สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 30 สิงหาคม - กันยายน 2562
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 อนุมัติในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ วงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท ดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ซึ่งได้กำหนดชนิดข้าว ราคา (ณ ความชื้นไม่เกิน 15%) และปริมาณประกันรายได้ไม่เกินครัวเรือนละ 40 ไร่ โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน (บาท/ตัน) (ตัน) ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14 ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16 ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30 ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25 ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16 กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ใช้สิทธิ์ได้ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด และเมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุด 1.2 ราคา 1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,320 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,238 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,949 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,953 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.05
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 35,930 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 35,170 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.16
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,550 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,750 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.70
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.3593
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
สำนักงานสถิติ (the General Statistics Office) คาดว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 (มกราคม-สิงหาคม) เวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 4.53 ล้านตัน มูลค่า 1.962 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.10 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 14.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้คาดว่าในเดือนสิงหาคม เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 580,000 ตัน มูลค่าประมาณ 252 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่า ลดลงร้อยละ 3.90 และร้อยละ 14.70 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และลดลงจากเดือนกรกฎาคมที่ส่งออกได้ประมาณ 598,619 ตัน ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาค่อนข้างทรงตัวท่ามกลางภาวะการค้าที่ชะลอลง เนื่องจากความต้องการข้าวจากต่างประเทศลดลงโดยเฉพาะจากประเทศจีนและฟิลิปปินส์ โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ระดับ 335-340 เหรียญสหรัฐต่อตัน เท่ากับช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และในช่วงระหว่างวันที่ 1-10 กันยายน 2562 มีการขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City เพื่อส่งมอบให้ผู้ซื้อในต่างประเทศประมาณ 29,600 ตัน ไปยังประเทศในแถบแอฟริกาตะวันตก ประมาณ 23,000 ตัน ส่วนที่เหลือส่งไปยังประเทศฟิลิปปินส์
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า การประมูลขายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติ (the National Grain Trade Center) สามารถขายข้าวเก่าจากสต็อกรัฐบาลปี 2556-2558 ได้ประมาณ 1.13 ล้านตัน จากที่นำข้าวเก่าในสต็อกของรัฐบาลออกประมูลประมาณ 1.83 ล้านตัน(คิดเป็นร้อยละ 61.71 ของปริมาณข้าวที่นำมาเสนอขาย) โดยราคาเฉลี่ยที่ 2,195 หยวนต่อตัน หรือประมาณ 307 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตันกรมศุลกากรจีน (General Administration of Customs of the People's Republic of China; GACC) รายงานว่า การส่งออกข้าวในเดือนกรกฎาคม 2562 มีประมาณ 342,548 ตัน มูลค่าประมาณ 121 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 และร้อยละ 9.3 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2562 ที่ส่งออกประมาณ 0.298 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 110.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 51 และร้อยละ 7.6 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปริมาณที่ส่งออก 0.227 ล้านตัน มูลค่า 74.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (กรกฎาคม 2561)
โดยในเดือนกรกฎาคม 2562 จีนส่งออกข้าวไปยังประเทศอียิปต์มากเป็นอันดับ 1 จำนวน 82,500 ตัน ตามด้วยประเทศจาไมก้า จำนวน 63,000 ตัน ไอวอรี่โคสต์ 42,700 ตัน เกาหลีใต้ 41,812 ตัน เปอร์โตริโก้ 21,000 ตัน เซเนกัล 19,200 ตัน ปาปัวนิวกินี 11,662 ตัน ตุรกี 10,650 ตัน และประเทศอื่นประมาณ 20,024 ตัน
ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2562 (มกราคม-กรกฎาคม 2562) ประเทศจีนส่งออกข้าวประมาณ 1.813 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 679.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 79 และร้อยละ 52 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่ส่งออกประมาณ 1.012 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 445.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สำหรับการนำเข้าข้าวในเดือนกรกฎาคม 2562 มีประมาณ 149,075 ตัน โดยปริมาณนำเข้าลดลงร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2562 ที่ส่งออกประมาณ 0.21 ล้านตัน โดยจีนนำเข้าข้าวจากประเทศเวียดนามมากที่สุด จำนวน 57,481 ตัน เมียนมาร์ 36,896 ตัน ปากีสถาน 23,016 ตัน ไทย 24,137 ตัน กัมพูชา 12,655 ตัน ไต้หวัน 5,212 ตัน ลาว 1,750 ตัน และประทศอื่นๆ อีกประมาณ 583 ตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร