สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 16 - 22 สิงหาคม 2562
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการรถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว (4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
1.2 ราคา
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,238 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,087 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,953 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,959 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 35,170 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 35,050 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,950 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.07
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,247 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,953 บาท/ตัน)
ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,209 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,953 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.14 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,000 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 431 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,118 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 429 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,112 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 6 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 423 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,874 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 419 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,807 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 67 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 434 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,209 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 436 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,326 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 117 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.4358
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อ่อนตัวลงเล็กน้อยท่ามกลางความต้องการที่ลดลง โดยเฉพาะจากประเทศจีนและฟิลิปปินส์ ราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 335-340 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากตันละ 335-345 ดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า โดยวงการค้าระบุว่า ช่วงนี้ผู้ซื้อจากฟิลิปปินส์ลดการสั่งซื้อข้าวจากเวียดนามเพื่อชะลอการนำเข้าข้าว เพราะต้องการช่วยเหลือเกษตรกรของฟิลิปปินส์ที่กำลังจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า ขณะที่
ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา มีการโหลดสินค้าเพื่อเตรียมส่งมอบไปยังประเทศผู้ซื้อในแถบแอฟริกาประมาณ 23,000 ตันกระทรวงเกษตร (The Ministry of Agriculture and Rural Development; MARD) คาดว่าเกษตรกรในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงจะเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกในฤดูการผลิตฤดูร้อน (summer-autumn rice crop) เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 150,000 ตัน ซึ่งปีที่ผ่านมาเก็บเกี่ยวข้าวได้ประมาณ 1.57 ล้านตัน และขณะนี้เกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวแล้วประมาณ 2 ใน 3 ของผลผลิตทั้งหมด และคาดว่าจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายน
ด้านภาวะราคาข้าวในปีนี้ อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการข้าวจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศจีนลดลง
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
รัฐบาลกัมพูชายอมรับว่าอัตราภาษีข้าวของสหภาพยุโรป (the European Union; EU) สร้างความเสียหายต่อเกษตรกรกัมพูชาจำนวนมากกว่าครึ่งล้าน หลังยอดส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรปลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ส่งออก 93,000 ตัน ขณะที่สหภาพยุโรปกำลังทบทวนสิทธิการเข้าถึงการค้าแบบปลอดภาษีของกัมพูชาจากแนวโน้มสิทธิมนุษยชนของประเทศ หลังเคยกำหนดอัตราภาษีเป็นเวลา 3 ปี เพื่อปกป้องผู้ผลิตของสหภาพยุโรป เช่น อิตาลี หลังปริมาณการนำเข้าข้าวจากสองประเทศเพิ่มสูงขึ้น สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (The Cambodian Rice Federation; CRF) เปิดเผยว่า การตั้งกำแพงภาษีดังกล่าว
มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเกษตรกรกว่า 500,000 ครอบครัว ที่ใช้ชีวิตจากการทำนาข้าวหอมและข้าวเมล็ดยาว ทั้งที่ ความจริงแล้วข้าวสายพันธุ์เหล่านี้เป็นสายพันธุ์ข้าวเฉพาะตามภูมิศาสตร์ และไม่ได้แข่งขันโดยตรงกับข้าวที่ปลูกใน สหภาพยุโรป
อย่างไรก็ตาม สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีเผยว่า รัฐบาลจีนจะช่วยเหลือกัมพูชาหากสหภาพยุโรปถอนสิทธิโครงการ Everything But Arms (EBA) ซึ่งจีนยังยินดีที่จะนำเข้าข้าวกัมพูชาเพิ่มเป็น 400,000 ตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กระทรวงพาณิชย์ (Ministry of Commerce) รายงานว่า ในช่วง 10 เดือนแรก (ตุลาคม 2561-กรกฎาคม 2562) ของปีงบประมาณ 2561/62 (ตุลาคม 2561-กันยายน 2562) เมียนมาร์ส่งออกข้าว (ข้าวสาร และข้าวหัก) แล้วประมาณ 1.97 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมูลค่าส่งออกในปีนี้ลดลงประมาณ 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปริมาณลดลงประมาณ 820,000 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ด้านสหพันธ์ข้าวเมียนมาร์ (Myanmar Rice Federation; MRF) รายงานว่า ในช่วงประมาณ 10 เดือนแรก (ตุลาคม 2561-กรกฎาคม 2562) ของปีงบประมาณ 2561/62 (ตุลาคม 2561-กันยายน 2562) เมียนมาร์ส่งออกข้าวหักประมาณ 400,689 ตัน มูลค่ากว่า 107.147 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปยัง 36 ประเทศ โดยประเทศผู้นำเข้าข้าวหักรายใหญ่ที่สุดของเมียนมาร์ คือ เบลเยี่ยม ซึ่งนำเข้าข้าวหักแล้วประมาณ 190,000 ตัน มูลค่ากว่า 50.547 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
คิดเป็นร้อยละ 47 ของการส่งออกข้าวหักทั้งหมด ขณะเดียวกันมีการส่งออกไปยังอินโดนีเซีย ประมาณ 68,000 ตัน มูลค่ากว่า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จีน ประมาณ 25,000 ตัน มูลค่ากว่า 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนเธอร์แลนด์ ประมาณ 23,000 ตัน มูลค่ากว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ประมาณ 20,000 ตัน มูลค่ากว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะที่ช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีการส่งออกข้าวผ่านทางแนวชายแดนไปยังจีน ประมาณ 29,000 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนที่ส่งออกปริมาณ 26,000 ตัน โดยในปีงบประมาณ 2560/61 เมียนมาร์ส่งออกข้าวประมาณ 3.6 ล้านตัน ซึ่งถือเป็นระดับการส่งออกที่สูงที่สุดในรอบ 50 ปี
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร