สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 31 ส.ค. - 6 ก.ย. 61
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming) 5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ 7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(2) ด้านการตลาด มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
1.2 ราคา
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,186 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,190 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,500 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,445 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,090 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,136 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,937 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,139 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,921 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 16 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,104 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 411 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,323 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.95 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 219 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 391 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,714 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 397 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,869 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 155 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,104 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 408 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,225 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.23 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 121 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.5154
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (the General Statistics Office; GSO) รายงานว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-สิงหาคม) เวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 4.43 ล้านตัน มูลค่า 2.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 และร้อยละ 23.6 เมื่อเทียบกับในช่วง 8 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา โดยในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีการส่งออกข้าวประมาณ 500,000 ตัน มูลค่าประมาณ 236 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทางด้านกระทรวงเกษตร (The Ministry of Agriculture and Rural Development; MARD) รายงานว่าในช่วง 8 เดือนแรก เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 4.37 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยในเดือนสิงหาคมคาดว่า มีการส่งออกข้าวประมาณ 658,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 72 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 48 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ภาวะราคาข้าวขาว 5% ในสัปดาห์ที่ผ่านมาทรงตัวอยู่ที่ระดับ 395-400 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ติดต่อกันเป็น สัปดาห์ที่ 4 ท่ามกลางภาวะการค้าที่ชะลอลง ขณะที่วงการค้าคาดว่า ราคาข้าวมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น เนื่องจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวฤดูการผลิตฤดูร้อน (The summer-autumn crop) ใกล้เสร็จสิ้นลงแล้ว ประกอบกับมีกระแสข่าวที่ประเทศในแถบเอเชียกำลังมีความต้องการนำเข้าข้าวมากขึ้น
ขณะที่มีรายงานว่า การเพาะปลูกในฤดูถัดไปคือฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูหนาว (the autumn-winter crop) ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (the Mekong Delta) กำลังประสบปัญหาจากการที่มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องจนทำให้ต้องเลื่อนการเพาะปลูกออกไป
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
มีรายงานว่าในช่วงฤดูมรสุมของปีนี้ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมถึงกลางเดือนกันยายน ปากีสถานได้รับ ปริมาณน้ำฝนที่ต่ำกว่าระดับปกติประมาณร้อยละ 47 ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวในปีนี้
ทั้งนี้ มีรายงานว่าในปีนี้พื้นที่เพาะปลูกข้าวที่สำคัญของปากีสถานมีน้ำในระบบชลประทานไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกข้าว เนื่องจากฝนตกน้อยกว่าปกติส่งผลให้บางพื้นที่การเพาะปลูกเป็นไปอย่างล่าช้า และยังทำให้ เกษตรกรบางส่วนมีความกังวลว่าสภาพอากาศที่แห้งแล้งจะทำให้ต้นข้าวตายเพราะขาดน้ำ
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมพื้นฐานเกษตร (the Agriculture and Agro-based Industry Minister) ระบุว่า รัฐบาลมาเลเซียได้ตั้งเป้าที่จะพึ่งพาผลผลิตข้าวที่ผลิตได้ในประเทศให้ได้ถึงร้อยละ 80 ของความ ต้องการบริโภคภายในปี 2565 จากปัจจุบันที่สามารถพึ่งพาผลผลิตข้าวในประเทศได้ประมาณร้อยละ 70 แล้ว โดย รัฐบาลได้วางแผนที่จะเพิ่มผลผลิตข้าวโดยการเพิ่มสายพันธุ์ข้าวและปุ๋ยให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะมีการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยมากขึ้นจากประเทศจีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่ามาเลเซียยังคงต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีอุปทานข้าวเพียงพอสำหรับการบริโภคประกอบกับผู้บริโภคบางส่วนยังคงนิยมบริโภคข้าวต่างประเทศ เช่น ข้าวบาสมาติเป็นต้น
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร