สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 22-28 กุมภาพันธ์ 2562
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด10 โครงการดังนี้
1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง
4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming)
5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ
6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร
7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการนบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิสัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,723 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,632 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,542 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,652 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,290 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,171 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,399 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,180 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,502 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 และลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 103 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 402 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,496 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 412 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,745 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.43 และลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 249 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 395 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,278 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 404 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,497 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.23 และลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 219 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 409 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,713 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 415 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,838 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45 และลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 125 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.0837
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ภาวะราคาข้าวขาว 5% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทรงตัวอยู่ในระดับ 340 เหรียญสหรัฐต่อตัน ท่ามกลางภาวะที่อุปทานข้าวในตลาดมีมากขึ้น จากการที่เกษตรกรกำลังเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวในฤดูการผลิตฤดูหนาวในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ขณะที่ความต้องการข้าวเริ่มมีเข้ามาจากประเทศจีน
มีรายงานว่า หลังจากที่มีการประชุมหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture and Rural Development) กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (the Ministry of Industry and Trade) ธนาคารแห่งชาติ (the State Bank of Vietnam; SBV) รวมทั้งสมาคมอาหารเวียดนาม (the Vietnam Food Association) นายกรัฐมนตรี Nguyen Xuan Phuc ได้อนุมัติข้อเสนอมาตรการรับซื้อข้าวจากเกษตรกรประมาณ 280,000 ตัน เพื่อเก็บสต็อกไว้และช่วยพยุงราคาข้าวในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (the Mekong Delta region)
ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของประเทศไม่ให้ลดต่ำลง โดยจะซื้อข้าวเปลือก 80,000 ตัน และข้าวสาร 200,000 ตัน นอกจากนี้ สมาคมอาหารฯ จะเร่งเก็บสต็อกข้าวเพื่อเตรียมส่งออกไปยังประเทศฟิลิปปินส์ประมาณ 200,000 ตัน และ จีนประมาณ 100,000 ตัน
