวัตถุดิบระหว่างอาหารและพลังงาน ที่ประชุมเห็นว่าประเทศต่าง ๆ ควรร่วมมือในการวิเคราะห์สถานการณ์สินค้า และการวิจัยแนวทางใช้พืชที่มิใช่อาหารและสิ่งเหลือใช้ทางการเกษตร อาทิ เศษของเหลือทางการเกษตรต่าง ๆ เช่น ฟางข้าว ฯลฯ เป็นวัตถุดิบพลังงาน รวมทั้งคาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อนและการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น พันธุ์ที่มีความทนทานมากขึ้น เพื่อช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกร นางนารีณัฐ กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-