สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 8 - 14 กุมภาพันธ์ 2562
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด10 โครงการดังนี้
1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง
4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming)
5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ
6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร
7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการนบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิสัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,592 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,413 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.16
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,645 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,642 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,450 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,175 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,541 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 410 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,750 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,533 บาท/ตัน)
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,844 บาท/ตัน)
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.0986
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ภาวะราคาข้าวขาว 5% ในสัปดาห์ที่ผ่านมาทรงตัวที่ตันละ 350 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะอยู่ในช่วงวันหยุดเทศกาล Tet (the Lunar New Year Holiday) ขณะที่วงการค้าข้าวคาดว่า ภาวะการค้าจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตข้าวฤดูใหม่จะออกสู่ตลาดปริมาณมาก
ในปี 2561 ที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 6.15 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 3.15 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 และร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งการส่งออกข้าวของเวียดนามมีพันธุ์ข้าวใหม่ๆ มากขึ้น เช่น ข้าวสายพันธุ์ Loc Troi 28 ซึ่งเป็นข้าวที่มีระยะเพาะปลูกสั้น ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวสายพันธุ์ Loc Troi 1 และข้าวบาสมาติของอินเดีย ซึ่งข้าวสายพันธุ์นี้ให้ผลผลิตต่อไร่สูงเป็นข้าวหอมและมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าข้าวสายพันธุ์อื่นๆ ซึ่งนาย Huynh Van Thon ผู้บริหารของ บริษัท Loc Troi corp., ระบุว่า ข้าวสายพันธุ์นี้เหนือกว่าข้าวหอมมะลิของไทย และข้าวหอมพันธุ์ Sen Kro Ob (SKO) ของกัมพูชา
ปัจจุบันเกษตรกรเวียดนามได้หันมาปลูกข้าวที่มีคุณภาพมากขึ้น และมากกว่าการให้ความสำคัญเรื่องปริมาณที่ผลิตได้ ซึ่งจะเห็นได้จากในช่วงปีที่ผ่านมาราคาข้าวขาวของเวียดนามอยู่ในระดับที่สูงกว่าข้าวไทยค่อนข้างมาก และในช่วงไม่กี่ปี่ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมข้าวเวียดนามได้ให้ความสำคัญกับการทำการตลาดมากขึ้น โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการเปิดตัวตราสัญลักษณ์ข้าวของเวียดนามที่จะใช้ในการประชาสัมพันธ์ข้าวเวียดนามในตลาดโลก
ผู้แทนหน่วยงานด้านการแปรรูปและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรเวียดนาม (The Agro Processing and Market Development Authority) ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวท้องถิ่นเวียดนามว่า การส่งออกข้าวของเวียดนามในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในเดือนมกราคม 2562 ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามได้รับคำสั่งซื้อจากประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียจำนวนมาก และคาดว่าความต้องการข้าวของทั้งสองประเทศจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น ประกอบกับฟิลิปปินส์มีการยกเลิกนโยบายจำกัดการนำเข้าข้าว ซึ่งขณะนี้ผู้นำเข้าข้าวในฟิลิปปินส์ประมาณ 180 บริษัท ได้ยื่นขอนำเข้าข้าวปริมาณรวม 1.2 ล้านตัน โดยสั่งซื้อข้าวจากเวียดนามเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ได้ออกนโยบายใหม่ซึ่งจะเก็บภาษีการนำเข้าข้าว และข้าวที่นำเข้ามาจากกลุ่มประเทศภูมิภาคอาเซียนจะมีภาษีนำเข้า 35% และนำเข้าข้าวจากประเทศอื่นๆ จะมีภาษีนำเข้า 50%
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ส่งออกเวียดนามจะสามารถส่งข้าวไปฟิลิปปินส์ได้ง่ายขึ้น แต่ยังคงจะต้องแข่งขันกับผู้ส่งออกรายอื่นๆ เช่น กัมพูชา เมียนมาร์ และไทย นอกจากนี้ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามอาจต้องเผชิญกับอุปสรรคจากจีนซึ่งเป็นผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ของเวียดนาม เนื่องจากจีนได้ปรับนโยบายด้านการค้าชายแดนและข้ามแดน รวมทั้งมีการลงทุนผลิตข้าวในกัมพูชา เมียนมาร์ และไทยเพิ่มขึ้น
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติ (the National Grain Trade Center) รายงานว่า ในการประมูลขายข้าวเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2019 ที่ผ่านมา ไม่สามารถขายข้าวได้เลยจากที่นำข้าวออกมาประมูลจำนวน 503,962 ตัน
เมื่อสัปดาห์ก่อน สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ในปี 2561 ที่ผ่านมา บริษัท Sinograin ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ดำเนินการเก็บสต็อกข้าวและธัญพืชของรัฐบาลได้มีการระบายข้าวจากสต็อกที่เก็บไว้ออกสู่ตลาด ประมาณ 17 ล้านตัน ขณะที่การระบายสต็อกธัญพืชทุกชนิด พืชน้ำมัน (edible oils) และฝ้าย จากคลังที่มีกว่า 7,000 แห่ง มีจำนวนรวมประมาณ 132.73 ล้านตัน ซึ่งธัญพืชอื่นๆ นอกจากข้าว ประกอบด้วย ข้าวโพดประมาณ 100.1 ล้านตัน ข้าวสาลีประมาณ 10.7 ล้านตัน ถั่วเหลืองประมาณ 2 ล้านตัน ฝ้ายประมาณ 2.5 ล้านตัน และน้ำมันเรพสีด (rapeseed oil) หรือน้ำมันคาโนลา ประมาณ 420,000 ตัน
ทั้งนี้ ในปี 2561 บริษัท Sinograin มีการเก็บสต็อกธัญพืชประมาณ 26.6 ล้านตัน โดยบริษัทมีโครงการในการเก็บสต็อกข้าวและข้าวสาลีขณะเดียวกันก็พยายามที่จะระบายสต็อกธัญพืชชนิดอื่นๆ ออกมา
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร