สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยสถานการณ์ราคาข้าวเหนียวในขณะนี้ส่อแววลดต่ำลงและมีแนวโน้มจะลดลงไปอีก เตือนเกษตรกรไม่ควรเสี่ยงในการขยายเนื้อที่เพาะปลูกมากขึ้นอีก แนะควรแบ่งพื้นที่ปลูกข้าวชนิดอื่นที่มีตลาดรองรับได้กว้างกว่า
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังได้รับรายงานของสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกวางโจว ประเทศจีน ซึ่งระบุว่า การนำเข้าและส่งออกของประเทศจีนในปี 2550 สามไตรมาสแรกมีการส่งออกข้าวสาร 871,000 ตัน แต่นำเข้าเพียง 332,000 ตันเท่านั้น ไทยในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก ต้องตระหนักว่าราคาข้าวเหนียวที่พุ่งสูงขึ้นในช่วง 1 — 2 ปีที่ผ่านมานั้น มีสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับจีนอย่างไร ซึ่งโดยปกติแล้วไทยจะส่งออกข้าวเหนียวทั้งหมด ปีละประมาณ 2 แสนตันข้าวสาร ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ที่ซื้อเกิน 1 หมื่นตันขึ้นไป เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ จะซื้อข้าวเหนียวจากไทยในปริมาณค่อนข้างสม่ำเสมออยู่ทุกปี
แต่สำหรับจีนที่เคยซื้อข้าวเหนียวจากไทยปีละหมื่นกว่าตัน ได้ซื้อข้าวเหนียวเพิ่มขึ้นเป็น 6 หมื่นกว่าตัน ในปี 2548 และแสนสองพันตัน ในปี 2549 ซึ่งในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีประเทศใดที่ซื้อข้าวเหนียวจากไทยเกินกว่าแสนตัน (ยกเว้นอินโดนีเซีย ในปี 2542 และ 2546 เท่านั้น) ทำให้ราคาข้าวเหนียวในประเทศพุ่งกระฉูดจากเกวียนละ 7,000 กว่าบาท เป็น 1.2 — 1.3 หมื่นบาท จึงส่งผลด้านจิตวิทยาต่อเกษตรกรทันที และทำให้เนื้อที่เพาะปลูกข้าวเหนียวนาปีเพิ่มขึ้นล้านกว่าไร่ โดยมีผลผลิตเพิ่มกว่า 5 แสนตัน รวมกับข้าวเหนียวในฤดูนาปรังที่เพิ่มเกือบสองแสนไร่ และมีผลผลิตเพิ่มกว่า 8 แสนตัน รวมแล้วผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 1.3 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็น 0.9 ล้านตันข้าวสาร
ซึ่งปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้คือ ความไม่ยั่งยืนของราคาข้าวเหนียวที่ได้เริ่มแสดงอาการให้เห็นแล้วก็คือราคาที่เริ่มตกต่ำลง โดยข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ระบุว่าเดือนตุลาคม ราคาข้าวเปลือกอยู่ที่เกวียนละ 11,680 บาท เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน สัปดาห์แรกอยู่ที่เกวียนละ 10,100 บาท สัปดาห์สุดท้ายของเดือนอยู่ที่เกวียนละ 9,500 บาท และต้นเดือนธันวาคม ราคาอยู่ที่เกวียนละ 8,868 บาท จากสาเหตุหลัก ๆ คือ การเพิ่มของผลผลิตที่สนองตอบราคา ปริมาณที่จีนลดการนำเข้าอย่างรวดเร็ว โดยปี 2550 จีนนำเข้าจากไทยพียง 5 พันกว่าตันข้าวสาร ประกอบกับระยะนี้เป็นช่วงเก็บเกี่ยวทำให้ผลผลิตเข้าสู่ตลาดอย่างมาก หากเกษตรกรปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ ก็จะลดความเสียหายลงไปได้บ้าง
นายอภิชาต กล่าวเพิ่มเติมว่า ก่อนที่เกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะประสบความเสียหายมากไปกว่าที่ได้ปลูกไปแล้วในข้าวนาปี ปี 2550 / 51 ที่กำลังจะผ่านพ้นไปนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จึงขอเตือนเกษตรกรที่กำลังจะขยายเนื้อที่เพาะปลูกข้าวเหนียวในฤดูนาปรังนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข้าวเหนียวสันป่าตอง 1 ซึ่งเป็นข้าวชนิดไม่ไวต่อแสง รวมทั้งในฤดูนาปีของปีต่อไปว่า ไม่ควรเสี่ยงในการขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น หรือหากจะเสี่ยงบ้าง ก็ควรลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด โดยการแบ่งพื้นที่ไปปลูกข้าวชนิดอื่นที่มีตลาดรองรับกว้างกว่า เช่น ข้าวเจ้าหอมอื่น ๆ หรือข้าวที่สามารถนำไปผลิตข้าวนึ่งส่งขายในประเทศอื่น