สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 18 - 24 มกราคม 2562
สุกร
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาวะตลาดสุกรคึกคักและคล่องตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาและความต้องการบริโภคจะสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะใกล้เข้าสู่เทศกาลวันตรุษจีน
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 65.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.23 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.35 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.64 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.62 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 67.40 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท (บวกลบ 70 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 2,000 บาท (บวกลบ 70 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.00
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อเริ่มมีมากขึ้น ส่งผลให้สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อคึกคักและคล่องตัว การจับจ่ายใช้สอยเริ่มมีมากขึ้น แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาและความต้องการบริโภคจะสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะใกล้เข้าสู่เทศกาลวันตรุษจีน
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 35.99 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.54 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 35.72 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.86 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) โดยกระทรวงเกษตรฯ และทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยปัจจุบันมีแม่ไก่ไข่ยืนกรงอยู่ที่ประมาณ 50 ล้านตัว ซึ่งจะมีการผลิตไข่ไก่ที่ประมาณ 80% หรือประมาณ 40 ล้านฟองต่อวัน ทั้งนี้เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาไข่ไก่ในประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาและความต้องการบริโภคจะสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะจะมีปลดแม่ไก่ไข่เร็วขึ้นเพื่อรองรับไก่ไหว้ในเทศกาลวันตรุษจีน
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 277 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 273 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.47 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 295 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 280 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 271 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.00 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 11.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 36.36
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 291 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 327 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 293 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 368 บาท
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 87.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.47 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.99 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 84.64 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 83.89 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.01 บาท
กระบือ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.25 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.72 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.98 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร