1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
กรมประมงเตือนผู้ผลิตปลาร้าตรวจสอบวัตถุดิบก่อนการผลิต
ดร.จิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมง ชี้แจงว่าการทำปลาร้าส่วนใหญ่มักจะใช้ปลาน้ำจืด เช่น ปลากระดี่ ปลาสร้อย ปลาช่อน ปลานิล เป็นต้น ซึ่งมีทั้งที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือนำมาจากการเพาะเลี้ยง โดยในส่วนของแหล่งน้ำธรรมชาติและอ่างเก็บน้ำไม่ได้มีปลาปักเป้าน้ำจืดมากนัก ดังนั้น กรณีดังกล่าวจึงไม่น่าจะเป็นความตั้งใจที่จะนำปลาปักเป้าน้ำจืดมาผลิตเป็นปลาร้า แต่อาจเกิดจากการที่ผู้ผลิตไม่ได้มีการตรวจสอบและคัดแยกปลาที่จะนำมาทำปลาร้า จึงมีปลาปักเป้าน้ำจืดปะปนอยู่ ทั้งนี้ กรมประมงได้มีการแจ้งให้ผู้ผลิตใส่ใจตรวจสอบคัดแยกวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากพิษของปลาปักเป้าน้ำจืดเป็นพิษอัมพาต หรือพีเอสพี (PSP) และมีความรุนแรงของพิษสูงกว่าพิษของปลาปักเป้าทะเลที่ชื่อ เททโทรโดท๊อกซิน (Tetrodotoxin) อย่างไรก็ตาม ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบปลาที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปลาร้าอีกชั้นหนึ่ง เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมไปถึงเผยแพร่ข้อมูลของพิษจากปลาปักเป้า เพื่อให้ผู้ผลิตมีความเข้าใจถึงอันตรายของปลาดังกล่าว ขณะนี้ กรมประมงได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำพื้นเมือง รวมทั้งพัฒนาสุขลักษณะของกระบวนการผลิตและการบรรจุผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และความปลอดภัยต่อผู้บริโภคให้ได้ มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับเพิ่มขึ้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (5-11 ม.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,105.59 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 681.18 ตัน สัตว์น้ำจืด 424.41 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.20 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.19 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 110.20 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 46.36 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 84.36 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.58 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.56 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.12 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.92 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 128.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 0.49 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.52 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 107.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 110.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.14 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.59 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.27 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 26 ม.ค. — 1 ก.พ. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.60 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 28 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2551--
-พห-
การผลิต
กรมประมงเตือนผู้ผลิตปลาร้าตรวจสอบวัตถุดิบก่อนการผลิต
ดร.จิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมง ชี้แจงว่าการทำปลาร้าส่วนใหญ่มักจะใช้ปลาน้ำจืด เช่น ปลากระดี่ ปลาสร้อย ปลาช่อน ปลานิล เป็นต้น ซึ่งมีทั้งที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือนำมาจากการเพาะเลี้ยง โดยในส่วนของแหล่งน้ำธรรมชาติและอ่างเก็บน้ำไม่ได้มีปลาปักเป้าน้ำจืดมากนัก ดังนั้น กรณีดังกล่าวจึงไม่น่าจะเป็นความตั้งใจที่จะนำปลาปักเป้าน้ำจืดมาผลิตเป็นปลาร้า แต่อาจเกิดจากการที่ผู้ผลิตไม่ได้มีการตรวจสอบและคัดแยกปลาที่จะนำมาทำปลาร้า จึงมีปลาปักเป้าน้ำจืดปะปนอยู่ ทั้งนี้ กรมประมงได้มีการแจ้งให้ผู้ผลิตใส่ใจตรวจสอบคัดแยกวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากพิษของปลาปักเป้าน้ำจืดเป็นพิษอัมพาต หรือพีเอสพี (PSP) และมีความรุนแรงของพิษสูงกว่าพิษของปลาปักเป้าทะเลที่ชื่อ เททโทรโดท๊อกซิน (Tetrodotoxin) อย่างไรก็ตาม ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบปลาที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปลาร้าอีกชั้นหนึ่ง เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมไปถึงเผยแพร่ข้อมูลของพิษจากปลาปักเป้า เพื่อให้ผู้ผลิตมีความเข้าใจถึงอันตรายของปลาดังกล่าว ขณะนี้ กรมประมงได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำพื้นเมือง รวมทั้งพัฒนาสุขลักษณะของกระบวนการผลิตและการบรรจุผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และความปลอดภัยต่อผู้บริโภคให้ได้ มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับเพิ่มขึ้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (5-11 ม.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,105.59 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 681.18 ตัน สัตว์น้ำจืด 424.41 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.20 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.19 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 110.20 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 46.36 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 84.36 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.58 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.56 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.12 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.92 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 128.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 0.49 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.52 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 107.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 110.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.14 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.59 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.27 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 26 ม.ค. — 1 ก.พ. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.60 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 28 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2551--
-พห-