1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
กรมประมงเตือนภัยเกษตรกรเฝ้าระวังโรคอียูเอสช่วงฤดูหนาว
ดร. สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า ขณะนี้ในหลายจังหวัดของประเทศไทยได้เข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ทำให้อากาศและอุณหภูมิของน้ำลดต่ำลง อาจส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำของเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงไว้ได้ โดยอาจเกิดอาการเครียดและกินอาหารน้อยลง ความแข็งแรงและความทนทานต่อโรคลดต่ำลง ประกอบกับเชื้อโรคหลายชนิดสามารถแพร่กระจายได้ง่ายในน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำ สำหรับโรคปลาที่มักเกิดในช่วงหน้าหนาว มีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอย่างมาก คือ โรคอียูเอส เป็นโรคที่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวังและควบคุมขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศหรือ OIE สำหรับประเทศไทยมักจะรู้จักโรคนี้ในชื่อของโรคระบาดปลาหรือโรคเน่าเปื่อย โดยลักษณะอาการที่ปรากฏภายนอกของปลาที่ป่วยเป็นโรคนี้ เกษตรกรสามารถสังเกตได้จากปลาจะมีแผลเลือดออกตามซอกเกล็ด แผลเน่าเปื่อย แผลหลุดลึกกระจายตามส่วนหัวและผิวลำตัว หากนำเนื้อเยื่อบริเวณแผลมาตรวจกับกล้องจุลทัศน์จะพบเส้นใยของรา Apanomyces invadans เจริญอยู่ เส้นใยของราชนิดนี้สามารถเจริญเข้าไปในกล้ามเนื้อของปลาและอวัยวะต่างๆ ทำให้เซลล์ตับ ม้าม และไตเกิดความผิดปกติ จนเสื่อมและตายได้ เชื้อราชนิดนี้มีกลไกการเกิดที่ซับซ้อน โดยบางครั้งอาจพบร่วมกับเชื้อโรคอื่นๆ เช่น ปรสิต แบคทีเรีย และไวรัส ซึ่งเพิ่มความรุนแรงของโรคได้มากขึ้น สำหรับปลาที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคชนิดนี้ได้ง่าย ได้แก่ ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาบู่ ปลาแรด ปลากระสูบ ปลาบ้า และปลาสร้อย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มียาและสารเคมีที่จะใช้ฆ่าเชื้อราที่ฝังอยู่ในเนื้อเยื่อปลาได้ แต่ถ้าน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น เชื้อราต่างๆ จะเจริญเติบโตช้าลง ในขณะเดียวกันปลาก็จะมีภูมิต้านทานโรคเพิ่มขึ้นและจะหายป่วยได้เองในระยะต่อมา
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (17 - 23 พ.ย. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,175.78 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 702.74 ตัน สัตว์น้ำจืด 473.04 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.46 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.71 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 99.03 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 36.89 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 72.91 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.59 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.48 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.08 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 126.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 127.69 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.79 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.99 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.29 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 8 - 14 ธ.ค. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 10-16 ธันวาคม 2550--
-พห-
การผลิต
กรมประมงเตือนภัยเกษตรกรเฝ้าระวังโรคอียูเอสช่วงฤดูหนาว
ดร. สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า ขณะนี้ในหลายจังหวัดของประเทศไทยได้เข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ทำให้อากาศและอุณหภูมิของน้ำลดต่ำลง อาจส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำของเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงไว้ได้ โดยอาจเกิดอาการเครียดและกินอาหารน้อยลง ความแข็งแรงและความทนทานต่อโรคลดต่ำลง ประกอบกับเชื้อโรคหลายชนิดสามารถแพร่กระจายได้ง่ายในน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำ สำหรับโรคปลาที่มักเกิดในช่วงหน้าหนาว มีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอย่างมาก คือ โรคอียูเอส เป็นโรคที่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวังและควบคุมขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศหรือ OIE สำหรับประเทศไทยมักจะรู้จักโรคนี้ในชื่อของโรคระบาดปลาหรือโรคเน่าเปื่อย โดยลักษณะอาการที่ปรากฏภายนอกของปลาที่ป่วยเป็นโรคนี้ เกษตรกรสามารถสังเกตได้จากปลาจะมีแผลเลือดออกตามซอกเกล็ด แผลเน่าเปื่อย แผลหลุดลึกกระจายตามส่วนหัวและผิวลำตัว หากนำเนื้อเยื่อบริเวณแผลมาตรวจกับกล้องจุลทัศน์จะพบเส้นใยของรา Apanomyces invadans เจริญอยู่ เส้นใยของราชนิดนี้สามารถเจริญเข้าไปในกล้ามเนื้อของปลาและอวัยวะต่างๆ ทำให้เซลล์ตับ ม้าม และไตเกิดความผิดปกติ จนเสื่อมและตายได้ เชื้อราชนิดนี้มีกลไกการเกิดที่ซับซ้อน โดยบางครั้งอาจพบร่วมกับเชื้อโรคอื่นๆ เช่น ปรสิต แบคทีเรีย และไวรัส ซึ่งเพิ่มความรุนแรงของโรคได้มากขึ้น สำหรับปลาที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคชนิดนี้ได้ง่าย ได้แก่ ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาบู่ ปลาแรด ปลากระสูบ ปลาบ้า และปลาสร้อย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มียาและสารเคมีที่จะใช้ฆ่าเชื้อราที่ฝังอยู่ในเนื้อเยื่อปลาได้ แต่ถ้าน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น เชื้อราต่างๆ จะเจริญเติบโตช้าลง ในขณะเดียวกันปลาก็จะมีภูมิต้านทานโรคเพิ่มขึ้นและจะหายป่วยได้เองในระยะต่อมา
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (17 - 23 พ.ย. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,175.78 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 702.74 ตัน สัตว์น้ำจืด 473.04 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.46 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.71 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 99.03 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 36.89 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 72.91 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.59 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.48 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.08 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 126.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 127.69 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.79 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.99 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.29 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 8 - 14 ธ.ค. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 10-16 ธันวาคม 2550--
-พห-