1. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรรายงานการส่งออกยางพาราในช่วง มกราคม — พฤศจิกายน 2550 ไทยส่งออกยางพาราทั้งสิ้น 2.257 ล้านตัน มูลค่า 170,414 ล้านบาท ลดลงจาก 2.40 ล้านตัน มูลค่า 189,135 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.96 และ 9.90 ตามลำดับ โดยส่งออกในรูปยางแผ่นรมควัน 0.787 ล้านตัน มูลค่า 56,981 ล้านบาท น้ำยางธรรมชาติ 0.028 ล้านตัน มูลค่า 5,654 ล้านบาท น้ำยางข้น 0.483 มูลค่า 39,268 ล้านบาท ยางแท่ง 0.750 ล้านตัน มูลค่า 54,548 ล้านบาท และยางธรรมชาติอื่นๆ 0.237 ล้านตัน มูลค่า 19,616 ล้านบาท และคาดว่าไทยจะส่งออกยางพาราทั้งปีได้ประมาณ 2.5 ล้านตัน ลดลงจาก 2.66 ล้านตัน ของปี 2549 ร้อยละ 6 สำหรับปี 2551 คาดว่าไทยน่าจะส่งออกยางพาราได้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก ความต้องการใช้ยางพาราในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ทั้งในจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย อย่างไรก็ตามการส่งออกยางไปตลาดโลกของไทยน่าจะมีการแข่งขันค่อนข้างสูง เพราะเมื่อพิจารณาคู่แข่ง อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ซึ่งต่างก็มีการเพิ่มผลผลิตมากขึ้น ประกอบกับความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของการส่งออกยางไทยในตลาดโลกลดลงจากราคายางที่สูงกว่าประเทศคู่แข่ง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.11 บาท สูงขึ้นจาก 78.00 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.11 บาท หรือร้อยละ 1.42
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.61 บาท สูงขึ้นจาก 77.50 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.11 บาท หรือร้อยละ 1.43
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.11 บาท สูงขึ้นจาก 77.00 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.11 บาท หรือร้อยละ 1.44
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.29 บาท สูงขึ้นจาก 76.40 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.89 บาท หรือร้อยละ 1.16
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.55 บาท สูงขึ้นจาก 75.65 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.90 หรือร้อยละ 1.19
6. ยางแผ่นดิบคละราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.29 บาท สูงขึ้นจาก 75.06 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.23 บาท หรือร้อยละ 0.31
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.79 บาท ลดลงจาก 40.99 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.20 บาท หรือร้อยละ 0.49
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.50 บาท สูงขึ้นจาก 36.91 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.59 บาท หรือร้อยละ 1.60
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.38 บาท สูงขึ้นจาก 74.85 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.53 บาท หรือร้อยละ 2.04
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2551
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.88 บาท ลดลงจาก 88.58 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.70 บาท หรือร้อยละ 0.79
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.73 บาท ลดลงจาก 87.43 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.70 บาท หรือร้อยละ 0.80
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.40 บาท สูงขึ้นจาก 57.84 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.56 บาท หรือร้อยละ 0.97
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.63 บาท ลดลงจาก 88.33 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.70 บาท หรือร้อยละ 0.79
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.48 บาท ลดลงจาก 87.18 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.70 บาท หรือร้อยละ 0.80
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.15 บาท สูงขึ้นจาก 57.88 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.27 บาท หรือร้อยละ 0.47
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
นาย Datuk Peter Chin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมพืชไร่ และผลผลิตทางการเกษตร กล่าวว่าเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยของมาเลเซียมีรายได้มากกว่า 38,000 ริงกิต/ปี (ประมาณ 368,417 บาท/ปี) ซึ่งเป็นผลจากราคายางที่เพิ่มขึ้น และถ้าเกษตรกรที่ทำสวนยางบนพื้นที่ 2 เฮกแตร์ จะมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกเมื่อใช้วิธีระบบการกรีดยางต้นทุนต่ำ ซึ่งเขาต้องการให้เกษตรกรกรีดยางเพียงเดือนละ 9 ครั้ง จากอุปสงค์ยางพารามาเลเซียมีเพิ่มขึ้น และคาดว่าจะมีความต้องการอย่างต่อเนื่องทุกปี นอกจากนี้มาเลเซียเตือนให้เกษตรกรเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพผลผลิตให้ดีขึ้น และให้เกษตรพัฒนาการกรีดยางเพื่อให้ได้ผลผลิตน้ำยางที่ดีขึ้นและปริมาณผลผลิตต่อไร่ที่สูงขึ้น ในปีที่แล้วมาเลเซียผลิตยางได้ 1.2 ล้านตัน มูลค่า 18,000 ล้านริงกิต (174,513 ล้านบาท) ปัจจุบันมาเลเซียผลิตยางพาราได้เป็นอันดับ 3 รองจากไทยและอินโดนีเซีย
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2551
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 376.55 เซนต์สิงคโปร์ ( 85.65 บาท) ลดลงจาก 378.50 เซนต์สิงคโปร์ (86.71 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.95 เซนสิงคโปร์ หรือร้อยละ 0.52
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.50 เซนต์สหรัฐ (85.74 บาท) ลดลงจาก 263.65 เซนต์สหรัฐ (86.81 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.15 เซนต์สหรัฐ หรือร้อยละ 1.19
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 268.62 เยน ( 82.66 บาท) ลดลงจาก 279.15 เยน (85.08 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 10.53 เยน หรือร้อยละ 3.77
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 21-27 มกราคม 2551--
-พห-
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรรายงานการส่งออกยางพาราในช่วง มกราคม — พฤศจิกายน 2550 ไทยส่งออกยางพาราทั้งสิ้น 2.257 ล้านตัน มูลค่า 170,414 ล้านบาท ลดลงจาก 2.40 ล้านตัน มูลค่า 189,135 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.96 และ 9.90 ตามลำดับ โดยส่งออกในรูปยางแผ่นรมควัน 0.787 ล้านตัน มูลค่า 56,981 ล้านบาท น้ำยางธรรมชาติ 0.028 ล้านตัน มูลค่า 5,654 ล้านบาท น้ำยางข้น 0.483 มูลค่า 39,268 ล้านบาท ยางแท่ง 0.750 ล้านตัน มูลค่า 54,548 ล้านบาท และยางธรรมชาติอื่นๆ 0.237 ล้านตัน มูลค่า 19,616 ล้านบาท และคาดว่าไทยจะส่งออกยางพาราทั้งปีได้ประมาณ 2.5 ล้านตัน ลดลงจาก 2.66 ล้านตัน ของปี 2549 ร้อยละ 6 สำหรับปี 2551 คาดว่าไทยน่าจะส่งออกยางพาราได้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก ความต้องการใช้ยางพาราในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ทั้งในจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย อย่างไรก็ตามการส่งออกยางไปตลาดโลกของไทยน่าจะมีการแข่งขันค่อนข้างสูง เพราะเมื่อพิจารณาคู่แข่ง อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ซึ่งต่างก็มีการเพิ่มผลผลิตมากขึ้น ประกอบกับความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของการส่งออกยางไทยในตลาดโลกลดลงจากราคายางที่สูงกว่าประเทศคู่แข่ง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.11 บาท สูงขึ้นจาก 78.00 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.11 บาท หรือร้อยละ 1.42
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.61 บาท สูงขึ้นจาก 77.50 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.11 บาท หรือร้อยละ 1.43
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.11 บาท สูงขึ้นจาก 77.00 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.11 บาท หรือร้อยละ 1.44
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.29 บาท สูงขึ้นจาก 76.40 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.89 บาท หรือร้อยละ 1.16
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.55 บาท สูงขึ้นจาก 75.65 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.90 หรือร้อยละ 1.19
6. ยางแผ่นดิบคละราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.29 บาท สูงขึ้นจาก 75.06 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.23 บาท หรือร้อยละ 0.31
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.79 บาท ลดลงจาก 40.99 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.20 บาท หรือร้อยละ 0.49
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.50 บาท สูงขึ้นจาก 36.91 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.59 บาท หรือร้อยละ 1.60
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.38 บาท สูงขึ้นจาก 74.85 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.53 บาท หรือร้อยละ 2.04
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2551
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.88 บาท ลดลงจาก 88.58 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.70 บาท หรือร้อยละ 0.79
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.73 บาท ลดลงจาก 87.43 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.70 บาท หรือร้อยละ 0.80
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.40 บาท สูงขึ้นจาก 57.84 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.56 บาท หรือร้อยละ 0.97
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.63 บาท ลดลงจาก 88.33 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.70 บาท หรือร้อยละ 0.79
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.48 บาท ลดลงจาก 87.18 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.70 บาท หรือร้อยละ 0.80
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.15 บาท สูงขึ้นจาก 57.88 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.27 บาท หรือร้อยละ 0.47
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
นาย Datuk Peter Chin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมพืชไร่ และผลผลิตทางการเกษตร กล่าวว่าเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยของมาเลเซียมีรายได้มากกว่า 38,000 ริงกิต/ปี (ประมาณ 368,417 บาท/ปี) ซึ่งเป็นผลจากราคายางที่เพิ่มขึ้น และถ้าเกษตรกรที่ทำสวนยางบนพื้นที่ 2 เฮกแตร์ จะมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกเมื่อใช้วิธีระบบการกรีดยางต้นทุนต่ำ ซึ่งเขาต้องการให้เกษตรกรกรีดยางเพียงเดือนละ 9 ครั้ง จากอุปสงค์ยางพารามาเลเซียมีเพิ่มขึ้น และคาดว่าจะมีความต้องการอย่างต่อเนื่องทุกปี นอกจากนี้มาเลเซียเตือนให้เกษตรกรเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพผลผลิตให้ดีขึ้น และให้เกษตรพัฒนาการกรีดยางเพื่อให้ได้ผลผลิตน้ำยางที่ดีขึ้นและปริมาณผลผลิตต่อไร่ที่สูงขึ้น ในปีที่แล้วมาเลเซียผลิตยางได้ 1.2 ล้านตัน มูลค่า 18,000 ล้านริงกิต (174,513 ล้านบาท) ปัจจุบันมาเลเซียผลิตยางพาราได้เป็นอันดับ 3 รองจากไทยและอินโดนีเซีย
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2551
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 376.55 เซนต์สิงคโปร์ ( 85.65 บาท) ลดลงจาก 378.50 เซนต์สิงคโปร์ (86.71 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.95 เซนสิงคโปร์ หรือร้อยละ 0.52
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.50 เซนต์สหรัฐ (85.74 บาท) ลดลงจาก 263.65 เซนต์สหรัฐ (86.81 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.15 เซนต์สหรัฐ หรือร้อยละ 1.19
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 268.62 เยน ( 82.66 บาท) ลดลงจาก 279.15 เยน (85.08 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 10.53 เยน หรือร้อยละ 3.77
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 21-27 มกราคม 2551--
-พห-