สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 17 - 23 พฤษภาคม 2562
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ดังนี้
1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่
(1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่(นาแปลงใหญ่)
(2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43
(3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง
(4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ
(5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
(6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ
(7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map)
(9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
(10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด
(11) โครงการประกันภัยพืชผล
(1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการรถเกี่ยวนวดข้าว
(2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
(1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62
(5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
(6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
(7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก
(8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
(1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ
(2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว
(3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/ เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
(4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
1.2 ราคา
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,720 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,688 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,853 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,892 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,131 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,755 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,148 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,316 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 561 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 407 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,867 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,065 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 198 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 399 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,614 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 405 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,812 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 198 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 410 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,962 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 416 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,160 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 198 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.6136
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศโชว์เอฟทีเอช่วยดันส่งออกข้าวไทยไปประเทศคู่เจรจาพุ่ง หลังปรับลดภาษีนำเข้า เล็งลุยถกจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย เปิดตลาดสินค้าข้าวเพิ่ม หลังยังมีโควตาและเก็บภาษีสูงอยู่ เพื่อสร้างแต้มต่อให้กับข้าวไทย
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ติดตามสถานการณ์ การส่งออกข้าวไทยไปยังประเทศคู่เจรจาเอฟทีเอของไทย 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 9 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี และฮ่องกง ล่าสุดที่จะมีผลใช้บังคับในเดือนมิถุนายน 2562 โดยที่ผ่านมา พบว่านับตั้งแต่ความตกลงเอฟทีเอมีผลบังคับใช้ การส่งออกข้าวไทยไปประเทศคู่เจรจาเอฟทีเอขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกตลาด เช่น อาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 144 ออสเตรเลียเพิ่มขึ้นร้อยละ 155 นิวซีแลนด์เพิ่มขึ้นร้อยละ 135 เปรูเพิ่มขึ้นร้อยละ 464 และชิลีเพิ่มขึ้นร้อยละ 200 เนื่องจากประเทศเหล่านี้ยกเลิกและทยอยลดการเก็บภาษีศุลกากรนำเข้าข้าวจากไทยแล้ว
