สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) แจงความคืบหน้าการเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน — ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ครั้งที่ 12 ระหว่าง 10-14 ธ.ค. 50 ณ ประเทศกัมพูชา ยังไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ ด้าน สศก. ย้ำถึงจุดยืนแนวทางความตกลงที่เคยทำไว้แล้วกับ 2 ประเทศ เผย กำหนดเจรจาครั้งต่อไป 3-7 มี.ค. 51
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดเผยความคืบหน้าในการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน — ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ครั้งที่ 12 ซึ่งล่าสุดได้จัดให้มีขึ้นระหว่าง 10-14 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา ณ ประเทศกัมพูชา ผลสรุปว่า ผู้แทนจากอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับวิธีการลดภาษีสินค้าสำหรับอาเซียนเดิม (บูรไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) แต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ จึงตกลงให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเพิ่มเติม พร้อมทั้งให้มีการเจรจาแบบทวิภาคีควบคู่กันไประหว่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ กับประเทศที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติในการลดภาษีได้ (คือ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย) ทั้งนี้ รัฐมนตรีอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ได้ตั้งเป้าหมายให้การเจรจาในสาระสำคัญเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2551 เพื่อให้สามารถลงนามความตกลงได้ระหว่างการประชุม AEM-CER Consultations ในเดือนสิงหาคม 2551
นายอภิชาต เผยต่อไปว่า แม้ว่าการเจรจาจะยังไม่คืบหน้ามากนัก แต่ในส่วนของท่าทีในการเจรจาของประเทศไทยในการเปิดตลาดสินค้าเกษตรภายใต้กรอบนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้มีแนวทางที่ชัดเจนว่าจะยึดถือแนวทางตามความตกลงที่ไทยได้ทำไว้แล้ว ภายใต้การจัดทำเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย และการจัดทำเขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ เป็นบรรทัดฐานในการเจรจาต่อไป แม้ว่าจะได้รับแรงกดดันจากประเทศบรูไน และสิงคโปร์ ที่ต้องการเร่งลดภาษีให้เร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้กำหนดเจรจากันในรอบต่อไประหว่างวันที่ 3-7 มีนาคม 2551
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดเผยความคืบหน้าในการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน — ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ครั้งที่ 12 ซึ่งล่าสุดได้จัดให้มีขึ้นระหว่าง 10-14 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา ณ ประเทศกัมพูชา ผลสรุปว่า ผู้แทนจากอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับวิธีการลดภาษีสินค้าสำหรับอาเซียนเดิม (บูรไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) แต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ จึงตกลงให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเพิ่มเติม พร้อมทั้งให้มีการเจรจาแบบทวิภาคีควบคู่กันไประหว่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ กับประเทศที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติในการลดภาษีได้ (คือ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย) ทั้งนี้ รัฐมนตรีอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ได้ตั้งเป้าหมายให้การเจรจาในสาระสำคัญเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2551 เพื่อให้สามารถลงนามความตกลงได้ระหว่างการประชุม AEM-CER Consultations ในเดือนสิงหาคม 2551
นายอภิชาต เผยต่อไปว่า แม้ว่าการเจรจาจะยังไม่คืบหน้ามากนัก แต่ในส่วนของท่าทีในการเจรจาของประเทศไทยในการเปิดตลาดสินค้าเกษตรภายใต้กรอบนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้มีแนวทางที่ชัดเจนว่าจะยึดถือแนวทางตามความตกลงที่ไทยได้ทำไว้แล้ว ภายใต้การจัดทำเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย และการจัดทำเขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ เป็นบรรทัดฐานในการเจรจาต่อไป แม้ว่าจะได้รับแรงกดดันจากประเทศบรูไน และสิงคโปร์ ที่ต้องการเร่งลดภาษีให้เร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้กำหนดเจรจากันในรอบต่อไประหว่างวันที่ 3-7 มีนาคม 2551
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-