สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 1 เผย สถานการณ์น้ำในเขื่อนแม่กวงอุดมธาราปีนี้น่าเป็นห่วงเนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนมีระดับต่ำ ไม่สามารถแจกจ่ายเกษตรกรได้เพียงพอ เตือนเกษตรกรในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน งดปลูกข้าวนาปรังในปีเพาะปลูก 2551 แนะปลูกพืชฤดูแล้งชนิดอื่นที่ใช้น้ำน้อย แต่ให้ผลผลิตเร็วแทน
นายบรรลุ จันทร์สาม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต1 (สศข.1) จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปีเพาะปลูก 2550/51 ในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน โดยการประสานงานกับโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแม่กวงอุดมธารา สำนักชลประทานที่ 1 กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนแม่กวงอุดมธาราปีนี้มีระดับต่ำมาก ทางเขื่อนไม่สามารถจ่ายน้ำให้แก่เกษตรกรเพื่อปลูกข้าวนาปรังในปีเพาะปลูก 2551 นี้ได้ เพราะจะส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำในกิจกรรมอื่น สำหรับพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากการระงับการจ่ายน้ำในครั้งนี้ได้แก่เขต อ.ดอยสะเก็ด อ.สันทราย และ อ.สันกำแพง ใน จ.เชียงใหม่ รวมทั้ง อ.บ้านธิ และ อ.เมือง ใน จ.ลำพูน
ตามปรกติความต้องการใช้น้ำชลประทานในฤดูแล้งจะมีปริมาณ 77.07 — 146.69 ล้าน ลบ.ม. แต่สถานการณ์น้ำในเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ณ วันที่ 8 มกราคม 2551 ที่ผ่านมามีปริมาณน้ำต้นทุนเพียง 78 ล้าน ลบ. ม. ลดลงจากปีที่แล้วที่มีปริมาณถึง 179 ล้าน ลบ. ม. อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ร่องมรสุมฤดูฝนที่ผ่านมาไม่พาดผ่านบริเวณเขื่อน ทำให้เขื่อนกักเก็บน้ำได้น้อย ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีนี้วัดได้เพียง 1,100 มม./ปี ในขณะที่ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีที่แล้ววัดได้ 1,200 มม./ปี ปริมาณน้ำที่มีอยู่นี้จะต้องจัดสรรเพื่อใช้ในกิจกรรมด้านอื่นๆอีก เช่น การอุปโภคบริโภค การอุตสาหกรรม และกันไว้เป็นน้ำรักษาสมดุลนิเวศท้ายน้ำ ทำให้ไม่มีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับการปลูกข้าวนาปรัง ดังนั้นจึงขอความร่วมมือจากเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว ให้ระงับการปลูกข้าวนาปรังปีเพาะปลูก 2551 ไปก่อน อย่างไรก็ตาม เกษตรกรสามารถปลูกพืชฤดูแล้งชนิดอื่นได้ ซึ่งควรเป็นพืชที่บริโภคน้ำน้อยแต่ให้ผลผลิตเร็ว ทั้งนี้เพื่อสร้างรายได้ทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง
สำหรับเขื่อนแม่กวงอุดมธารา นับเป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในลุ่มน้ำแม่กวง ตั้งอยู่ที่ ต.ลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2537 มีพื้นที่รับน้ำฝน 569 ตร. กม. ความจุอ่างเก็บน้ำ 263 ล้าน ลบ. ม. ปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ 187.7 ล้าน ลบ. ม. ครอบคลุมพื้นที่ทำการเกษตร 144,800 ไร่ในฤดูฝน และ 57,920 ในฤดูแล้ง (หากมีความหนาแน่นของการปลูกพืชร้อยละ 140) ในท้องที่ต่างๆของ อ.ดอยสะเก็ด อ.สันทราย และ อ.สันกำแพง ใน จ. เชียงใหม่ รวมทั้ง อ.บ้านธิ และ อ.เมือง ใน จ.ลำพูน โดยเขื่อนแม่กวงอุดมธารานอกจากจะใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค และการอุตสาหกรรมแล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของ จ. เชียงใหม่ด้วย นายบรรลุกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายบรรลุ จันทร์สาม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต1 (สศข.1) จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปีเพาะปลูก 2550/51 ในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน โดยการประสานงานกับโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแม่กวงอุดมธารา สำนักชลประทานที่ 1 กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนแม่กวงอุดมธาราปีนี้มีระดับต่ำมาก ทางเขื่อนไม่สามารถจ่ายน้ำให้แก่เกษตรกรเพื่อปลูกข้าวนาปรังในปีเพาะปลูก 2551 นี้ได้ เพราะจะส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำในกิจกรรมอื่น สำหรับพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากการระงับการจ่ายน้ำในครั้งนี้ได้แก่เขต อ.ดอยสะเก็ด อ.สันทราย และ อ.สันกำแพง ใน จ.เชียงใหม่ รวมทั้ง อ.บ้านธิ และ อ.เมือง ใน จ.ลำพูน
ตามปรกติความต้องการใช้น้ำชลประทานในฤดูแล้งจะมีปริมาณ 77.07 — 146.69 ล้าน ลบ.ม. แต่สถานการณ์น้ำในเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ณ วันที่ 8 มกราคม 2551 ที่ผ่านมามีปริมาณน้ำต้นทุนเพียง 78 ล้าน ลบ. ม. ลดลงจากปีที่แล้วที่มีปริมาณถึง 179 ล้าน ลบ. ม. อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ร่องมรสุมฤดูฝนที่ผ่านมาไม่พาดผ่านบริเวณเขื่อน ทำให้เขื่อนกักเก็บน้ำได้น้อย ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีนี้วัดได้เพียง 1,100 มม./ปี ในขณะที่ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีที่แล้ววัดได้ 1,200 มม./ปี ปริมาณน้ำที่มีอยู่นี้จะต้องจัดสรรเพื่อใช้ในกิจกรรมด้านอื่นๆอีก เช่น การอุปโภคบริโภค การอุตสาหกรรม และกันไว้เป็นน้ำรักษาสมดุลนิเวศท้ายน้ำ ทำให้ไม่มีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับการปลูกข้าวนาปรัง ดังนั้นจึงขอความร่วมมือจากเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว ให้ระงับการปลูกข้าวนาปรังปีเพาะปลูก 2551 ไปก่อน อย่างไรก็ตาม เกษตรกรสามารถปลูกพืชฤดูแล้งชนิดอื่นได้ ซึ่งควรเป็นพืชที่บริโภคน้ำน้อยแต่ให้ผลผลิตเร็ว ทั้งนี้เพื่อสร้างรายได้ทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง
สำหรับเขื่อนแม่กวงอุดมธารา นับเป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในลุ่มน้ำแม่กวง ตั้งอยู่ที่ ต.ลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2537 มีพื้นที่รับน้ำฝน 569 ตร. กม. ความจุอ่างเก็บน้ำ 263 ล้าน ลบ. ม. ปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ 187.7 ล้าน ลบ. ม. ครอบคลุมพื้นที่ทำการเกษตร 144,800 ไร่ในฤดูฝน และ 57,920 ในฤดูแล้ง (หากมีความหนาแน่นของการปลูกพืชร้อยละ 140) ในท้องที่ต่างๆของ อ.ดอยสะเก็ด อ.สันทราย และ อ.สันกำแพง ใน จ. เชียงใหม่ รวมทั้ง อ.บ้านธิ และ อ.เมือง ใน จ.ลำพูน โดยเขื่อนแม่กวงอุดมธารานอกจากจะใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค และการอุตสาหกรรมแล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของ จ. เชียงใหม่ด้วย นายบรรลุกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-