อย่างไรก็ตาม มีบางประเทศที่เพิ่งเริ่มลดภาษี และบางประเทศยังคงกำหนดโควตาและเก็บภาษีสูง เช่น จีนเพิ่งเริ่มลดภาษีสินค้าข้าวบางรายการให้ไทยเมื่อปี 2561 และในรายการสำคัญ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ข้าวขัดสี รวมถึงข้าวหอมมะลิ จีนยังคงอัตราภาษีที่ร้อยละ 50 ขณะที่ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย จัดให้ข้าวเป็นสินค้าอ่อนไหวและยังคงเก็บภาษีนำเข้าข้าวในอัตราที่สูง โดยเกาหลีใต้เก็บภาษีนำเข้าข้าวร้อยละ 513 อินเดียเก็บภาษีนำเข้าข้าวร้อยละ 70-80 และญี่ปุ่นยังใช้ระบบโควตาภาษี โดยการนำเข้าข้าวภายใต้โควตา 682,000 ตันต่อปี จะไม่เสียภาษี แต่การนำเข้าข้าว นอกโควตา ต้องเสียภาษีในอัตรา 341 เยนต่อกิโลกรัม
อธิบดีกล่าวว่า “กรมฯ จะเดินหน้าผลักดันให้ประเทศคู่ค้าเปิดตลาดเพิ่มเติมให้ไทยภายใต้การเจรจาเอฟทีเอกรอบต่างๆ ทั้งการทบทวนความตกลงเอฟทีเอที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน เช่น เอฟทีเอที่ไทยทำกับอาเซียน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย จีน และความตกลงเอฟทีเอที่อยู่ระหว่างการเจรจา เช่น การเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซป) และการเจรจาจัดทำเอฟทีเอกับตุรกี ปากีสถาน และศรีลังกา เป็นต้น เพื่อช่วยสร้างแต้มต่อให้กับข้าวไทยในตลาดโลก”
ทั้งนี้ สถิติปี 2561 ไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลก รองจากอินเดีย โดยไทยส่งออกข้าวสู่ตลาดโลกปริมาณ 11.089 ล้านตัน มูลค่า 5,619.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.34 และร้อยละ 2.02 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2560 โดยสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดหลัก เช่น อาเซียน ร้อยละ 20.12 เบนิน ร้อยละ 11.19 และจีน ร้อยละ 9.81 เป็นต้น สำหรับมูลค่าการส่งออกข้าวของไทยไปประเทศคู่เจรจาเอฟทีเอ 17 ประเทศ รวม 1,870.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 33.29 ของการส่งออกข้าวของไทย
ที่มา : www.ryt9.com
สำนักงานศุลกากร (General Administration of Customs of the People's Republic of China; GACC) รายงานว่า การส่งออกข้าวในเดือนเมษายน 2562 (ข้อมูลเบื้องต้น) ประมาณ 351,000 ตัน มูลค่า 126.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.70 และร้อยละ 45.07 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับการส่งออกในเดือนมีนาคม 2562 ที่มีการส่งออกข้าวจำนวน 190,000 ตัน มูลค่า 87.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเมื่อเทียบกับการส่งออกในเดือนเมษายน 2561 (มีการส่งออกข้าวจำนวน 165,000 ตัน มูลค่า 72.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 112.73 และร้อยละ 74.96 ตามลำดับ โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-เมษายน) จีนส่งออกข้าวแล้วประมาณ 830,000 ตัน มูลค่า 316.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.4 และร้อยละ 24.2 เมื่อเทียบกับจำนวน 502,000 ตัน มูลค่า 254.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปี 2561
ทั้งนี้ ในปี 2561 ประเทศจีนส่งออกข้าวประมาณ 2.089 ล้านตัน มูลค่า 887.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 74.7 และร้อยละ 48.9 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับจำนวน 1.196 ล้านตัน มูลค่า 596.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2560 โดยในปี 2561 จีนส่งออกข้าวไปยังประเทศไอวอรี่โคสต์จำนวน 450,380 ตัน กินี 183,929 ตัน เกาหลีใต้ 173,426 ตัน อียิปต์169,968 ตัน ตุรกี 167,775 ตัน ฟิลิปปินส์ 81,803 ตัน เบนิน 79,700 ตัน ญี่ปุ่น 73,240 ตัน เซียร์ร่าลีโอน 69,251 ตัน สหรัฐอเมริกา 65,350 ตัน เซเนกัล 64,000 ตัน และเกาหลีเหนือ 43,532 ตัน
ส่วนการนำเข้าข้าวนั้น ในเดือนมีนาคม 2562 (ข้อมูลเบื้องต้น) จีนมีการนำเข้าข้าวประมาณ 170,000 ตัน มูลค่า 86.424 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 39.28 และร้อยละ 43.16 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับจำนวน 280,000 ตัน มูลค่า 152.056 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปี 2561 โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้(มกราคม-มีนาคม 2562) จีนนำเข้าข้าวประมาณ 590,000 ตัน มูลค่า 327.762 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 24.35 และร้อยละ 23.14 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับจำนวน 780,000 ตัน มูลค่า 426.483 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปี 2561
ทั้งนี้ ในปี 2561 ประเทศจีนนำเข้าข้าวจำนวน 3.03 ล้านตัน มูลค่า 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 23.9 และร้อยละ 12.5 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับจำนวน 3.99 ล้านตัน มูลค่า 1,828 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี2560 โดยในปี 2561 จีนนำเข้าข้าวจากเวียดนามจำนวน 1,449,602 ตัน ไทย 899,237 ตัน ปากีสถาน 342,346 ตัน กัมพูชา 162,815 ตัน และลาว 73,670 ตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร