1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2550/51
- เป้าหมายรับจำนำ 8 ล้านตันข้าวเปลือก โดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- ธ.ก.ส. รับจำนำจากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตัวเอง
- อคส. รับฝากและออกใบประทวน โดย ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตกร
ที่ไม่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าว ณ ระดับความชื้น 15% แยกตามชนิดข้าว ในราคาที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยข้าวเจ้า
สูงกว่าปีที่ผ่านมาตันละ 200 บาท ข้าวหอมมะลิ สูงขึ้นตันละ 300 บาท
- ระยะเวลารับจำนำ 1 พย.50 — กพ.51 ยกเว้นภาคใต้ให้รับจำนำระหว่าง 1 กพ.-31 พค.51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กรณีจำนำยุ้งฉางของ ธ.ก.ส. กำหนด 4 เดือน นับถือจากเดือนที่รับจำนำ และกรณีจำนำใบประทวนของ อคส.
กำหนด 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 1 พย. 50 — 31 ตค.51
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 ให้เปิดรับจำนำข้าวเปลือกเหนียวปี 2550/51
เฉพาะที่ยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ในราคาเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาตันละ 400 บาท โดยรับจำนำข้าวเปลือกเหนียว 10% คละ ความชื้นไม่
เกิน 15% ในราคาตันละ 7,900 บาท และ ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 8,100 บาท โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ
เกษตร (ธ.ก.ส.) เริ่มรับจำนำได้ตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน นี้เป็นต้นไป และให้สิ้นสุดระยะเวลารับจำนำ พร้อมโครงการรับจำนำข้าว 2550/2551
หรือในเดือนกุมภาพันธ์ 2551
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 1 พ.ย. 50 - 29 ม.ค. 51
หน่วย:ตัน
สรุปผลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2550/51
รายการ ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมข้าวทุกนิด ร้อยละ
(เฉพาะ ธกส.) ของเป้าหมาย
ปริมาณรับจำนำ 50,608 72,954 1,773 1,956 19,944 147,235 1.84
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกฯ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวะการซื้อขาย ภาวะการณ์ซื้อขายในช่วงสัปดาห์ ราคาข้าวภายในประเทศพุ่งสูงขึ้นอีกทุกตลาดเนื่องจากผู้ส่งออกมียังคงมีความต้องการ
ข้าวเพื่อการส่งมอบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ผลผลิตในตลาดมีน้อย จึงต่างออกมาแข่งกันรับซื้อในราคาที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันโรงสีชะลอการ
จำหน่ายข้าวเพื่อเก็งราคา ผู้ส่งออกบางรายไม่กล้าที่จะรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เนื่องจากเกรงว่าจะขาดทุนเนื่องจากราคาข้าวภายในประเทศพุ่ง
สูงขึ้น ประกอบกับค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าอยู่อย่างต่อเนื่อง
การส่งออก
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 22 มกราคม 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 0.658 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 0.400 ล้านตันข้าว
สาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 64.50
(ที่มา: จากกรมการค้าต่างประเทศ)
ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,686 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,398 บาท ของ
สัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.39
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,222 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,069 บาท ของสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 2.16
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,425 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,465 บาท ของ
สัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.70
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 732 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,941 บาท/ตัน) ราคาสูง
ขึ้นจากตันละ 705 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,147 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.83 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 794 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 444 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 14,522 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น
จากตันละ 418 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,724 บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.22 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 798 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 438 ดอลลาร์สหรัฐฯ( 14,326 บาท/ตัน) ราคา
สูงขึ้นจากตันละ 412 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,527 บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.31 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 799 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 463 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,143 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ
437 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,348 บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.95 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 795 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.7068 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
อินโดนีเชียลดภาษีนำเข้าข้าว รัฐบาลอินโดนีเชียผ่อนปรนภาษีนำเข้าข้าวโดยลดจาก 550 รูเปียต่อกิโลกรัม (2.09 บาท/กิโลกรัม)
เหลือ 450 รูเปียต่อกิโลกรัม (1.71 บาท/กิโลกรัม) การตัดสินใจเรื่องดังกล่าวมีผลจากการที่ดัชนีราคาผู้บริโภคภายในประเทศเดือนมกราคม
2558 เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคมถึง 1.77 โดยที่ราคาข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวอินโดนีเชียเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักให้ดัชนีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นดังกล่าว ทั้ง
นี้ เป็นผลสืบเนื่องจากอุปทานในประเทศขาดแคลน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องรักษาระดับราคาข้าวภายในประเทศไม่ให้สูงเกินไปจึงได้มีมาตรการลดภาษีนำ
เข้าข้าวดังกล่าว
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 4 -10 กุมภาพันธ์ 2551--
-พห-
1.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2550/51
- เป้าหมายรับจำนำ 8 ล้านตันข้าวเปลือก โดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- ธ.ก.ส. รับจำนำจากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตัวเอง
- อคส. รับฝากและออกใบประทวน โดย ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตกร
ที่ไม่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าว ณ ระดับความชื้น 15% แยกตามชนิดข้าว ในราคาที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยข้าวเจ้า
สูงกว่าปีที่ผ่านมาตันละ 200 บาท ข้าวหอมมะลิ สูงขึ้นตันละ 300 บาท
- ระยะเวลารับจำนำ 1 พย.50 — กพ.51 ยกเว้นภาคใต้ให้รับจำนำระหว่าง 1 กพ.-31 พค.51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กรณีจำนำยุ้งฉางของ ธ.ก.ส. กำหนด 4 เดือน นับถือจากเดือนที่รับจำนำ และกรณีจำนำใบประทวนของ อคส.
กำหนด 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 1 พย. 50 — 31 ตค.51
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 ให้เปิดรับจำนำข้าวเปลือกเหนียวปี 2550/51
เฉพาะที่ยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ในราคาเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาตันละ 400 บาท โดยรับจำนำข้าวเปลือกเหนียว 10% คละ ความชื้นไม่
เกิน 15% ในราคาตันละ 7,900 บาท และ ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 8,100 บาท โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ
เกษตร (ธ.ก.ส.) เริ่มรับจำนำได้ตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน นี้เป็นต้นไป และให้สิ้นสุดระยะเวลารับจำนำ พร้อมโครงการรับจำนำข้าว 2550/2551
หรือในเดือนกุมภาพันธ์ 2551
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 1 พ.ย. 50 - 29 ม.ค. 51
หน่วย:ตัน
สรุปผลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2550/51
รายการ ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมข้าวทุกนิด ร้อยละ
(เฉพาะ ธกส.) ของเป้าหมาย
ปริมาณรับจำนำ 50,608 72,954 1,773 1,956 19,944 147,235 1.84
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกฯ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวะการซื้อขาย ภาวะการณ์ซื้อขายในช่วงสัปดาห์ ราคาข้าวภายในประเทศพุ่งสูงขึ้นอีกทุกตลาดเนื่องจากผู้ส่งออกมียังคงมีความต้องการ
ข้าวเพื่อการส่งมอบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ผลผลิตในตลาดมีน้อย จึงต่างออกมาแข่งกันรับซื้อในราคาที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันโรงสีชะลอการ
จำหน่ายข้าวเพื่อเก็งราคา ผู้ส่งออกบางรายไม่กล้าที่จะรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เนื่องจากเกรงว่าจะขาดทุนเนื่องจากราคาข้าวภายในประเทศพุ่ง
สูงขึ้น ประกอบกับค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าอยู่อย่างต่อเนื่อง
การส่งออก
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 22 มกราคม 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 0.658 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 0.400 ล้านตันข้าว
สาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 64.50
(ที่มา: จากกรมการค้าต่างประเทศ)
ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,686 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,398 บาท ของ
สัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.39
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,222 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,069 บาท ของสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 2.16
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,425 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,465 บาท ของ
สัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.70
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 732 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,941 บาท/ตัน) ราคาสูง
ขึ้นจากตันละ 705 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,147 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.83 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 794 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 444 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 14,522 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น
จากตันละ 418 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,724 บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.22 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 798 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 438 ดอลลาร์สหรัฐฯ( 14,326 บาท/ตัน) ราคา
สูงขึ้นจากตันละ 412 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,527 บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.31 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 799 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 463 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,143 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ
437 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,348 บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.95 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 795 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.7068 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
อินโดนีเชียลดภาษีนำเข้าข้าว รัฐบาลอินโดนีเชียผ่อนปรนภาษีนำเข้าข้าวโดยลดจาก 550 รูเปียต่อกิโลกรัม (2.09 บาท/กิโลกรัม)
เหลือ 450 รูเปียต่อกิโลกรัม (1.71 บาท/กิโลกรัม) การตัดสินใจเรื่องดังกล่าวมีผลจากการที่ดัชนีราคาผู้บริโภคภายในประเทศเดือนมกราคม
2558 เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคมถึง 1.77 โดยที่ราคาข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวอินโดนีเชียเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักให้ดัชนีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นดังกล่าว ทั้ง
นี้ เป็นผลสืบเนื่องจากอุปทานในประเทศขาดแคลน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องรักษาระดับราคาข้าวภายในประเทศไม่ให้สูงเกินไปจึงได้มีมาตรการลดภาษีนำ
เข้าข้าวดังกล่าว
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 4 -10 กุมภาพันธ์ 2551--
-พห-