1. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาภายในประเทศ
นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าขณะนี้ปริมาณผลผลิตยางพาราในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ลดลงอย่างมาก ซึ่งเกิดจากปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้น ทำให้เกษตรกรไม่สามารถออกรีดยางตามปกติได้ ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น กระทรวงฯจึงได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ เพื่อหาแนวทางเพิ่มผลผลิตยางพาราในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งในส่วนพื้นที่ที่ยังใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่และพื้นที่ปลูกเดิม โดยมีแนวทางปฏิบัติ 4 แนวทาง คือ ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางในพื้นที่ว่างเปล่า ปรับปรุงคุณภาพยางพาราที่มีอยู่เดิม ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราในทุกจังหวัด ดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างยุติธรรม และประสานงานกับหน่วยงานด้านความมั่นคงเพื่อให้การดูแลด้านความปลอดภัยแก่เกษตรกรขณะเข้ากรีดยาง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.08 บาท สูงขึ้นจาก 74.31 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.77 บาท หรือร้อยละ 2.38
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.58 บาท สูงขึ้นจาก 73.81 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.77 บาท หรือร้อยละ 2.40
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.08 บาท สูงขึ้นจาก 73.31 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.77 บาท หรือร้อยละ 2.41
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.81 บาท สูงขึ้นจาก 72.88 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.93 บาท หรือร้อยละ 2.65
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.26 บาท สูงขึ้นจาก 72.23 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.03 หรือร้อยละ 1.43
6. ยางแผ่นดิบคละราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.74 บาท สูงขึ้นจาก 72.30 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.44 บาท หรือร้อยละ 1.99
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.53 บาท สูงขึ้นจาก 40.19 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.34 บาท หรือร้อยละ 0.85
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.94 บาท สูงขึ้นจาก 36.65 บาท ของสัปดาห์ ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.29 บาท หรือร้อยละ 0.79
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.72 บาท สูงขึ้นจาก 67.80 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.92 บาท หรือร้อยละ 4.31
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมกราคม 2551
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.85 บาท สูงขึ้นจาก 85.31 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.54 บาท หรือร้อยละ 2.98
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.99 บาท สูงขึ้นจาก 84.16 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.83 บาท หรือร้อยละ 3.36
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.89 บาท สูงขึ้นจาก 54.41 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.48 บาท หรือร้อยละ 2.72
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.89 บาท สูงขึ้นจาก 85.06 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.83 บาท หรือร้อยละ 3.33
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.74 บาท สูงขึ้นจาก 83.91 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.83 บาท หรือร้อยละ 3.37
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.64 บาท สูงขึ้นจาก 54.16 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.48 บาท หรือร้อยละ 2.73
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
สถาบันวิจัยการเกษตรและป่าไม้ของลาว ( National Agriculture and Forestry Research Institute of Laos) หรือ NAFRIL รายงานว่า มีนักลงทุนจากจีนเข้ามาทำโครงการปลูกยางพาราในลาว ในแขวงหัวพันทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แขวงเซียงขวางที่อยู่ติดกับแขวงหลวงน้ำทา พงสาลี และบ่อแก้ว ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ดับหลวงทางตอนเหนือสุดของประเทศ นักลงทุนจีนเริ่มเข้ามาทำสวนยางในลาวตั้งแต่ปี 2545 จนกระทั่ง ปี 2547 จึงเร่งระดมทุนปลูกยางเพิ่มมากขึ้น การลงทุนของนักลงทุนจีน มีทั้งรูปแบบ เช่าที่ดิน 30 ปี โดยมีการจ้างแรงงานในท้องถิ่น และทำในรูปแบบ Contract Farming โดยส่งเสริมให้เกษตรกรลาวปลูกยางพาราในที่ดินตนเอง ผู้ลงทุนรับซื้อในราคาประกัน เกษตรกรลาวที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้ปีละ 6,000 — 8,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 198,000 — 264,000 บาท) ต่อ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่) เป็นรายได้ที่ดีกว่าพืชเศรษฐกิจอื่นๆ
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมกราคม 2551
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 374.67 เซนต์สิงคโปร์(86.06 บาท) สูงขึ้นจาก 366.00 เซนต์สิงคโปร์ (83.52 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 8.67 เซนสิงคโปร์ หรือร้อยละ 2.37
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 257.00 เซนต์สหรัฐ ( 86.18 บาท) สูงขึ้นจาก 250.94 เซนต์สหรัฐ (83.90 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 6.06 เซนต์สหรัฐ หรือร้อยละ 2.41
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 295.38 เยน (86.44 บาท) สูงขึ้นจาก 287.74 เยน (84.65 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 7.64 เยน หรือร้อยละ 2.66
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 24-30 ธันวาคม 2550--
-พห-
นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าขณะนี้ปริมาณผลผลิตยางพาราในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ลดลงอย่างมาก ซึ่งเกิดจากปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้น ทำให้เกษตรกรไม่สามารถออกรีดยางตามปกติได้ ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น กระทรวงฯจึงได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ เพื่อหาแนวทางเพิ่มผลผลิตยางพาราในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งในส่วนพื้นที่ที่ยังใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่และพื้นที่ปลูกเดิม โดยมีแนวทางปฏิบัติ 4 แนวทาง คือ ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางในพื้นที่ว่างเปล่า ปรับปรุงคุณภาพยางพาราที่มีอยู่เดิม ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราในทุกจังหวัด ดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างยุติธรรม และประสานงานกับหน่วยงานด้านความมั่นคงเพื่อให้การดูแลด้านความปลอดภัยแก่เกษตรกรขณะเข้ากรีดยาง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.08 บาท สูงขึ้นจาก 74.31 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.77 บาท หรือร้อยละ 2.38
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.58 บาท สูงขึ้นจาก 73.81 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.77 บาท หรือร้อยละ 2.40
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.08 บาท สูงขึ้นจาก 73.31 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.77 บาท หรือร้อยละ 2.41
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.81 บาท สูงขึ้นจาก 72.88 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.93 บาท หรือร้อยละ 2.65
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.26 บาท สูงขึ้นจาก 72.23 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.03 หรือร้อยละ 1.43
6. ยางแผ่นดิบคละราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.74 บาท สูงขึ้นจาก 72.30 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.44 บาท หรือร้อยละ 1.99
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.53 บาท สูงขึ้นจาก 40.19 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.34 บาท หรือร้อยละ 0.85
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.94 บาท สูงขึ้นจาก 36.65 บาท ของสัปดาห์ ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.29 บาท หรือร้อยละ 0.79
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.72 บาท สูงขึ้นจาก 67.80 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.92 บาท หรือร้อยละ 4.31
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมกราคม 2551
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.85 บาท สูงขึ้นจาก 85.31 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.54 บาท หรือร้อยละ 2.98
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.99 บาท สูงขึ้นจาก 84.16 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.83 บาท หรือร้อยละ 3.36
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.89 บาท สูงขึ้นจาก 54.41 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.48 บาท หรือร้อยละ 2.72
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.89 บาท สูงขึ้นจาก 85.06 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.83 บาท หรือร้อยละ 3.33
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.74 บาท สูงขึ้นจาก 83.91 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.83 บาท หรือร้อยละ 3.37
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.64 บาท สูงขึ้นจาก 54.16 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.48 บาท หรือร้อยละ 2.73
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
สถาบันวิจัยการเกษตรและป่าไม้ของลาว ( National Agriculture and Forestry Research Institute of Laos) หรือ NAFRIL รายงานว่า มีนักลงทุนจากจีนเข้ามาทำโครงการปลูกยางพาราในลาว ในแขวงหัวพันทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แขวงเซียงขวางที่อยู่ติดกับแขวงหลวงน้ำทา พงสาลี และบ่อแก้ว ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ดับหลวงทางตอนเหนือสุดของประเทศ นักลงทุนจีนเริ่มเข้ามาทำสวนยางในลาวตั้งแต่ปี 2545 จนกระทั่ง ปี 2547 จึงเร่งระดมทุนปลูกยางเพิ่มมากขึ้น การลงทุนของนักลงทุนจีน มีทั้งรูปแบบ เช่าที่ดิน 30 ปี โดยมีการจ้างแรงงานในท้องถิ่น และทำในรูปแบบ Contract Farming โดยส่งเสริมให้เกษตรกรลาวปลูกยางพาราในที่ดินตนเอง ผู้ลงทุนรับซื้อในราคาประกัน เกษตรกรลาวที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้ปีละ 6,000 — 8,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 198,000 — 264,000 บาท) ต่อ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่) เป็นรายได้ที่ดีกว่าพืชเศรษฐกิจอื่นๆ
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมกราคม 2551
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 374.67 เซนต์สิงคโปร์(86.06 บาท) สูงขึ้นจาก 366.00 เซนต์สิงคโปร์ (83.52 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 8.67 เซนสิงคโปร์ หรือร้อยละ 2.37
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 257.00 เซนต์สหรัฐ ( 86.18 บาท) สูงขึ้นจาก 250.94 เซนต์สหรัฐ (83.90 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 6.06 เซนต์สหรัฐ หรือร้อยละ 2.41
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 295.38 เยน (86.44 บาท) สูงขึ้นจาก 287.74 เยน (84.65 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 7.64 เยน หรือร้อยละ 2.66
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 24-30 ธันวาคม 2550--
-พห-