สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมกับ IFAD จัด workshop หลักสูตร Logical Framework Approch หรือวิธีการกรอบตรรกะ ให้กับเจ้าหน้าที่ หวัง ปรับใช้ในการวางแผนโครงการ และติดตามประเมินผลโครงการด้านการเกษตรต่างๆ ให้ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 (สศข.6) จังหวัดชลบุรี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกับกองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (International Fund for Agicultural Development: IFAD) ที่ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้กับเจ้าหน้าที่ศูนย์ประเมินผล และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรทั้ง 9 เขต ในหลักสูตร “Logical Framework Approch” หรือวิธีการกรอบตรรกะ เมื่อวันที่ 12 — 14 ธันวาคม 2550 โดยได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรของ IFAD 2 ท่าน ได้แก่ Mr. Ron Hartman และ Ms. Silvia Guizzardi รวมทั้งวิทยากรของประเทศไทยอีก 1 ท่าน คือ ดร. สมพร หาญพงพันธ์ ซึ่งส่วนหนึ่งของเนื้อหาหลักสูตรที่สำคัญ คือ การวิเคราะห์ปัญหา โดยวิธี Problem Tree และการแก้ปัญหาโดยวิธี Objective Tree
การวิเคราะห์ปัญหาด้วยวิธี Problem Tree เป็นการวิเคราะห์หาสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยพิจารณาว่าปัญหามีอะไรบ้าง เกิดจากสาเหตุใด ปัญหาใดเป็นปัญหาที่สำคัญ และหาผลของปัญหานั้น โดยรู้จักนำสาเหตุและผลของปัญหามาจัดเรียงในแนวดิ่งตามความเกี่ยวข้องกัน ส่วนการแก้ปัญหาโดยวิธี Objective Tree เป็นการเปลี่ยนปัญหาที่ไม่พึงประสงค์หรือเป็นปัญหาลบ ให้เป็นสิ่งที่พึงประสงค์หรือเป็นบวกขึ้นมา เช่น ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง การแก้ปัญหาคือการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งก็จะต้องคิดต่อไปว่า กิจกรรมที่จะต้องทำเพื่อลดต้นทุนการผลิตมีอะไรบ้าง แล้วจึงดำเนินกิจกรรมเหล่านั้นเพื่อให้เกิดผลตามที่ตั้งไว้
ด้านนายมณฑล เจียมเจริญ โฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการฝึกอบรมดังกล่าวว่า นับเป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการความร่วมมือระหว่าง สศก. กับ IFAD ซึ่งจัดโดยศูนย์ประเมินผล ภายใต้แผนงานเพิ่มขีดความสามารถด้านติดตามประเมินผล โดยทาง IFAD ได้ให้การสนับสนุนเงินทุนแบบให้เปล่าและความรู้ด้านวิชาการแก่เจ้าหน้าที่ สศก. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ในด้านการติดตามและประเมินผล แบบมีเป้าหมายระยะยาว เพื่อให้ สศก. เป็นศูนย์กลางด้านการติดตามและประเมินผลสำหรับประเทศไทยและระดับภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ มีระยะดำเนินการช่วงแรก 1 ปี ตั้งแต่ กันยายน 2550 จนถึง กันยายน 2551 นี้ ซึ่งคาดว่า รูปแบบการวิเคราะห์ตามหลักสูตรดังกล่าว จะสามารถนำมาปรับใช้ พัฒนาในการวางแผนโครงการ และติดตามการประเมินผลโครงการด้านการเกษตรต่างๆ เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 (สศข.6) จังหวัดชลบุรี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกับกองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (International Fund for Agicultural Development: IFAD) ที่ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้กับเจ้าหน้าที่ศูนย์ประเมินผล และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรทั้ง 9 เขต ในหลักสูตร “Logical Framework Approch” หรือวิธีการกรอบตรรกะ เมื่อวันที่ 12 — 14 ธันวาคม 2550 โดยได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรของ IFAD 2 ท่าน ได้แก่ Mr. Ron Hartman และ Ms. Silvia Guizzardi รวมทั้งวิทยากรของประเทศไทยอีก 1 ท่าน คือ ดร. สมพร หาญพงพันธ์ ซึ่งส่วนหนึ่งของเนื้อหาหลักสูตรที่สำคัญ คือ การวิเคราะห์ปัญหา โดยวิธี Problem Tree และการแก้ปัญหาโดยวิธี Objective Tree
การวิเคราะห์ปัญหาด้วยวิธี Problem Tree เป็นการวิเคราะห์หาสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยพิจารณาว่าปัญหามีอะไรบ้าง เกิดจากสาเหตุใด ปัญหาใดเป็นปัญหาที่สำคัญ และหาผลของปัญหานั้น โดยรู้จักนำสาเหตุและผลของปัญหามาจัดเรียงในแนวดิ่งตามความเกี่ยวข้องกัน ส่วนการแก้ปัญหาโดยวิธี Objective Tree เป็นการเปลี่ยนปัญหาที่ไม่พึงประสงค์หรือเป็นปัญหาลบ ให้เป็นสิ่งที่พึงประสงค์หรือเป็นบวกขึ้นมา เช่น ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง การแก้ปัญหาคือการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งก็จะต้องคิดต่อไปว่า กิจกรรมที่จะต้องทำเพื่อลดต้นทุนการผลิตมีอะไรบ้าง แล้วจึงดำเนินกิจกรรมเหล่านั้นเพื่อให้เกิดผลตามที่ตั้งไว้
ด้านนายมณฑล เจียมเจริญ โฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการฝึกอบรมดังกล่าวว่า นับเป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการความร่วมมือระหว่าง สศก. กับ IFAD ซึ่งจัดโดยศูนย์ประเมินผล ภายใต้แผนงานเพิ่มขีดความสามารถด้านติดตามประเมินผล โดยทาง IFAD ได้ให้การสนับสนุนเงินทุนแบบให้เปล่าและความรู้ด้านวิชาการแก่เจ้าหน้าที่ สศก. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ในด้านการติดตามและประเมินผล แบบมีเป้าหมายระยะยาว เพื่อให้ สศก. เป็นศูนย์กลางด้านการติดตามและประเมินผลสำหรับประเทศไทยและระดับภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ มีระยะดำเนินการช่วงแรก 1 ปี ตั้งแต่ กันยายน 2550 จนถึง กันยายน 2551 นี้ ซึ่งคาดว่า รูปแบบการวิเคราะห์ตามหลักสูตรดังกล่าว จะสามารถนำมาปรับใช้ พัฒนาในการวางแผนโครงการ และติดตามการประเมินผลโครงการด้านการเกษตรต่างๆ เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-