เกษตรกรยิ้มรับปีใหม่ หลังสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยราคาหอมแดงปีนี้อยู่ในเกณฑ์ดี แม้ผลผลิตจะลดลง แต่ตลาดยังมีความต้องการทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่กำลังประสบปัญหาผลิตได้ไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกษตรกรไทยมีรายได้สูงขึ้นตามไปด้วย
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ผลผลิตหอมแดง ปี 2550/51 คาดว่าจะมีประมาณ 208,995 ตัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 7.27 และจากการติดตามสถานการณ์การผลิตและการตลาดหอมแดงของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในเดือนธันวาคม 2550 ที่ จ. ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดก่อนแหล่งผลิตอื่น พบว่า พื้นที่ปลูกและผลผลิตมีปริมาณใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ผลผลิตออกสู่ตลาดแล้วประมาณร้อยละ 30 และจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม ขณะที่ผลผลิตในภาคเหนือ ได้แก่ จ. เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตใหญ่ โดยมีผลผลิตรวมกันประมาณร้อยละ 70 ของผลผลิตทั้งหมด อยู่ระหว่างการเจริญเติบโตออกดอกและลงหัว คาดว่าจะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมีนาคมนี้
สำหรับการตลาดหอมแดงนั้น ราคาหอมแดงแห้งใหญ่มัดจุกที่เกษตรกรขายได้ที่ จ. ศรีสะเกษ ปลายเดือนธันวาคม 2550 กิโลกรัมละ 18 — 20 บาท ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี สาเหตุจากอินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้นำเข้าหอมแดงรายใหญ่ของไทย ประสบปัญหาผลิตได้ไม่เพียงพอ เริ่มนำเข้าหอมแดงของไทยตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา ซึ่งเร็วกว่าทุกปีที่ผ่านมา และมีคำสั่งซื้อมาอย่างสม่ำเสมอ จากสถานการณ์ดังกล่าวคาดว่า หอมแดงของแหล่งผลิตที่สำคัญใน จ. เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน และอุตรดิตถ์ ในภาคเหนือ ซึ่งกำลังจะทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป ไม่น่าจะประสบปัญหาในเรื่องราคาตกต่ำ นายอภิชาติ กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ผลผลิตหอมแดง ปี 2550/51 คาดว่าจะมีประมาณ 208,995 ตัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 7.27 และจากการติดตามสถานการณ์การผลิตและการตลาดหอมแดงของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในเดือนธันวาคม 2550 ที่ จ. ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดก่อนแหล่งผลิตอื่น พบว่า พื้นที่ปลูกและผลผลิตมีปริมาณใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ผลผลิตออกสู่ตลาดแล้วประมาณร้อยละ 30 และจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม ขณะที่ผลผลิตในภาคเหนือ ได้แก่ จ. เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตใหญ่ โดยมีผลผลิตรวมกันประมาณร้อยละ 70 ของผลผลิตทั้งหมด อยู่ระหว่างการเจริญเติบโตออกดอกและลงหัว คาดว่าจะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมีนาคมนี้
สำหรับการตลาดหอมแดงนั้น ราคาหอมแดงแห้งใหญ่มัดจุกที่เกษตรกรขายได้ที่ จ. ศรีสะเกษ ปลายเดือนธันวาคม 2550 กิโลกรัมละ 18 — 20 บาท ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี สาเหตุจากอินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้นำเข้าหอมแดงรายใหญ่ของไทย ประสบปัญหาผลิตได้ไม่เพียงพอ เริ่มนำเข้าหอมแดงของไทยตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา ซึ่งเร็วกว่าทุกปีที่ผ่านมา และมีคำสั่งซื้อมาอย่างสม่ำเสมอ จากสถานการณ์ดังกล่าวคาดว่า หอมแดงของแหล่งผลิตที่สำคัญใน จ. เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน และอุตรดิตถ์ ในภาคเหนือ ซึ่งกำลังจะทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป ไม่น่าจะประสบปัญหาในเรื่องราคาตกต่ำ นายอภิชาติ กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-