สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยไทยได้เปรียบดุลการค้าสินค้าเกษตรปี 50 เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัว หลังเปิดการค้าเสรีกับ
ออสเตรเลียกว่า 3 ปี ทูน่ากระป๋อง ข้าว กุ้งแช่เข็ง นำทีมสินค้าส่งออกสำคัญของไทย พร้อมดันผลไม้เมืองร้อน ให้สามารถเข้าสู่ตลาดออสเตรเลียได้
เพิ่มขึ้น
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจ
การเกษตร ได้ติดตามสถานการณ์การค้าสินค้าเกษตร (ตามพิกัดศุลกากรตอนที่ 01 — 24) ระหว่างไทย — ออสเตรเลีย ซึ่งได้เริ่มลดภาษีเป็น 0 %
มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 และบัดนี้ได้ครบรอบ 3 ปีหลังจากการเปิดเสรีระหว่างกันแล้วพบว่า เมื่อพิจารณาในเชิงของดุลการค้าสินค้าเกษตร
แล้ว ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ากับออสเตรเลียเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราการเติบโตระหว่างปี 2547 — 2550 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 28 ต่อปี ซึ่งหลัง
จากเปิด FTA ในปีแรก (ปี 2548) ไทไยด้ดุลการค้า 2,423 ล้านบาท ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็น 3,820 ล้านบาท และ 7,471 ล้านบาท ในปี 2549
และ 2550 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาดุลการค้าสินค้าเกษตรปี 2550 เทียบกับปี 2549 แล้วพบว่า ไทยได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ ก่อน FTA หลัง FTA อัตรการขยายตัวระหว่างปี
ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 ปี 2547-50 ปี 2549-50
มูลค่าการค้า 20,643 26,545 26,288 24,131 5% -8%
- มูลค่าส่งออก 12,220 14,484 15,054 15,801 8% 5%
- มูลค่านำเข้า 8,423 12,061 11,234 8,330 -1% -26%
ดุลการค้า 3,797 2,423 3,820 7,471 28% 96%
หากพิจารณาในรายการสินค้าแล้ว พบว่า สินค้าเกษตรส่งออกสำคัญของไทยคือ ทูน่ากระป๋อง ข้าว กุ้งแช่แข็ง กุ้ง/ปลาปรุงแต่ง อาหาร
สุนัขหรือแมว ซอส / ของปรุงแต่งสำหรับทำซอส อาหารปรุงแต่งปลาแซลมอนปรุงแต่ง โกโก้บัตเตอร์ / ไขมันและน้ำมันของโกโก้ เป็นต้น นอกจากนี้
ยังมีผลไม้เมืองร้อนจากไทยอีกหลายชนิดที่สามารถเข้าสู่ตลาดออสเตรเลียได้เพิ่มขึ้น เช่น มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียนแกะเปลือก เป็นต้น
สำหรับสินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปิด FTA (เช่น เนื้อโค เครื่องในโค เครื่องในสุกร และนมผงขาดมันเนย) ซึ่งแม้ว่า
ปัจจุบันมีการนำเข้าสินค้าเหล่านี้จากออสเตรเลียเพิ่มขึ้น หากแต่การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าปกติ มิได้เป็นการนำเข้าโดยใช้สิทธิพิเศษในการ
ลดภาษีภายใต้ความตกลง FTA ไทย — ออสเตรเลียแต่อย่างใด โดยการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากออสเตรเลียเป็นการทดแทนการนำเข้าจากประเทศคู่ค้า
อื่น (Trade Diversion)
ซึ่งในชั้นนี้ยังพอจะกล่าวได้ว่าสินค้าเหล่านี้ยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปิดตลาดให้กับออสเตรเลีย เนื่องจากผลความตกลงฯ
ไทยยังมีมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard) โดยกำหนดปริมาณนำเข้าในแต่ละปีเป็นเวลาถึง 15 ปี ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็ได้
มีกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ เพื่อเตรียมการรองรับและบรรเทาผลกระทบที่จะกิดขึ้น
