สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร แนะเกษตรกรใช้พื้นที่เพาะปลูกเสมือนที่กักเก็บคาร์บอนธรรมชาติ อาทิ การใช้มูลสัตว์แทนปุ๋ยเคมี การเพาะปลูกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การลดการไถนา และการใช้ปุ๋ยพืชสด เพื่อลดปัญหาโลกร้อน เผย ผลวิจัยในสหรัฐฯ พบ สามารถช่วยกักเก็บการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากถึง 0.52 ตัน /เฮคเตอร์/ปี
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากกระแสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ส่งผลให้ทุกภาคส่วนตื่นตัวในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างมาก โดยทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้สืบค้นงานวิจัยที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การกักเก็บการปล่อยก๊าซคาร์บอนในพื้นที่เกษตรกรรม ก่อนปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลกนับเป็นวิธีที่เป็นธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าการใช้เทคโนโลยีอื่นๆ โดยจะใช้พื้นที่เพาะปลูกเสมือนที่กักเก็บคาร์บอนธรรมชาติ ซึ่งสามารถกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าในชั้นบรรยากาศถึงสองเท่า
สำหรับระบบและกิจกรรมทางการเกษตร จะมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนและขบวนการที่เปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไปเป็นของแข็งอย่างต่อเนื่อง และเมื่อการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนเป็นของแข็งมีปริมาณมากกว่าการปลดปล่อยไปสู่บรรยากาศ จึงมีจำนวนคาร์บอนที่จำเป็นต้องมีการกักเก็บเพิ่มขึ้น การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง อาทิ การใช้มูลสัตว์แทนปุ๋ยเคมี การเพาะปลูกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การลดการไถนา และการใช้ปุ๋ยพืชสด เป็นต้น โดยกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นการช่วยฟื้นฟูและส่งผลประโยชน์ให้พื้นที่เกษตรกรรม เช่น เพิ่มปริมาณสารอาหารโครงสร้างและในดินอีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับผลการวิจัยในสหรัฐอเมริกาที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรใน การแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้ชี้ให้เห็นว่า การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมดังกล่าวสามารถ ช่วยกักเก็บการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากถึง 0.52 ตัน /เฮคเตอร์/ปี อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมยังมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงและยังไม่สามารถปฏิบัติได้สำหรับเกษตรกรที่ยากจน แต่หากว่าการกักเก็บก๊าซคาร์บอนสามารถทำได้ในปริมาณ ที่มากพอ ก็สามารถจะนำรายได้จากการทำคาร์บอนเครดิต มาหักลบกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเด็นที่ท้าทายสำหรับการทำงานวิจัยเชิงต่อยอดสำหรับการการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมในประเทศไทยต่อไป นายอภิชาตกล่าวทิ้งท้าย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากกระแสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ส่งผลให้ทุกภาคส่วนตื่นตัวในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างมาก โดยทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้สืบค้นงานวิจัยที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การกักเก็บการปล่อยก๊าซคาร์บอนในพื้นที่เกษตรกรรม ก่อนปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลกนับเป็นวิธีที่เป็นธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าการใช้เทคโนโลยีอื่นๆ โดยจะใช้พื้นที่เพาะปลูกเสมือนที่กักเก็บคาร์บอนธรรมชาติ ซึ่งสามารถกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าในชั้นบรรยากาศถึงสองเท่า
สำหรับระบบและกิจกรรมทางการเกษตร จะมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนและขบวนการที่เปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไปเป็นของแข็งอย่างต่อเนื่อง และเมื่อการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนเป็นของแข็งมีปริมาณมากกว่าการปลดปล่อยไปสู่บรรยากาศ จึงมีจำนวนคาร์บอนที่จำเป็นต้องมีการกักเก็บเพิ่มขึ้น การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง อาทิ การใช้มูลสัตว์แทนปุ๋ยเคมี การเพาะปลูกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การลดการไถนา และการใช้ปุ๋ยพืชสด เป็นต้น โดยกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นการช่วยฟื้นฟูและส่งผลประโยชน์ให้พื้นที่เกษตรกรรม เช่น เพิ่มปริมาณสารอาหารโครงสร้างและในดินอีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับผลการวิจัยในสหรัฐอเมริกาที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรใน การแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้ชี้ให้เห็นว่า การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมดังกล่าวสามารถ ช่วยกักเก็บการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากถึง 0.52 ตัน /เฮคเตอร์/ปี อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมยังมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงและยังไม่สามารถปฏิบัติได้สำหรับเกษตรกรที่ยากจน แต่หากว่าการกักเก็บก๊าซคาร์บอนสามารถทำได้ในปริมาณ ที่มากพอ ก็สามารถจะนำรายได้จากการทำคาร์บอนเครดิต มาหักลบกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเด็นที่ท้าทายสำหรับการทำงานวิจัยเชิงต่อยอดสำหรับการการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมในประเทศไทยต่อไป นายอภิชาตกล่าวทิ้งท้าย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-