ขณะที่มีการรายงาน เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562 บริษัท Vinafood 2 (the Vietnam Southern Food Corporation) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (a memorandum of understanding; MoU) ในการซื้อขายข้าวจำนวน 100,000 ตัน กับบริษัทนำเข้าข้าวของจีน (Food Valley of China; FVC) ประกอบด้วย ข้าวเหนียวจำนวน 30,000 ตัน และข้าวขาวจำนวน 70,000 ตัน โดยคาดว่าจะมีการส่งมอบในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ทั้งนี้ เมื่อปีที่ผ่านมาเวียดนามส่งออกข้าวไปประเทศจีนประมาณ 1.3 ล้านตัน และหลังจากที่มีข่าวว่ารัฐบาลจะมีมาตรการรับซื้อข้าวเพื่อเก็บสต็อกไว้ ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเริ่มขยับสูงขึ้น โดยเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ราคาข้าวเปลือกได้ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 100-150 ดองต่อกิโลกรัม มาอยู่ที่ 4,400-5,500 ดองต่อกิโลกรัม ขณะที่บริษัท VietNam Southern Food Corporation (VINAFOOD 2) ได้ส่งเจ้าหน้าที่ จำนวน 12 ราย ลงพื้นที่เพื่อซื้อข้าวเปลือกฤดูการผลิตฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิต (winter-spring rice crop) ในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ขณะที่สมาคมอาหารเวียดนามได้เสนอความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับการซื้อข้าวเปลือกด้วย
กระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture and Rural Development; MARD) กำลังพิจารณาแผนการผลิตและการส่งออกข้าวของประเทศในอนาคต โดยในช่วงระหว่างปี 2554-2560 เวียดนามส่งออกข้าวประมาณปีละ 5-7 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 2.5-3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยที่ตลาดหลัก คือ ตลาดเอเชีย คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ประเทศจีนมีสัดส่วนนำเข้าประมาณร้อยละ 35 รองลงมาเป็นฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ขณะที่ตลาดแอฟริกามีสัดส่วนนำเข้าประมาณร้อยละ 28
อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรมองว่าการส่งออกข้าวยังคงมีความเสี่ยงและไม่แน่นอนจากภาวการณ์แข่งขัน ที่รุนแรงกับประเทศคู่แข่ง เช่น ไทย อินเดีย ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องพิจารณาเรื่องการส่งออกอีกครั้ง โดยจะลดปริมาณส่งออกและเพิ่มมูลค่าส่งออกให้มากขึ้น
ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดแผนการส่งออกในช่วงปี 2560-2563 โดยกำหนดเป้าหมายการส่งออก 4.5-5 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 2.2-2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และในช่วงปี 2564-2573 กำหนดเป้าหมายการส่งออก 4 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 2.3- 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวนั้น จะต้องมีการลดการผลิตข้าวคุณภาพต่ำถึงปานกลาง ให้คงเหลือประมาณร้อยละ 20 ของผลผลิตทั้งหมด และเปลี่ยนไปปลูกข้าวขาวคุณภาพสูงในสัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนของข้าวหอม ข้าวญี่ปุ่น และข้าวชนิดพิเศษ ในสัดส่วนร้อยละ 30 และข้าวเหนียวในสัดส่วนร้อยละ 20 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 5 เป็นผลิตภัณฑ์ข้าวที่มีการเพิ่มมูลค่า เช่น ข้าวที่เน้นด้านโภชนาการ ข้าวนึ่ง และข้าวอินทรีย์ เป็นต้น โดยตั้งเป้าหมายว่าหลังจากปี 2573 สัดส่วนการผลิตข้าวคุณภาพต่ำจะมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น
ในปี 2562 นี้ กระทรวงเกษตร (Ministry of Agriculture and Rural Development) ได้ตั้งเป้าหมายส่งออกข้าวไว้ที่ 6-7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ที่ส่งออกได้ประมาณ 6.1 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 373,000 ตัน มูลค่า 180 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ 24.2 และร้อยละ 24.8 ตามลำดับ
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
รัฐบาลฟิลิปปินส์ยอมรับว่าเป้าหมายการพึ่งพาผลผลิตข้าวในประเทศ (rice self-sufficiency) ให้ได้ถึงร้อยละ 100 โดยไม่ต้องมีการนำเข้านั้น ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ โดยในปี 2561 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายดังกล่าวไว้ แต่หากพิจารณาจากปัจจัยรอบด้านแล้วสามารถทำได้เพียงร้อยละ 93 เท่านั้น ซึ่งเมื่อพิจารณาจากภาวะการผลิตข้าวในปัจจุบันจะพบว่า ฟิลิปปินส์ยังคงมีความต้องการข้าวปีละประมาณ 600,000-800,000 ตัน เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคในประเทศ
ทั้งนี้ จากการที่ประธานาธิบดีได้ลงนามในกฎหมายภาษีข้าว (The Rice Tariffication Act) เมื่อวันที่ 14กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม เป็นต้นไปนั้น จะทำให้ผู้ค้าเอกชนสามารถที่จะนำเข้าข้าว
ได้อย่างเสรี โดยผู้นำเข้าจะต้องชำระภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 35 หากนำเข้าจากกลุ่มประเทศอาเซียน และหากนำเข้าจากแห่งอื่นจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 50 โดยกำหนดปริมาณนำเข้าสูงสุด (the minimum access volume) ไว้ที่ 350,000 ตัน และกำหนดอัตราภาษีสูงสุดไม่เกินร้อยละ 180 โดยรัฐบาลได้คาดหวังว่าการเปิดให้นำเข้าข้าวได้อย่างเสรีจะช่วยให้ราคาข้าวในประเทศลดต่ำลง และช่วยกระตุ้นให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชที่ให้มูลค่าสูง
ขณะที่กฎหมายดังกล่าวจะลดทอนอำนาจการเป็นองค์กรเดียวในการบริหารจัดการข้าวทั้งระบบขององค์การอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) ซึ่งขณะนี้มีพนักงานประมาณ 400 คน ที่อาจจะถูกเลิกจ้างซึ่งอาจส่งผลบุคลากรของ NFA ออกมาประท้วง เพราะคาดว่าจะมีการลดขนาดองค์กรจนกระทบต่อการจ้างงาน โดยหน้าที่ของ NFA จะเหลือเพียงเป็นหน่วยงานดูแลปริมาณข้าวสำรอง (Buffer Stock) สำหรับช่วงภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉินเท่านั้น
ทางด้านกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า กฎหมายภาษีข้าว (The Rice Tariffication Act) (REPUBLIC ACT NO. 11203 : AN ACT LIBERALIZING THE IMPORTATION, EXPORTATION AND TRADING OF RICE, LIFTING FOR THE PURPOSE THE QUANTITATIVE IMPORT RESTRICTION ON RICE, AND FOR OTHER PURPOSES) ที่ประธานาธิบดีได้ลงนามไป เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมานั้น มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดปริมาณนำเข้าสูงสุด (the minimum access volume; MAV) ไว้ที่ปีละ 350,000 ตัน จากเดิม 805,000 ตัน
2. อัตราภาษีในโควต้า (In-quota Most Favored Nation; MFN) กำหนดที่ร้อยละ 35
3. อัตราภาษีนอกโตวต้า (out-quota imports) อยู่ระหว่างร้อยละ 50-180
4. อัตราภาษีนำเข้าสำหรับข้าวที่นำเข้าจากประเทศอาเซียน (the Association of Southeast Asian Nations; ASEAN) ที่ร้อยละ 35
5. ภาษีที่ได้จากการนำเข้าข้าวจะนำไปตั้งกองทุน Rice Competitiveness Enhancement Fund (RCEF) ซึ่งกำหนดให้มีเงินเข้ากองทุนขั้นต่ำปีละ 10,000 ล้านเปโซ (หรือประมาณ 192.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ภายในระยะเวลา 6 ปี ข้างหน้า
6. จะมีการกำหนดมาตรการความคุ้มครองพิเศษ (special rice safeguard duty) เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมจากความผันผวนของราคาอย่างรุนแรงหรือฉับพลัน
7. บทบาทขององค์การอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) จะถูกจำกัดไว้เฉพาะการสำรองข้าว
8. การดำเนินการตามบทบัญญัติของกฎหมายนี้ จะมีการออกกฎและข้อบังคับ (IRRs) ที่เกี่ยวข้องภายใน 45 วัน
ทางด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงการข้าวหลายราย คาดว่าการออกกฎหมายดังกล่าว จะทำให้การนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากประเทศในกลุ่มอาเซียน ขณะที่กฎหมายภาษีข้าวอาจจะถูกคัดค้านอย่างรุนแรง จากบางภาคส่วน โดยอาศัยข้อกฎหมายต่างๆ ในรูปแบบของการฟ้องร้องในอนาคตอันใกล้
ขณะที่ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (The Bangko Sentral ng Pilipinas) คาดว่ากฎหมายภาษีข้าวจะช่วยลดอัตราเงินเฟ้อลงอย่างน้อยร้อยละ 0.6 ในปีนี้ และลดลงร้อยละ 0.3-0.4 ในปี 2563 ซึ่งราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะข้าว ถือว่า เป็นส่วนสำคัญในการทำให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงสุดที่ร้อยละ 6.7 ในเดือนตุลาคม 2561 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบเกือบทศวรรษ โดยอัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ย ในปี 2561 อยู่ที่ร้อยละ 5.2 เพิ่มขึ้นเป็นระดับร้อยละ 2.9 จากปีที่ผ่านมา และสูงกว่า ที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อใน ปี 2561 ไว้ที่ร้อยละ 2-4
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร