แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (12 — 18 ม.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,206.38 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 674.81 ตัน สัตว์น้ำจืด 531.56 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.19 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.22 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 111.93 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 30.66 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 81.92 ตัน
การตลาด
ประมงขยับวางแผนตลาดกุ้งอินทรีย์
นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า นโยบายการส่งเสริมการผลิตกุ้งอินทรีย์ จะเน้นส่งเสริมให้แก่กลุ่มเกษตรกรรายย่อยเข้ามาดำเนินการเรื่องนี้ เนื่องจากการผลิตกุ้งอินทรีย์มีลักษณะพิเศษ มี รูปแบบการผลิตกึ่งธรรมชาติ จึงจะเน้นการสร้างคุณภาพของสินค้ามากกว่าการเพิ่มปริมาณของผลผลิต ในขณะ เดียวกันจะหันมาทำการตลาดภายในประเทศมากขึ้น นอกเหนือจากการทำตลาดต่างประเทศตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสร้างมาตรฐานของสินค้าให้มีมากขึ้น และขณะนี้กรมประมงอยู่ระหว่างการพิจารณาทำแผนนโยบายกุ้งอินทรีย์ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณา ปัจจุบันกรมประมงได้จัดทำมาตรฐานสินค้ากุ้งอินทรีย์และสามารถพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขาดเพียงแผนการทำตลาดภายในประเทศ ซึ่งในอนาคตจะต้องผลักดันให้เกิดขึ้น ซึ่งจะมีประโยชน์แก่เกษตรกรผู้ผลิตโดยตรง โดยเฉพาะในประเด็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สินค้ากุ้งอินทรีย์ให้เกิดขึ้นในตลาด และการจัดหาแหล่งจำหน่ายกุ้งอินทรีย์ให้ถึงมือผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น นายนิวัติ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหากมีการผลิตกุ้งอินทรีย์ป้อนเข้าสู่ตลาดภายในประเทศ คือ การสวมรอยของกุ้งอินทรีย์ ซึ่งกรมประมงเน้นการจัดทำป้ายรับรอง กุ้งอินทรีย์ให้เป็นที่รู้จัก รวมถึงการจัดทำป้ายรับรองแหล่งจำหน่ายกุ้งอินทรีย์ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นทั้งสินค้าและแหล่งจำหน่ายว่าได้บริโภคกุ้งอินทรีย์อย่างแท้จริง โดยในเบื้องต้นคาดการณ์ผลผลิตกุ้งอินทรีย์ของไทยน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 ตัน/ปี ในขณะที่ราคาจำหน่ายจะสูงกว่าราคากุ้งทั่วไปประมาณ 20-25%
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.86 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 126.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 127.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 1.56 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 118.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.27 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 111.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 107.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.15 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 2 — 8 ก.พ. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.31 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 4 -10 กุมภาพันธ์ 2551--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (12 — 18 ม.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,206.38 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 674.81 ตัน สัตว์น้ำจืด 531.56 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.19 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.22 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 111.93 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 30.66 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 81.92 ตัน
การตลาด
ประมงขยับวางแผนตลาดกุ้งอินทรีย์
นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า นโยบายการส่งเสริมการผลิตกุ้งอินทรีย์ จะเน้นส่งเสริมให้แก่กลุ่มเกษตรกรรายย่อยเข้ามาดำเนินการเรื่องนี้ เนื่องจากการผลิตกุ้งอินทรีย์มีลักษณะพิเศษ มี รูปแบบการผลิตกึ่งธรรมชาติ จึงจะเน้นการสร้างคุณภาพของสินค้ามากกว่าการเพิ่มปริมาณของผลผลิต ในขณะ เดียวกันจะหันมาทำการตลาดภายในประเทศมากขึ้น นอกเหนือจากการทำตลาดต่างประเทศตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสร้างมาตรฐานของสินค้าให้มีมากขึ้น และขณะนี้กรมประมงอยู่ระหว่างการพิจารณาทำแผนนโยบายกุ้งอินทรีย์ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณา ปัจจุบันกรมประมงได้จัดทำมาตรฐานสินค้ากุ้งอินทรีย์และสามารถพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขาดเพียงแผนการทำตลาดภายในประเทศ ซึ่งในอนาคตจะต้องผลักดันให้เกิดขึ้น ซึ่งจะมีประโยชน์แก่เกษตรกรผู้ผลิตโดยตรง โดยเฉพาะในประเด็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สินค้ากุ้งอินทรีย์ให้เกิดขึ้นในตลาด และการจัดหาแหล่งจำหน่ายกุ้งอินทรีย์ให้ถึงมือผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น นายนิวัติ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหากมีการผลิตกุ้งอินทรีย์ป้อนเข้าสู่ตลาดภายในประเทศ คือ การสวมรอยของกุ้งอินทรีย์ ซึ่งกรมประมงเน้นการจัดทำป้ายรับรอง กุ้งอินทรีย์ให้เป็นที่รู้จัก รวมถึงการจัดทำป้ายรับรองแหล่งจำหน่ายกุ้งอินทรีย์ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นทั้งสินค้าและแหล่งจำหน่ายว่าได้บริโภคกุ้งอินทรีย์อย่างแท้จริง โดยในเบื้องต้นคาดการณ์ผลผลิตกุ้งอินทรีย์ของไทยน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 ตัน/ปี ในขณะที่ราคาจำหน่ายจะสูงกว่าราคากุ้งทั่วไปประมาณ 20-25%
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.86 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 126.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 127.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 1.56 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 118.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.27 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 111.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 107.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.15 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 2 — 8 ก.พ. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.31 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 4 -10 กุมภาพันธ์ 2551--
-พห-