สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยไทยมุ่งผลักดันสินค้าเกษตรสู่ประเทศกำลังพัฒนา เน้นหากเจรจาให้ลดภาษีสินค้าได้ จะขยายการส่งออกสินค้าเกษตรสู่ประเทศต่าง ๆ ได้มากขึ้น
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในช่วงวันที่ 21 — 25 เมษายน 2551 จะมีการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 12 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ กรุงอักกรา ประเทศกานา โดยภายใต้การประชุมดังกล่าวจะมีการจัดประชุมระดับรัฐมนตรี เกี่ยวกับระบบสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (Global System of Trade Preference among Developing Countries : GSTP) ในวันที่ 23 เมษายน นี้ด้วย
สำหรับระบบ GSTP เป็นระบบสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนาที่จะลดหย่อนภาษีศุลกากรให้แก่สินค้าบางรายการที่นำเข้าระหว่างกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และปกป้องดูแลผลประโยชน์ร่วมกันทางการค้า รวมทั้งขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันเอง ซึ่งระบบ GSTP ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกก่อตั้ง 125 ประเทศ แต่มีประเทศสมาชิกที่ร่วมลงนามในข้อตกลงนี้เพียง 48 ประเทศ ประกอบด้วยประเทศกำลังพัฒนาในทวีปต่าง ๆ เช่น อิรัก อิหร่าน ลิเบีย บราซิล บังกลาเทศ ซิมบับเว กลุ่มลาตินอเมริกา กลุ่มแอฟริกา กลุ่มประเทศอาเซียน และไทย เป็นต้น
นายอภิชาต กล่าวต่อไปว่า หากสามารถเจรจาให้มีการลดภาษีสินค้าที่นำเข้า / ส่งออกระหว่างกัน ไทยจะสามารถขยายการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศเหล่านี้ได้มากขึ้น โดยเฉพาะประเทศสมาชิก GSTP ที่อยู่ในแถบลาตินอเมริกาและกลุ่มแอฟริกา เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพการแข่งขันกับประเทศเหล่านี้ ตลอดจนเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารรายใหญ่ของโลก
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในช่วงวันที่ 21 — 25 เมษายน 2551 จะมีการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 12 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ กรุงอักกรา ประเทศกานา โดยภายใต้การประชุมดังกล่าวจะมีการจัดประชุมระดับรัฐมนตรี เกี่ยวกับระบบสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (Global System of Trade Preference among Developing Countries : GSTP) ในวันที่ 23 เมษายน นี้ด้วย
สำหรับระบบ GSTP เป็นระบบสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนาที่จะลดหย่อนภาษีศุลกากรให้แก่สินค้าบางรายการที่นำเข้าระหว่างกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และปกป้องดูแลผลประโยชน์ร่วมกันทางการค้า รวมทั้งขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันเอง ซึ่งระบบ GSTP ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกก่อตั้ง 125 ประเทศ แต่มีประเทศสมาชิกที่ร่วมลงนามในข้อตกลงนี้เพียง 48 ประเทศ ประกอบด้วยประเทศกำลังพัฒนาในทวีปต่าง ๆ เช่น อิรัก อิหร่าน ลิเบีย บราซิล บังกลาเทศ ซิมบับเว กลุ่มลาตินอเมริกา กลุ่มแอฟริกา กลุ่มประเทศอาเซียน และไทย เป็นต้น
นายอภิชาต กล่าวต่อไปว่า หากสามารถเจรจาให้มีการลดภาษีสินค้าที่นำเข้า / ส่งออกระหว่างกัน ไทยจะสามารถขยายการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศเหล่านี้ได้มากขึ้น โดยเฉพาะประเทศสมาชิก GSTP ที่อยู่ในแถบลาตินอเมริกาและกลุ่มแอฟริกา เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพการแข่งขันกับประเทศเหล่านี้ ตลอดจนเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารรายใหญ่ของโลก
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-