สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์ผลผลิตพืชอาหารปี 51 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 50 ประมาณร้อยละ 4.5 จูงใจเกษตรกรขยายผลผลิต หันเอาใจใส่บำรุงยิ่งขึ้น พร้อม เตรียมหารือ วางแผนระยะยาวแก้ปัญหาการนำพืชอาหารไปทำพืชทดแทนพลังงานเพื่อกำหนดเป็นนโยบายให้ชัดเจนต่อไป
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการ และโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีผลผลิตหมวดพืชอาหาร คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 115.4 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 120.6 ในปี 2551 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ทั้งนี้ เนื่องมาจากผลผลิตหมวดพืชอาหารตัวหลักมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่นอ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวนาปีและถั่วเขียว ทำให้ดัชนีผลผลิตของพืชอาหารเหล่านี้ขยายตัวเพิ่มร้อยละ 13.3, 6.0, 4.4, 3.1 และ 1.3 ตามลำดับ ส่วนข้าวนาปรังจะมีดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 4.2 เนื่องจากพื้นที่ปลูกลดลงประมาณ 5 แสนไร่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทาน และส่วนหนึ่งปรับเปลี่ยนไปปลูกไม้ยืนต้น อาทิ ยางพารา ทำให้ผลผลิตข้าวนาปรังลดลงตามเนื้อที่ปลูกที่ลดลง
นายมณฑล กล่าวเพิ่มเติมว่า จากความกังวลที่จะมีการนำพืชอาหารบางตัว เช่น อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ไปทำพืชทดแทนพลังงาน อาจจะทำให้ผลผลิตพืชอาหารไม่เพียงพอต่อการใช้เป็นพืชอาหารทั้งในประเทศและส่งออกนั้น ในระยะสั้น คาดว่าน่าจะยังไม่มีปัญหา แต่ในระยะยาว ทาง สศก. และกระทรวงเกษตรฯ จะได้ร่วมหารือ และวางแผนร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องรวมทั้ง ภาคการผลิต และภาคเอกชน เพื่อกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ และตัวเกษตรกรผู้ผลิตให้มากที่สุดต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการ และโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีผลผลิตหมวดพืชอาหาร คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 115.4 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 120.6 ในปี 2551 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ทั้งนี้ เนื่องมาจากผลผลิตหมวดพืชอาหารตัวหลักมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่นอ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวนาปีและถั่วเขียว ทำให้ดัชนีผลผลิตของพืชอาหารเหล่านี้ขยายตัวเพิ่มร้อยละ 13.3, 6.0, 4.4, 3.1 และ 1.3 ตามลำดับ ส่วนข้าวนาปรังจะมีดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 4.2 เนื่องจากพื้นที่ปลูกลดลงประมาณ 5 แสนไร่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทาน และส่วนหนึ่งปรับเปลี่ยนไปปลูกไม้ยืนต้น อาทิ ยางพารา ทำให้ผลผลิตข้าวนาปรังลดลงตามเนื้อที่ปลูกที่ลดลง
นายมณฑล กล่าวเพิ่มเติมว่า จากความกังวลที่จะมีการนำพืชอาหารบางตัว เช่น อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ไปทำพืชทดแทนพลังงาน อาจจะทำให้ผลผลิตพืชอาหารไม่เพียงพอต่อการใช้เป็นพืชอาหารทั้งในประเทศและส่งออกนั้น ในระยะสั้น คาดว่าน่าจะยังไม่มีปัญหา แต่ในระยะยาว ทาง สศก. และกระทรวงเกษตรฯ จะได้ร่วมหารือ และวางแผนร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องรวมทั้ง ภาคการผลิต และภาคเอกชน เพื่อกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ และตัวเกษตรกรผู้ผลิตให้มากที่สุดต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-