ๆ เช่น อัฟริกา ตะวันออกกลาง จะทำให้เกษตรกรไม่เสี่ยงต่อภาวะการขาดทุนโดยไม่จำเป็น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังได้รับรายงานของสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกวางโจว ประเทศจีน ซึ่งระบุว่า การนำเข้าและส่งออกของประเทศจีนในปี 2550 สามไตรมาสแรกมีการส่งออกข้าวสาร 871,000 ตัน แต่นำเข้าเพียง 332,000 ตันเท่านั้น ไทยในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก ต้องตระหนักว่าราคาข้าวเหนียวที่พุ่งสูงขึ้นในช่วง 1 — 2 ปีที่ผ่านมานั้น มีสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับจีนอย่างไร ซึ่งโดยปกติแล้วไทยจะส่งออกข้าวเหนียวทั้งหมด ปีละประมาณ 2 แสนตันข้าวสาร ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ที่ซื้อเกิน 1 หมื่นตันขึ้นไป เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ จะซื้อข้าวเหนียวจากไทยในปริมาณค่อนข้างสม่ำเสมออยู่ทุกปี
แต่สำหรับจีนที่เคยซื้อข้าวเหนียวจากไทยปีละหมื่นกว่าตัน ได้ซื้อข้าวเหนียวเพิ่มขึ้นเป็น 6 หมื่นกว่าตัน ในปี 2548 และแสนสองพันตัน ในปี 2549 ซึ่งในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีประเทศใดที่ซื้อข้าวเหนียวจากไทยเกินกว่าแสนตัน (ยกเว้นอินโดนีเซีย ในปี 2542 และ 2546 เท่านั้น) ทำให้ราคาข้าวเหนียวในประเทศพุ่งกระฉูดจากเกวียนละ 7,000 กว่าบาท เป็น 1.2 — 1.3 หมื่นบาท จึงส่งผลด้านจิตวิทยาต่อเกษตรกรทันที และทำให้เนื้อที่เพาะปลูกข้าวเหนียวนาปีเพิ่มขึ้นล้านกว่าไร่ โดยมีผลผลิตเพิ่มกว่า 5 แสนตัน รวมกับข้าวเหนียวในฤดูนาปรังที่เพิ่มเกือบสองแสนไร่ และมีผลผลิตเพิ่มกว่า 8 แสนตัน รวมแล้วผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 1.3 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็น 0.9 ล้านตันข้าวสาร
ซึ่งปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้คือ ความไม่ยั่งยืนของราคาข้าวเหนียวที่ได้เริ่มแสดงอาการให้เห็นแล้วก็คือราคาที่เริ่มตกต่ำลง โดยข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ระบุว่าเดือนตุลาคม ราคาข้าวเปลือกอยู่ที่เกวียนละ 11,680 บาท เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน สัปดาห์แรกอยู่ที่เกวียนละ 10,100 บาท สัปดาห์สุดท้ายของเดือนอยู่ที่เกวียนละ 9,500 บาท และต้นเดือนธันวาคม ราคาอยู่ที่เกวียนละ 8,868 บาท จากสาเหตุหลัก ๆ คือ การเพิ่มของผลผลิตที่สนองตอบราคา ปริมาณที่จีนลดการนำเข้าอย่างรวดเร็ว โดยปี 2550 จีนนำเข้าจากไทยพียง 5 พันกว่าตันข้าวสาร ประกอบกับระยะนี้เป็นช่วงเก็บเกี่ยวทำให้ผลผลิตเข้าสู่ตลาดอย่างมาก หากเกษตรกรปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ ก็จะลดความเสียหายลงไปได้บ้าง
นายอภิชาต กล่าวเพิ่มเติมว่า ก่อนที่เกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะประสบความเสียหายมากไปกว่าที่ได้ปลูกไปแล้วในข้าวนาปี ปี 2550 / 51 ที่กำลังจะผ่านพ้นไปนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จึงขอเตือนเกษตรกรที่กำลังจะขยายเนื้อที่เพาะปลูกข้าวเหนียวในฤดูนาปรังนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข้าวเหนียวสันป่าตอง 1 ซึ่งเป็นข้าวชนิดไม่ไวต่อแสง รวมทั้งในฤดูนาปีของปีต่อไปว่า ไม่ควรเสี่ยงในการขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น หรือหากจะเสี่ยงบ้าง ก็ควรลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด โดยการแบ่งพื้นที่ไปปลูกข้าวชนิดอื่นที่มีตลาดรองรับกว้างกว่า เช่น ข้าวเจ้าหอมอื่น ๆ หรือข้าวที่สามารถนำไปผลิตข้าวนึ่งส่งขายในประเทศอื่น ๆ เช่น อัฟริกา ตะวันออกกลาง จะทำให้เกษตรกรไม่เสี่ยงต่อภาวะการขาดทุนโดยไม่จำเป็น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-