อย่างเป็นรูปธรรม ก่อนที่จะเปิดเสรีทางการค้าอย่างสมบูรณ์ในอนาคต นายอภิชาต กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ออสเตรเลียกว่า 3 ปี ทูน่ากระป๋อง ข้าว กุ้งแช่เข็ง นำทีมสินค้าส่งออกสำคัญของไทย พร้อมดันผลไม้เมืองร้อน ให้สามารถเข้าสู่ตลาดออสเตรเลียได้
เพิ่มขึ้น
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจ
การเกษตร ได้ติดตามสถานการณ์การค้าสินค้าเกษตร (ตามพิกัดศุลกากรตอนที่ 01 — 24) ระหว่างไทย — ออสเตรเลีย ซึ่งได้เริ่มลดภาษีเป็น 0 %
มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 และบัดนี้ได้ครบรอบ 3 ปีหลังจากการเปิดเสรีระหว่างกันแล้วพบว่า เมื่อพิจารณาในเชิงของดุลการค้าสินค้าเกษตร
แล้ว ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ากับออสเตรเลียเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราการเติบโตระหว่างปี 2547 — 2550 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 28 ต่อปี ซึ่งหลัง
จากเปิด FTA ในปีแรก (ปี 2548) ไทไยด้ดุลการค้า 2,423 ล้านบาท ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็น 3,820 ล้านบาท และ 7,471 ล้านบาท ในปี 2549
และ 2550 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาดุลการค้าสินค้าเกษตรปี 2550 เทียบกับปี 2549 แล้วพบว่า ไทยได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ ก่อน FTA หลัง FTA อัตรการขยายตัวระหว่างปี
ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 ปี 2547-50 ปี 2549-50
มูลค่าการค้า 20,643 26,545 26,288 24,131 5% -8%
- มูลค่าส่งออก 12,220 14,484 15,054 15,801 8% 5%
- มูลค่านำเข้า 8,423 12,061 11,234 8,330 -1% -26%
ดุลการค้า 3,797 2,423 3,820 7,471 28% 96%
หากพิจารณาในรายการสินค้าแล้ว พบว่า สินค้าเกษตรส่งออกสำคัญของไทยคือ ทูน่ากระป๋อง ข้าว กุ้งแช่แข็ง กุ้ง/ปลาปรุงแต่ง อาหาร
สุนัขหรือแมว ซอส / ของปรุงแต่งสำหรับทำซอส อาหารปรุงแต่งปลาแซลมอนปรุงแต่ง โกโก้บัตเตอร์ / ไขมันและน้ำมันของโกโก้ เป็นต้น นอกจากนี้
ยังมีผลไม้เมืองร้อนจากไทยอีกหลายชนิดที่สามารถเข้าสู่ตลาดออสเตรเลียได้เพิ่มขึ้น เช่น มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียนแกะเปลือก เป็นต้น
สำหรับสินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปิด FTA (เช่น เนื้อโค เครื่องในโค เครื่องในสุกร และนมผงขาดมันเนย) ซึ่งแม้ว่า
ปัจจุบันมีการนำเข้าสินค้าเหล่านี้จากออสเตรเลียเพิ่มขึ้น หากแต่การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าปกติ มิได้เป็นการนำเข้าโดยใช้สิทธิพิเศษในการ
ลดภาษีภายใต้ความตกลง FTA ไทย — ออสเตรเลียแต่อย่างใด โดยการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากออสเตรเลียเป็นการทดแทนการนำเข้าจากประเทศคู่ค้า
อื่น (Trade Diversion)
ซึ่งในชั้นนี้ยังพอจะกล่าวได้ว่าสินค้าเหล่านี้ยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปิดตลาดให้กับออสเตรเลีย เนื่องจากผลความตกลงฯ
ไทยยังมีมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard) โดยกำหนดปริมาณนำเข้าในแต่ละปีเป็นเวลาถึง 15 ปี ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็ได้
มีกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ เพื่อเตรียมการรองรับและบรรเทาผลกระทบที่จะกิดขึ้น
อย่างเป็นรูปธรรม ก่อนที่จะเปิดเสรีทางการค้าอย่างสมบูรณ์ในอนาคต นายอภิชาต กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-