สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยงานวิจัยระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานผลไม้สด พบไทยยังมีโอกาสขยายการส่งออกได้อีกมากทั้งในจีน และประเทศเพื่อนบ้าน ชี้หากได้รับการอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ โดยเฉพาะพิธีศุลกากรผ่านแดน จะสามารถขยายการส่งออกได้มากขึ้นอีก
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลงานวิจัยระบบโลจิสติกส์แลห่วงโซ่อุปทานผลไม้สด พบว่า ไทยยังมีโอกาสที่จะขยายการส่งออกได้อีกมากทั้งตลาดในจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักที่สำคัญและตลาดชายแดนเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา เวียดนาม ที่ความต้องการยังมีอีกมาก เนื่องจากผลไม้ของไทยมีคุณภาพและรสชาติเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ประกอบกับปัจจุบันการขนส่งสามารถทำได้ทั้งทางบก ทางเรือเดินทะเลและทางลำน้ำโขง ซึ่งในอนาคตหากภาครัฐเร่งเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะพิธีศุลกากรผ่านแดน รวมทั้งระเบียบข้อบังคับด้านการขนส่งและการเพิ่มเที่ยวเรือในเส้นทางใหม่ ๆ จะเป็นการเพิ่มช่องทางการขยายการส่งออกผลไม้ได้มากขึ้น
ทั้งนี้ นางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า ช่องทางการกระจายผลไม้จากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภคปลายทางในประเทศจีนเดิมนิยมขนส่งทางเรือเดินทะเล โดยผ่านฮ่องกงก่อนเข้าตลาดเจียงหนาน เมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นตลาดกลางค้าผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดของจีน แล้วกระจายไปสู่ผู้บริโภคตามเมืองและมณฑลต่าง ๆ ซึ่งหลังจากเปิด FTA ไทย — จีน ในหมวดผัก — ผลไม้ ตั้งแต่ปลายปี 2546 เป็นต้นมา พบว่า สัดส่วนของการขนส่งทางเรือเดินทะเลเข้าสู่ประเทศจีนโดยตรงเพิ่มขึ้น เป็นผลให้การส่งผ่านทางฮ่องกงลดลง อย่างไรก็ตาม บางส่วนก็ยังมีขนส่งตามลำน้ำโขง โดยลงเรือที่ท่าเรือเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เข้าสู่จีนที่ท่าเรือจิ่งหง เมืองสิบสองปันนา มณฑลยูนนานก่อน แล้วกระจายไปยังเมืองต่าง ๆ
ส่วนการขนส่งทางเรือเดินทะเลเข้าสู่ประเทศจีนโดยตรงสามารถขนส่งได้หลายเส้นทาง นอกจากเข้าสู่ท่าเรือในเมืองกวางเจา มณฑลกวางตุ้งแล้ว ยังสามารถขนส่งโยดใช้เส้นทางจากแหลมฉบังไปสู่ท่าเรือจูไห่ (Zhuhai) เข้าสู่เมืองจางซาน มณฑลกวางตุ้ง โดยมีตลาดกลางค้าผลไม้แห่งใหม่ คือ Jin Tao (Zhongshan) Fresh Produce Logistic Center รองรับ หรือเข้าท่าเรือเซี้ยะเหมิน มณฑลฟูเจี้ยน และท่าเรือเจียงหนิง มหานครเทียนสิน แล้วกระจายไปยังเมืองต่าง ๆ โดยรถยนต์บรรทุก
สำหรับเส้นทางขนส่งทางบก ปัจจุบันได้มีโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านหลายเส้นทาง เช่น โครงข่ายเส้นทางแนวตะวันออก — ตะวันตก (East — West Economic Corridor พม่า — ไทย — ลาว - เวียดนาม) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงถึงเมืองผิงเสียง มณฑลกวางสีของจีน ใช้เส้นทางหนองคาย — ปากซัน — คำเกิด — วิงห์ — ฮานอย — ผิงเสียง มณฑลกวางสี และเส้นทางสายตะวันออก (Eastern Corridor) ใช้เส้นทางอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว — พนมเปญ — เสียมเรียบ — โฮจิมินต์ — วังเตา — จีน
ดังนั้น จึงนับเป็นโอกาสอันดีของไทยในการกระจายผลไม้สู่ประเทศจีนและประเทศเพื่อนบ้านได้เพิ่มมากขึ้น ลดการกระจุกตัวช่วงผลผลิตล้นตลาด โดยอาศัยเส้นทางดังกล่าว อันจะเป็นการย่นระยะเวลาในการขนส่ง ลดการสูญเสียรวมทั้งระบายผลผลิตในช่วงฤดูกาลได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สศก. กำลังศึกษาเส้นทางการขนส่งดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งต้นทุนในการขนส่ง อุปสรรคและปัญหา ตลอดจนกฎระเบียบของประเทศเพื่อนบ้านตลอดเส้นทางการขนส่งเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจของผู้ประกอบการในการส่งออกผลไม้รวมทั้งเป็นช่องทางในการขยายตลาดต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลงานวิจัยระบบโลจิสติกส์แลห่วงโซ่อุปทานผลไม้สด พบว่า ไทยยังมีโอกาสที่จะขยายการส่งออกได้อีกมากทั้งตลาดในจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักที่สำคัญและตลาดชายแดนเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา เวียดนาม ที่ความต้องการยังมีอีกมาก เนื่องจากผลไม้ของไทยมีคุณภาพและรสชาติเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ประกอบกับปัจจุบันการขนส่งสามารถทำได้ทั้งทางบก ทางเรือเดินทะเลและทางลำน้ำโขง ซึ่งในอนาคตหากภาครัฐเร่งเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะพิธีศุลกากรผ่านแดน รวมทั้งระเบียบข้อบังคับด้านการขนส่งและการเพิ่มเที่ยวเรือในเส้นทางใหม่ ๆ จะเป็นการเพิ่มช่องทางการขยายการส่งออกผลไม้ได้มากขึ้น
ทั้งนี้ นางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า ช่องทางการกระจายผลไม้จากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภคปลายทางในประเทศจีนเดิมนิยมขนส่งทางเรือเดินทะเล โดยผ่านฮ่องกงก่อนเข้าตลาดเจียงหนาน เมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นตลาดกลางค้าผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดของจีน แล้วกระจายไปสู่ผู้บริโภคตามเมืองและมณฑลต่าง ๆ ซึ่งหลังจากเปิด FTA ไทย — จีน ในหมวดผัก — ผลไม้ ตั้งแต่ปลายปี 2546 เป็นต้นมา พบว่า สัดส่วนของการขนส่งทางเรือเดินทะเลเข้าสู่ประเทศจีนโดยตรงเพิ่มขึ้น เป็นผลให้การส่งผ่านทางฮ่องกงลดลง อย่างไรก็ตาม บางส่วนก็ยังมีขนส่งตามลำน้ำโขง โดยลงเรือที่ท่าเรือเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เข้าสู่จีนที่ท่าเรือจิ่งหง เมืองสิบสองปันนา มณฑลยูนนานก่อน แล้วกระจายไปยังเมืองต่าง ๆ
ส่วนการขนส่งทางเรือเดินทะเลเข้าสู่ประเทศจีนโดยตรงสามารถขนส่งได้หลายเส้นทาง นอกจากเข้าสู่ท่าเรือในเมืองกวางเจา มณฑลกวางตุ้งแล้ว ยังสามารถขนส่งโยดใช้เส้นทางจากแหลมฉบังไปสู่ท่าเรือจูไห่ (Zhuhai) เข้าสู่เมืองจางซาน มณฑลกวางตุ้ง โดยมีตลาดกลางค้าผลไม้แห่งใหม่ คือ Jin Tao (Zhongshan) Fresh Produce Logistic Center รองรับ หรือเข้าท่าเรือเซี้ยะเหมิน มณฑลฟูเจี้ยน และท่าเรือเจียงหนิง มหานครเทียนสิน แล้วกระจายไปยังเมืองต่าง ๆ โดยรถยนต์บรรทุก
สำหรับเส้นทางขนส่งทางบก ปัจจุบันได้มีโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านหลายเส้นทาง เช่น โครงข่ายเส้นทางแนวตะวันออก — ตะวันตก (East — West Economic Corridor พม่า — ไทย — ลาว - เวียดนาม) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงถึงเมืองผิงเสียง มณฑลกวางสีของจีน ใช้เส้นทางหนองคาย — ปากซัน — คำเกิด — วิงห์ — ฮานอย — ผิงเสียง มณฑลกวางสี และเส้นทางสายตะวันออก (Eastern Corridor) ใช้เส้นทางอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว — พนมเปญ — เสียมเรียบ — โฮจิมินต์ — วังเตา — จีน
ดังนั้น จึงนับเป็นโอกาสอันดีของไทยในการกระจายผลไม้สู่ประเทศจีนและประเทศเพื่อนบ้านได้เพิ่มมากขึ้น ลดการกระจุกตัวช่วงผลผลิตล้นตลาด โดยอาศัยเส้นทางดังกล่าว อันจะเป็นการย่นระยะเวลาในการขนส่ง ลดการสูญเสียรวมทั้งระบายผลผลิตในช่วงฤดูกาลได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สศก. กำลังศึกษาเส้นทางการขนส่งดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งต้นทุนในการขนส่ง อุปสรรคและปัญหา ตลอดจนกฎระเบียบของประเทศเพื่อนบ้านตลอดเส้นทางการขนส่งเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจของผู้ประกอบการในการส่งออกผลไม้รวมทั้งเป็นช่องทางในการขยายตลาดต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-