สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 14 - 20 ก.ย. 61
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming) 5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ 7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการ นบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,800 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,243 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.21
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,556 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,490 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.88
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,090 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,142 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,892 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,135 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,915 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 23 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 406 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,116 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,107 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 9 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 394 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,728 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 391 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,717 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 11 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 406 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,116 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,107 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 9 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.3049
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ภาวะราคาข้าวขาว 5% ในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 400-405 ดอลลาร์สหรัฐ จากตันละ 397-403 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากอุปทานข้าวในตลาดอยู่ในภาวะค่อนข้างตึงตัวจากการเกิดน้ำท่วมและฝนตกในพื้นที่เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (the Mekong Delta) ประกอบกับมีข่าวว่าฟิลิปปินส์จะซื้อข้าวเพิ่มเติมอีก 133,500 ตัน และจะประมูลซื้อข้าวอีก 250,000 ตัน
กระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture and Rural Development; MARD) รายงานว่า ขณะนี้หลายจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศเก็บเกี่ยวข้าวฤดูการผลิต the summer-autumn crop แล้ว 6 ล้านไร่ โดยเฉพาะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (Mekong Delta) เก็บเกี่ยวแล้วประมาณ 5.52 ล้านไร่ (พื้นที่เพาะปลูกฤดูนี้ทั้งประเทศประมาณ 12.75 ล้านไร่ แบ่งเป็นภาคเหนือประมาณ 1.04 ล้านไร่ และภาคใต้11.69 ล้านไร่) ทั้งนี้ คาดว่ามีผลผลิตข้าวเปลือก
ในจังหวัดทางภาคใต้ที่เก็บเกี่ยวจำนวน 11.2 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (The Department of Agriculture) เปิดเผยว่า พายุไต้ฝุ่นมังคุดสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตข้าวเปลือกมากถึง 250,730 ตัน และข้าวโพดอีก 1,204 ตัน หลังพายุพัดถล่มจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศเมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเบื้องต้นกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (The Department of Agriculture) ประเมินความเสียหายด้านการเกษตรเป็นมูลค่าประมาณ 9.6 พันล้านเปโซ หรือประมาณ 177 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นมากกว่าที่เคยพยากรณ์ไว้ก่อนหน้านี้ถึงร้อยละ 60 อย่างไรก็ตามทางการคาดว่า มูลค่าความเสียหายอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 11-12 พันล้านเปโซ ซึ่งทางการต้องรอรายงานความเสียหายจากหน่วยงานในพื้นที่อีกครั้ง ก่อนที่จะสรุปความเสียหายทั้งหมดได้
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน จากภาวการณ์ค้าที่ค่อนข้างซบเซา ประกอบกับค่าเงินรูปียังคงมีทิศทางอ่อนค่าลงนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงแล้วประมาณร้อยละ 13 โดยราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 371-375 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากตันละ 376-380 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาข้าวยังคงมีทิศทางปรับลดลง ส่งผลให้ผู้ซื้อจากต่างประเทศชะลอการซื้อข้าวในช่วงนี้ เพราะคาดว่าราคาข้าวยังคงมีแนวโน้มอ่อนตัวลงอีก
กระทรวงเกษตร รายงานว่า การเพาะปลูกข้าวในฤดูการผลิต Kharif (มิถุนายน-ธันวาคม) ของปีการผลิต 2561/62 ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2561 มีการเพาะปลูกแล้วประมาณ 238.69 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.3
เมื่อเทียบกับเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งในปีนี้ฤดูมรสุมที่พัดเอาลมฝนจากด้านตะวันตกเฉียงใต้เข้ามาในประทศซึ่งจำเป็นต่อ การเพาะปลูกข้าวในฤดูการผลิต Kharif ปรากฏว่ามาเร็วกว่าปกติ แต่การกระจายตัวของฝนยังไม่ดีนัก
กรมอุตุนิยมวิทยา (the Indian Meteorological Department; IMD) รายงานว่า วันที่ 18 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา อินเดียมีปริมาณฝนตกต่ำกว่าระดับปกติประมาณร้อยละ 10 โดยฝนที่ตกบริเวณคาบสมุทรทางภาคใต้มีปริมาณสูงกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 1 ขณะที่ในภาคกลาง ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตก
ในระดับที่ต่ำกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 6 ร้อยละ 6 และร้อยละ 24 ตามลำดับ ทั้งนี้ ฤดูมรสุมของอินเดียจะอยู่ในช่วง ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายนถึง 30 กันยายน ซึ่งฝนที่ตกในช่วงเวลานี้มีความจำเป็นต่อการเพาะปลูกพืชของอินเดียในฤดูการผลิต Kharif
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร