1. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาภายในประเทศ
นายสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ประเทศไทยเริ่มมีกฎหมายควบคุมยางมาตั้งแต่ปี
พ.ศ.2477 เพื่อกำหนดวิธีการควบคุมการปลูกยาง การทำงาน การส่งออกยางให้เป็นไปตามข้อตกลง ข้อผูกพันระหว่างประเทศ หลังจากนั้นได้มีการ
ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็น จนปัจจุบันมีพระราชบัญญัติ ควบคุมยาง พ.ศ.2542 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่
28 ตุลาคม 2542 เป็นต้นมา แต่ขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปมาก เกิดปัญหาต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้กฎหมายในการควบคุมยาง
เพื่อให้การใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพและมีผลบังคับใช้ สถาบันวิจัยยางจึงมีความจำเป็นต้องให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมพิจารณา เสนอแนะ
ความคิดเห็น ปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัยยิ่งขึ้น โดยจะจัดให้มีการประชุมขึ้นในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ณ โรงแรมเจบี หาดใหญ่ จ.สงขลา ผู้เข้าร่วม
ประชุมระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ประกอบด้วย กรมวิชาการเกษตร สถาบันวิจัยยาง สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแปรรูปผลิตผลการ
เกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 1-8 และภาคเอกชน ได้แก่ สมาคมยางพาราไทย สมาคมน้ำยางข้นไทย ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่ง
ประเทศไทย สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง และสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางแห่งประเทศไทย จำนวนทั้งหมด
กว่า 70 คน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.91 บาท สูงขึ้นจาก 80.92 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
1.99 บาท หรือร้อยละ 2.46
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.41 บาท สูงขึ้นจาก 80.42 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
1.99 บาท หรือร้อยละ 2.47
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.91 บาท สูงขึ้นจาก 79.92 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
1.99 บาท หรือร้อยละ 2.49
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.62 บาท สูงขึ้นจาก 79.42 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.20 บาท หรือร้อยละ 2.77
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.89 บาท สูงขึ้นจาก 78.74 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.15 หรือร้อยละ 2.73
6. ยางแผ่นดิบคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.65 บาท สูงขึ้นจาก 78.46 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.19 บาท หรือร้อยละ 2.79
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.68 บาท สูงขึ้นจาก 41.21 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.47 บาท หรือร้อยละ 1.14
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.17 บาท สูงขึ้นจาก 37.68 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.49 บาท หรือร้อยละ 1.30
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.10 บาท สูงขึ้นจาก 78.98 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
1.12 บาท หรือร้อยละ 1.42
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมีนาคม 2551
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.62 บาท สูงขึ้นจาก 91.68 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.94 บาท หรือร้อยละ 1.03
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.47 บาท สูงขึ้นจาก 90.53 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.94 บาท หรือร้อยละ 1.04
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.37 บาท สูงขึ้นจาก 61.31 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
1.06 บาท หรือร้อยละ 1.73
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.37 บาท สูงขึ้นจาก 91.43 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.94 บาท หรือร้อยละ 1.03
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.22 บาท สูงขึ้นจาก 90.28 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.94 บาท หรือร้อยละ 1.04
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.12 บาท สูงขึ้นจาก 61.06 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
1.06 บาท หรือร้อยละ 1.74
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
ในปี 2553 เวียดนามมีเป้าหมายให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์มูลค่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ผลิตรถยนต์ได้ประมาณ 150,000 คัน เพิ่มขึ้น 2 เท่า จากปีที่ผ่านมาที่ผลิตได้ 72,700 คัน โดยได้กำหนดโครงร่างการพัฒนาอุตสาหกรรม
ใหม่ในช่วง
ปี 2551 — 2553 และมีการวางแผนระยะยาวถึงปี 2563 เนื่องจากอุปสงค์ต่อความต้องการรถยนต์ภายในประเทศมีเพิ่มขึ้น
รัฐบาลเวียดนามจึงได้กระตุ้นอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ภายในประเทศ โดยให้ผู้ผลิตรถยนต์ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการเวียดนามและผู้ประกอบการ
ต่างชาติเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นตั้งแต่ปีนี้ สมาคมผู้ผลิตรถยนต์รายงานว่าเมื่อปีที่แล้วยอดขายรถยนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 96.6
หรือประมาณ 80,392 คัน และคาดว่าในปีนี้ความต้องการรถยนต์จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หากราคารถยนต์สมเหตุสมผล ซึ่งโดยทั่วไปราคา
รถยนต์ในเวียดนามสูงกว่าราคารถยนต์ในประเทศอื่นๆ มากกว่า 2 เท่า ซึ่งจะทำให้ความต้องการรถยนต์ลดลง
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมีนาคม 2551
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 399.63 เซนต์สิงคโปร์(90.93 บาท) สูงขึ้นจาก 391.05 เซนต์สิงคโปร์
(89.64 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 8.58 เซนสิงคโปร์ หรือร้อยละ 2.19
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 280.81 เซนต์สหรัฐ(90.67 บาท) สูงขึ้นจาก 274.65 เซนต์สหรัฐ
(89.73 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 6.16 เซนต์สหรัฐ หรือร้อยละ 2.24
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 297.70 เยน(88.70 บาท) สูงขึ้นจาก 292.23 เยน (88.53 บาท)
ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 5.47 เยน หรือร้อยละ 1.87
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 18 -24 กุมภาพันธ์ 2551--
-พห-
นายสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ประเทศไทยเริ่มมีกฎหมายควบคุมยางมาตั้งแต่ปี
พ.ศ.2477 เพื่อกำหนดวิธีการควบคุมการปลูกยาง การทำงาน การส่งออกยางให้เป็นไปตามข้อตกลง ข้อผูกพันระหว่างประเทศ หลังจากนั้นได้มีการ
ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็น จนปัจจุบันมีพระราชบัญญัติ ควบคุมยาง พ.ศ.2542 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่
28 ตุลาคม 2542 เป็นต้นมา แต่ขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปมาก เกิดปัญหาต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้กฎหมายในการควบคุมยาง
เพื่อให้การใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพและมีผลบังคับใช้ สถาบันวิจัยยางจึงมีความจำเป็นต้องให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมพิจารณา เสนอแนะ
ความคิดเห็น ปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัยยิ่งขึ้น โดยจะจัดให้มีการประชุมขึ้นในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ณ โรงแรมเจบี หาดใหญ่ จ.สงขลา ผู้เข้าร่วม
ประชุมระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ประกอบด้วย กรมวิชาการเกษตร สถาบันวิจัยยาง สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแปรรูปผลิตผลการ
เกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 1-8 และภาคเอกชน ได้แก่ สมาคมยางพาราไทย สมาคมน้ำยางข้นไทย ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่ง
ประเทศไทย สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง และสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางแห่งประเทศไทย จำนวนทั้งหมด
กว่า 70 คน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.91 บาท สูงขึ้นจาก 80.92 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
1.99 บาท หรือร้อยละ 2.46
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.41 บาท สูงขึ้นจาก 80.42 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
1.99 บาท หรือร้อยละ 2.47
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.91 บาท สูงขึ้นจาก 79.92 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
1.99 บาท หรือร้อยละ 2.49
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.62 บาท สูงขึ้นจาก 79.42 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.20 บาท หรือร้อยละ 2.77
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.89 บาท สูงขึ้นจาก 78.74 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.15 หรือร้อยละ 2.73
6. ยางแผ่นดิบคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.65 บาท สูงขึ้นจาก 78.46 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
2.19 บาท หรือร้อยละ 2.79
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.68 บาท สูงขึ้นจาก 41.21 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.47 บาท หรือร้อยละ 1.14
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.17 บาท สูงขึ้นจาก 37.68 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.49 บาท หรือร้อยละ 1.30
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.10 บาท สูงขึ้นจาก 78.98 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
1.12 บาท หรือร้อยละ 1.42
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมีนาคม 2551
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.62 บาท สูงขึ้นจาก 91.68 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.94 บาท หรือร้อยละ 1.03
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.47 บาท สูงขึ้นจาก 90.53 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.94 บาท หรือร้อยละ 1.04
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.37 บาท สูงขึ้นจาก 61.31 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
1.06 บาท หรือร้อยละ 1.73
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.37 บาท สูงขึ้นจาก 91.43 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.94 บาท หรือร้อยละ 1.03
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.22 บาท สูงขึ้นจาก 90.28 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.94 บาท หรือร้อยละ 1.04
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.12 บาท สูงขึ้นจาก 61.06 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
1.06 บาท หรือร้อยละ 1.74
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
ในปี 2553 เวียดนามมีเป้าหมายให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์มูลค่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ผลิตรถยนต์ได้ประมาณ 150,000 คัน เพิ่มขึ้น 2 เท่า จากปีที่ผ่านมาที่ผลิตได้ 72,700 คัน โดยได้กำหนดโครงร่างการพัฒนาอุตสาหกรรม
ใหม่ในช่วง
ปี 2551 — 2553 และมีการวางแผนระยะยาวถึงปี 2563 เนื่องจากอุปสงค์ต่อความต้องการรถยนต์ภายในประเทศมีเพิ่มขึ้น
รัฐบาลเวียดนามจึงได้กระตุ้นอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ภายในประเทศ โดยให้ผู้ผลิตรถยนต์ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการเวียดนามและผู้ประกอบการ
ต่างชาติเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นตั้งแต่ปีนี้ สมาคมผู้ผลิตรถยนต์รายงานว่าเมื่อปีที่แล้วยอดขายรถยนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 96.6
หรือประมาณ 80,392 คัน และคาดว่าในปีนี้ความต้องการรถยนต์จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หากราคารถยนต์สมเหตุสมผล ซึ่งโดยทั่วไปราคา
รถยนต์ในเวียดนามสูงกว่าราคารถยนต์ในประเทศอื่นๆ มากกว่า 2 เท่า ซึ่งจะทำให้ความต้องการรถยนต์ลดลง
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมีนาคม 2551
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 399.63 เซนต์สิงคโปร์(90.93 บาท) สูงขึ้นจาก 391.05 เซนต์สิงคโปร์
(89.64 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 8.58 เซนสิงคโปร์ หรือร้อยละ 2.19
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 280.81 เซนต์สหรัฐ(90.67 บาท) สูงขึ้นจาก 274.65 เซนต์สหรัฐ
(89.73 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 6.16 เซนต์สหรัฐ หรือร้อยละ 2.24
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 297.70 เยน(88.70 บาท) สูงขึ้นจาก 292.23 เยน (88.53 บาท)
ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 5.47 เยน หรือร้อยละ 1.87
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 18 -24 กุมภาพันธ์ 2551--
-พห-