สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 แจง ปีนี้ เกษตรกรไร่อ้อย ได้รับ 700 บาท/ตัน จากที่ก่อนหน้า สอน.ได้ประกาศราคาขั้นต้น 600 บาท/ตัน เผย เป็นเงินส่วนที่โรงงานจ่ายเป็นค่าอ้อยให้กับชาวไร่อ้อยไปก่อน 38 บาท/ตัน บวกกับมติ ครม. อนุมัติให้กองทุนกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ 62 บาท/ตัน
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 จังหวัดชลบุรี(สศข. 6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากปีเพาะปลูก 2549/50 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้ประกาศราคาอ้อยขั้นสุดท้ายในฤดูการผลิต ราคา 700 บาท/ตัน ซึ่ง ต่ำกว่า ราคาขั้นต้นที่ประกาศไว้ 800 บาท/ตัน กองทุนอ้อยฯ จะต้องหาเงินมาจ่ายชดเชย ให้กับโรงงานที่ได้จ่ายให้กับชาวไร่อ้อยไปตั้งแต่ต้นฤดูไปแล้วประมาณ 9,900 ล้านบาท โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) ส่วนที่ชาวไร่เป็นหนี้โรงงานน้ำตาลอยู่ประมาณ 6,900 ล้านบาท ให้กองทุนกู้เงิน 5,277 ล้านบาท มาชำระแทนชาวไร่ ที่เหลืออีกประมาณ 1,600 ล้านบาท ให้ถือเป็นเงินค่ารักษาเสถียรภาพที่โรงงานเป็นหนี้กองทุนอยู่ก็ให้นำมาหักกลบลบหนี้กัน และ (2) ส่วนที่โรงงานจะได้รับการชดเชยกรณีราคาอ้อยขั้นสุดท้ายต่ำกว่า ราคาอ้อยขั้นต้น จำนวน 2,900 ล้านบาท ให้กองทุน คิดเป็นบัญชีหนี้สินที่จะต้องชำระคืนให้กับโรงงาน ส่วนนี้ กองทุนจะต้องหาวิธีเพื่อมาเป็นรายได้เข้ากองทุนเพิ่มขึ้นโดยอาจจะมีการเก็บค่ารักษาเสถียรภาพเพิ่มขึ้นจาก 0.5% มาอยู่ที่ 5.0 % ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 8 มกราคม 2551 ให้จัดหาเงินสมทบการชดเชยให้กองทุน 5,277 ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลัง เป็นผู้พิจารณาในการดำเนินการจัดหาเงินกู้ให้กับกองทุนฯ
สำหรับปีเพาะปลูก ปี 2550/51 สอน.ได้ประกาศราคาอ้อยขั้นต้น 600 บาท/ตัน โดยคิดคำนวณตามสูตรที่ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ คือ (1) อัตราแลกเปลี่ยนที่ 34 บาท/1 เหรียญสหรัฐ (2) ปริมาณอ้อย 68.15 ล้านตัน (3) ราคาน้ำตาลตลาดโลก 10.6 เซนต์/ ปอนด์ (4) ค่าความหวาน 10 CCS แต่เป็นราคาที่ชาวไร่อ้อยรับไม่ได้ และเรียกร้องให้ปรับราคาอ้อยขั้นต้นเป็น 700 บาท/ตัน โดยเงินส่วนที่เพิ่มขึ้น 100 บาท/ตัน จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่ง 38 บาท/ตัน จะเป็นเงินส่วนที่โรงงานจ่ายเป็นค่าอ้อยให้กับชาวไร่อ้อยไปก่อน เนื่องจากปัจจุบันน้ำตาลโควตา ค. จำหน่ายล่วงหน้าไปแล้วประมาณ 50% และได้ราคาดีประมาณ 13 เซนต์/ปอนด์ เมื่อนำมาคำนวณแล้วราคาอ้อยก็ตกอยู่ประมาณ 638 บาท/ตัน และส่วนที่สอง คณะรัฐมนตรีได้มีมติ ( 8 มกราคม 2551 ) อนุมัติให้กองทุนกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเพิ่มราคาให้ชาวไร่อ้อยอีกตันละ 62 บาท/ตัน รวมเป็นเงิน 4,255 ล้านบาท ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยจะได้รับ 700 บาท/ตัน ซึ่งเป็นที่พอใจของเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพราะต่างก็เข้าใจถึงสถานการณ์เป็นอย่างดี
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 จังหวัดชลบุรี(สศข. 6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากปีเพาะปลูก 2549/50 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้ประกาศราคาอ้อยขั้นสุดท้ายในฤดูการผลิต ราคา 700 บาท/ตัน ซึ่ง ต่ำกว่า ราคาขั้นต้นที่ประกาศไว้ 800 บาท/ตัน กองทุนอ้อยฯ จะต้องหาเงินมาจ่ายชดเชย ให้กับโรงงานที่ได้จ่ายให้กับชาวไร่อ้อยไปตั้งแต่ต้นฤดูไปแล้วประมาณ 9,900 ล้านบาท โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) ส่วนที่ชาวไร่เป็นหนี้โรงงานน้ำตาลอยู่ประมาณ 6,900 ล้านบาท ให้กองทุนกู้เงิน 5,277 ล้านบาท มาชำระแทนชาวไร่ ที่เหลืออีกประมาณ 1,600 ล้านบาท ให้ถือเป็นเงินค่ารักษาเสถียรภาพที่โรงงานเป็นหนี้กองทุนอยู่ก็ให้นำมาหักกลบลบหนี้กัน และ (2) ส่วนที่โรงงานจะได้รับการชดเชยกรณีราคาอ้อยขั้นสุดท้ายต่ำกว่า ราคาอ้อยขั้นต้น จำนวน 2,900 ล้านบาท ให้กองทุน คิดเป็นบัญชีหนี้สินที่จะต้องชำระคืนให้กับโรงงาน ส่วนนี้ กองทุนจะต้องหาวิธีเพื่อมาเป็นรายได้เข้ากองทุนเพิ่มขึ้นโดยอาจจะมีการเก็บค่ารักษาเสถียรภาพเพิ่มขึ้นจาก 0.5% มาอยู่ที่ 5.0 % ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 8 มกราคม 2551 ให้จัดหาเงินสมทบการชดเชยให้กองทุน 5,277 ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลัง เป็นผู้พิจารณาในการดำเนินการจัดหาเงินกู้ให้กับกองทุนฯ
สำหรับปีเพาะปลูก ปี 2550/51 สอน.ได้ประกาศราคาอ้อยขั้นต้น 600 บาท/ตัน โดยคิดคำนวณตามสูตรที่ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ คือ (1) อัตราแลกเปลี่ยนที่ 34 บาท/1 เหรียญสหรัฐ (2) ปริมาณอ้อย 68.15 ล้านตัน (3) ราคาน้ำตาลตลาดโลก 10.6 เซนต์/ ปอนด์ (4) ค่าความหวาน 10 CCS แต่เป็นราคาที่ชาวไร่อ้อยรับไม่ได้ และเรียกร้องให้ปรับราคาอ้อยขั้นต้นเป็น 700 บาท/ตัน โดยเงินส่วนที่เพิ่มขึ้น 100 บาท/ตัน จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่ง 38 บาท/ตัน จะเป็นเงินส่วนที่โรงงานจ่ายเป็นค่าอ้อยให้กับชาวไร่อ้อยไปก่อน เนื่องจากปัจจุบันน้ำตาลโควตา ค. จำหน่ายล่วงหน้าไปแล้วประมาณ 50% และได้ราคาดีประมาณ 13 เซนต์/ปอนด์ เมื่อนำมาคำนวณแล้วราคาอ้อยก็ตกอยู่ประมาณ 638 บาท/ตัน และส่วนที่สอง คณะรัฐมนตรีได้มีมติ ( 8 มกราคม 2551 ) อนุมัติให้กองทุนกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเพิ่มราคาให้ชาวไร่อ้อยอีกตันละ 62 บาท/ตัน รวมเป็นเงิน 4,255 ล้านบาท ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยจะได้รับ 700 บาท/ตัน ซึ่งเป็นที่พอใจของเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพราะต่างก็เข้าใจถึงสถานการณ์เป็นอย่างดี
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-