สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 30 สิงหาคม - 5 กันยายน 2562
สุกร
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ค่อนข้างเงียบเหงาไม่ค่อยคึกคัก ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเกิดพายุมีฝนตกหนักและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้การจับจ่ายใช้สอยลดลง ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรลดลง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 67.36 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.86 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.52 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 73.59 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,500 บาท (บวกลบ 62 บาท) ลดลงจากตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 64 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.25
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.10
ไก่เนื้อ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเนื่องจากเกิดพายุมีฝนตกหนักและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ การซื้อขายไม่คล่องตัว ส่งผลให้ความต้องการบริโภคอ่อนตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.24 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.82บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.60 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.37 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ทรงตัวสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลจากก่อนหน้านี้ทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ และเกษตรกรผู้เลี้ยงไข่ไก่ ได้ร่วมมือกันปรับผลผลิตไข่ไก่ทั้งระบบให้สมดุลกับความต้องการบริโภค ส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 288 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 287 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.35 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 299 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 280 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 288 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 331 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 333 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 334 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.30 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 341 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 341 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 319 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 373 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 350 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.57
โคเนื้อ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.26 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.93 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 83.15 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.64 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.00 บาท
กระบือ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.48 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.11 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.28 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร